3 สูตรลับ ปลดล็อก Creative พร้อมซัพพอร์ตทีมให้ปังกับไอเดียสร้างสรรค์ได้อย่างไร

  • 34
  •  
  •  
  •  
  •  

หลายๆ งานในปัจจุบันต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มาประกอบ เพื่อให้งานโดดเด่นและแตกต่างจากงานชิ้นอื่นๆ แต่ใช่ว่าทุกคนหรือทุกครั้งที่ต้องใช้ไอเดีย จะสามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายๆ ซึ่งไม่นานนี้ในงาน Creative Talk 2021 “สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO of RGB72 and Founder of Creative Talk ก็ได้มาแบ่งปันวิธีในการแงะเอาไอเดียความคิดสร้างสรรค์ให้ออกมาใช้ในการทำงานได้ ภายใต้หัวข้อ Creative Unlock ซึ่งเราได้สรุปสาระสำคัญเอาไว้ในบทความนี้

 

แบ่งคนทำงานเป็น 2 ประเภท

อย่างที่กล่าวไว้ว่า Creativity นั้นมีความสำคัญแต่จะทำอย่างไร “สิทธิพงศ์” แบ่งคนทำงานออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

 

  1. ใช้สมองทำงาน Use the Brain เราใช้สมองในการคิดว่าเราจะทำงานนี้ให้น่าสนใจได้อย่างไร เราจะทำงานนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร เราจะพัฒนางานนี้ได้อย่างไร นี่คือใช้สมองคิดในการทำงาน
  2. ใช้มือทำงาน Use the Hands คือคนที่ไม่ได้คิดอะไรเลย คือมีคำสั่งอะไรมาชั้นก็ทำตามสั่ง เขาบอกให้ทำสิ่งนี้ก็ทำไปเลย ถ้าไม่สั่งก็ไม่ทำ

ข้อดีของคนที่ใช้สมองในการทำงาน (Use the Brian) มี 3 ประการด้วยกัน

  1. Unlimited Resource เพราะสมองเราไม่มีจำกัด สามารถคิดอะไรใหม่ๆ ได้ คิดสิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา เป็น
  2. Unique เพราะสมองของเราแต่ละคนมีความ Unique เรื่องเดียวกันแต่ว่าแต่ละคนอาจจะคิดออกมาได้ไม่เหมือนกัน
  3. High Income และด้วยการทำงานโดยใช้สมอง ทำให้รายได้ Income ที่เข้ามามากกว่า ได้รับรายได้ที่สูงกว่านั่นเอง

แต่สำหรับกลุ่มที่ใช้มือทำงาน (Use the Hands) จุดอันตรายของคนกลุ่มนี้ ก็คือ

  1. Soon to Expire เป็นกลุ่มที่ใกล้จะหมดอายุแล้ว คือในอนาคตอาจจะตกงานหรืออาชีพนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องทำอีกต่อไป
  2. Replaceable ในเมื่อเป็นกลุ่มที่เขาสั่งอะไรมาเราก็ทำ หรือไม่สั่งก็ไม่ทำ อย่างนี้แปลว่า เรามีโอกาสที่จะถูก Replace ได้ หรือว่าถูกแทนที่ได้ง่ายนั่นเองถ้ามีคนอื่นที่ขยันกว่าทำงานได้เร็วกว่าเราก็อาจจะถูกแทนที่ได้ง่าย
  3. Cheap และแน่นอนว่าเมื่อใครก็มาแทนที่เราได้ ใครก็มาทำงานในตำแหน่งของเราได้ แปลว่าเราจะได้รับค่าแรงที่ถูกกว่านั่นเอง

ขยายความสำหรับ คนที่ใช้มือทำงาน ที่บอกว่าใกล้จะหมดอายุแล้ว นั่นก็เพราะ อ้างอิงจากหนังสือ AI SUPERPOWERS โดยผู้เขียนที่ชื่อว่า Kai-Fu Lee ซึ่งเดิมเขาเป็นคนคิด speech recognition ให้กับ Apple เมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเขาเป็นอินเวสเตอร์ให้กับสตาร์ทอัปของประเทศจีน ซึ่งมีแนวความคิดว่า อาชีพที่ต้องหมดไปในอีก 5-10 ปี คืออาชีพที่ทำซ้ำๆ ทำงานรูทีนเป็นประจำทุกวัน ในทางตรงกันข้าม อาชีพที่จะยังคงอยู่ คืออาชีพที่ต้องใช้ Creative คือคนที่คิดอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ เพราะว่า AI หรือ Machine ไม่อาจทำแทนได้ แต่ Creativity ยังคงต้องพึ่งพามนุษย์อยู่

 

ดังนั้น Creativity คืออะไร? ความหมายของมันคือ The Ability to Create Meaningful New Forms ก็คือ ความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่มีความหมายในรูปแบบใหม่ๆ ออกมาได้นั่นเอง

รอบตัวเรามีสิ่งที่เกิดจาก Creativity  มากมาย แต่เราต้องทำความเข้าใจใหม่ก่อนว่า คนที่ทำงานด้าน Creativity ไม่ใช่แค่คนทำงานหนังภาพยนตร์ ดนตรี หรือคนทำโฆษณา แต่ Creativity ยังหมายถึงคนทำสินค้า โปรดักส์ หรือแม้กระทั่งโพรเซสของการผลิต การออกแบบ แพ็กเกจจิ้ง หรือแม้แต่การทำการตลาดต่างๆ ก็ต้องใช้ Creativity เมื่อใดก็ตามที่มี Creativity มันก็จะช่วยส่งเสริม และทำให้มันมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ หากลองสังเกตดูพวกในบริษัทต่างประเทศ โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของต่างประเทศที่ยิ่งใหญ่มีคนนิยมซื้อ นิยมลงทุนในบริษัทเหล่านั้น เช่น Tesla, Apple, Amazon, Microsoft, Nio Limited เหล่านี้ล้วนเป็นบริษัทที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นบริษัทที่ปั๊มผลิตโปรดักส์อย่างเดียว

ดังนั้น เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า Creativity มีความสำคัญมากถึงขนาดนี้ ดังนั้น เราก็มาดูกันว่าแล้ว Creativity มันสามารถเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

Creativity เกิดมาได้จากความหลากหลาย Diversity

สำหรับ Diversity ความหลากหลายในที่นี้ หมายถึงหลากหลายด้านใดบ้าง ซึ่งก็ได้ในทุกรูปแบบเลย ไม่ว่าจะเป็น จำนวนคนที่หลากหลาย ไอเดียที่มีมากมาย หรือแม้กระทั่งสถานที่ที่หลากหลายที่จะหล่อหลอมให้คนต่างๆ มีความคิด มีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ คำว่า หลากหลายจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเกิดการ Motivates หรือต้องสร้างแรงบันดาลใจให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น

 

3 สูตรลับ Unlock Creativity

มาถึงสูตรกันแล้วว่า เราอยากรู้แล้วว่า เราอยากจะ Unlock Creativity ได้อย่างไร แล้วชวนคนอื่นๆ ในองค์กรให้มี Creativity ได้อย่างไร ทั้งนี้ Creativity จะเกิดขึ้นได้ต้องมี 3 อย่างนี้ด้วยกัน คนเราถ้าเกิดว่าจะต้องคิดอะไรใหม่ๆ ต้องมี 3 อย่างนี้

  1. Imagination มีจินตนาการ คือมีความคิดที่มองออกไปแล้ว อาจจะยังไม่เคยเกิดขึ้น ไม่เคยมีเลยในประเทศนี้ หรือโลกนี้
  2. Knowledge มีความรู้ บางคนมีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ แต่อาจไม่มีความรู้ อาจจะกลายเป็นเส้นบางของความคิดแบบเพ้อเจ้อได้ สำหรับสองข้อแรกมักจะมาพร้อมกัน คือต้องทำให้มีจินตนาการโดยไม่เพ้อเจ้อ ดังนั้น ก็ต้องมีความรู้เข้ามาเกี่ยวข้อง
  3. Courage มีความกล้า และเมื่อมีทั้งจินตนาการและความรู้ แต่ขาดความกล้า ไอเดียเหล่านั้นก็จะคลุกอยู่ที่ตัวคุณเอง มันจะไม่ออกไปไหน ไม่กล้าไปพูดกับใครว่าไอเดียเรามีแบบนี้ ดังนั้น ความกล้าจึงเป็นอีกหนึ่งคีย์สำคัญ

แล้วทั้งสามอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งสามอย่างนี้จะอิมแพ็คมากขึ้นหรือมีพลังเป็นทวีคูณ ก็ต่อเมื่อคุณมี Experience ประสบการณ์ แต่สิ่งที่จะทำให้มันลดค่าลงก็คือสิ่งที่เรียกว่า Negative Attitude เราจะตามมาดูกัน

Imagination จินตนาการ

เราอยากมีจินตนาการมากมายและหลากหลาย แต่การจะมีจินตนาการได้นั้น วิธีฝึกง่ายๆ มีดังนี้

  1. Curiosity ความช่างสงสัย สิ่งที่จะฝึกให้เป็นคนช่างสงสัยได้ คือเราได้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เราไม่รู้บ้างแล้วหรือยัง
  2. Observation เป็นคนช่างสังเกต หนึ่งในอัจฉริยะของโลกอย่าง “เลโอนาร์โด ดา วินชี” ก็เป็นคนที่ทั้งช่างสงสัยและช่างสังเกต การฝึกเป็นคนช่างสังเกตให้ลองทบทวนสิ่งต่างๆ รอบตัวเราก็ได้
  3. Challenge ความท้าทาย สำหรับการฝึกจินตนาการแบบทีม ก็คือ ความท้าทายให้กับทีม ทุกๆ ครั้งที่จะเริ่มโปรเจ็คต์ใหม่ ให้ถามทีมของเราว่าเรามีอะไรที่ท้าทายอยู่บ้างไหม ถ้าอะไรที่เราสามารถหลับตาทำได้เลย นั่นแปลว่าคุณกำลังอยู่ที่เดิม คุณไม่ได้เก่งขึ้นเลย แต่ทุกครั้งที่ได้รับความท้าทายมันจะมาพร้อมกับปัญหาเสมอ แต่การเจอปัญหาอย่าไปกลัวเพราะเมื่อคุณแก้ปัญหาได้ นั่นแปลว่าคุณกำลังเก่งขึ้น เพราะฉะนั้นการสร้าง Imagination จินตนาการ สร้างความสามารถให้คนในทีมได้ต้องสร้าง Challenge ให้กับเขา

 

Knowledge ความรู้

เราจะเพิ่มความรู้ให้ตัวเองได้อย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความรู้มีอยู่ 2 แบบ

  1. Your Interested ความรู้ที่เราสนใจ แน่นอนว่าเมื่อเราสนใจเราก็อยากรู้อยู่แล้ว เช่น เราเป็นคนชอบถ่ายภาพ เราก็สนใจเรื่องถ่ายภาพ ถ้าคุณอยากจะพัฒนาตัวเองให้ถามตัวเองในวันนี้ว่า วันนี้ของเราเก่งกว่าตัวเราเองเมื่อวานแล้วหรือยัง ให้แข่งกับตัวเอง เราเก่งขึ้นหรือไม่
  2. Not Interested แต่ความรู้อีกอย่างที่อยากให้ลองคือ “ความรู้ที่เราไม่สนใจ” ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ แต่อยากให้คิดว่าลองเรียนรู้ดูบ้าง เมื่อลองในสิ่งที่เราไม่สนใจจะทำให้คุณได้รับความรู้ทันที

แต่หากคุณรู้สึกว่าขี้เกียจที่จะเรียนรู้ หรือคิดว่าตัวเองยุ่งอยู่ตลอด มีเวลาน้อยเกินไปที่จะเรียนรู้เทคนิคง่ายๆ เลยก็คือ จัด Daily Schedule เลยว่าในทุกๆ วันในการนั่งหาความรู้ใหม่ๆ นอกจากนี้ สำหรับวิธีในการเสริมความรู้ให้กับทีมมีเคล็ดลับหนึ่งก็คือ Flexibility to Learn, Work คือ การเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานและการเรียนรู้ให้กับทีม ลองถามในทีมดูว่ามีอิสระในการเลือกที่จะทำงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืองานนอก บางบริษัทอาจจะไม่อนุญาตให้ทีมรับงานนอกได้ แต่อยากจะบอกว่าควรเปิดโอกาสให้มีอิสระที่จะรับงานนอกได้บ้าง เพื่อเรียนรู้อะไรที่ไม่ได้เกี่ยวกับงานประจำเพราะการรับงานนอก เป็นหนึ่งวิธีที่ทำให้เขาได้ประสบการณ์มากขึ้น ได้เรียนรู้มากขึ้น

 

Courage ความกล้า

สำหรับคนที่อยากจะเพิ่มความกล้า ไม่กล้าที่จะนำเสนอไอเดียของตัวเอง เพราะว่าเรากลัวที่จะผิดพลาด เรากลัวว่ามันจะไม่เวิร์ค เรากลัวที่จะเสียหน้า วิธีแก้เมื่อกังวลสิ่งเหล่านี้ และทำให้มีความกล้า มีดังนี้

  1. “ซ้อม” วิธีนี้ใช้เมื่อเรากังวลว่าเราจะไม่เป๊ะ หรือ พูดแล้วไม่ครบถ้วน ซ้อมให้เยอะๆ การซ้อมจะทำให้มั่นใจ
  2. นอกจากนี้ อยากให้ลองมองหาว่าที่เราไม่กล้าเพราะอะไร ซึ่งส่วนใหญ่คือ ไม่รู้และกลัวผิดพลาดได้ และไม่รู้ว่าผิดพลาดขนาดอยากให้ลองจินตนาการแบบ Worse case scenario ให้ลองคิดว่าความผิดพลาดที่แย่ที่สุดคืออะไร ถ้าพิจารณาแล้วไม่มากเท่าไหร่ ก็ให้ลองกล้าที่จะลุยดูเลย
  3. วิธีสร้างความกล้าให้กับทีม โดยความกลัวที่มากที่สุดในทีมก็คือ กลัวว่าเพื่อนๆ จะดูถูก ดังนั้น เทคนิคที่ดีที่จะสนับสนุนให้เพื่อนไม่กลัว จะใช้วิธีของ Netflix ที่เรียกว่า 4A Netflix Feedback” ดังนี้
  • Aim for Good ความประสงค์ดี อยากให้เพื่อนได้พัฒนาตัวเอง
  • Actionable ฟีดแบคนั้นต้องทำได้ บอกทางแก้ด้วยว่าไม่ดีอย่างไร
  • Appreciate ยอมรับและยิ้มรับกับฟีดแบคที่ได้มา
  • Accept or Discard เมื่อได้รับฟีดแบคมาให้นำไปคิดทบทวนว่าจะปรับปรุงหรือว่าปล่อยผ่านไปดี

 

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ในการ Unlock Creativity

นั่นคือ การทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้ก็คือจะต้องเพิ่มพูน “ประสบการณ์” (Experience) สำหรับการเพิ่มพูนประสบการณ์ ง่ายๆ เลยก็คือ ต้องออกไปข้างนอก ไปทำสิ่งใหม่ ไปลองทำสิ่งใหม่ ถ้ากลัวให้ลองคิดว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดจะเป็นอย่างไร ในขณะที่ขั้วตรงข้ามของการทำให้ ความคิดสร้างสรรค์ถดถอยก็คือ “ทัศนคติด้านลบ” (Negative Attitude) เป็นตัวที่ทำให้ Creativity ลดลง เช่น การที่มองว่าเคยทำแล้ว เคยลองแล้วไม่เวิร์คหรอก ใครก็ทำไปหมดแล้ว ความคิดด้านลบจะเป็นตัวบล็อกไม่ให้โต และไม่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น ก่อนที่จะปฏิเสธไอเดียอะไร ให้เราคิดทบทวนดูให้ดีว่าเราควรจะปฏิเสธมันดีหรือไม่

ไม่มีใครที่คิดไอเดียที่ 1  2 แล้วมันจะเวิร์คเลย หรือใช้ได้เลย ไอเดียที่ดีส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการที่เราผลิตไอเดียออกมามากๆ แล้วค่อยๆ กลั่นกรองลงมาเหลือชิ้นที่ดีที่สุด ดังนั้น ไอเดียที่ดีมันมักจะออกมาจากปริมาณที่มากๆ เข้าไว้

 

ท้ายที่สุดสิ่งที่ “สิทธิพงศ์” ให้มุมมองฝากไว้ในการปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ก็คือ

 

สมองคนเราเหมือนตู้เย็น ในตู้เย็นบ้านคนมีวัตถุดิบอะไรอยู่ในนั้นบ้าง คุณก็สามารถที่จะทำกับข้าวได้ตามนั้น ถ้าในตู้เย็นบ้านคุณมีแค่ไข่ไก่ คุณก็ทำได้แค่ ไข่เจียว ไข่ตุ๋น ไข่ดาว แต่ถ้าในตู้เย็นบ้านคุณมีผัก มีหมู มีไก่ มีเส้น มีทุกอย่าง คุณก็สามารถทำเมนูได้หลากหลาย

สมองเราก็เช่นกัน ถ้าคุณมีประสบการณ์น้อย คุณมีความรู้น้อย คุณมีจินตนาการน้อย คุณก็สามารถทำของออกมาได้น้อย ดังนั้น อยากให้ทุกๆ คนออกไปหาประสบการณ์ให้มากๆ เพื่อทวีคูณ ความคิดสร้างสรรค์ Creativity”


  • 34
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!