ปลั๊กอัจฉริยะ สั่งหยุด-เริ่ม ตรวจสอบผ่านสมาร์ทโฟน ก้าวแรกสู่ IoT ของไทย

  • 75
  •  
  •  
  •  
  •  

IoT (Internet of Things) เทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากที่สุด ในยุคที่ 5G กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้อย่างอิสระจากทุกที่ที่ไหนก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต จนมีแนวคิดในการสร้างบ้านอัจฉริยะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และสามารถสั่งงานได้จากสมาร์ทโฟน

ทว่าปัญหาในปัจจุบันคือเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า และส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ทำให้การใช้งาน IoT ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าในบ้านมีเด็กเล็กหรือผู้สุงอายุ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องของการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออาการ “ลืม” ซึ่งเป็นอาการยอดฮิตของคนรุ่นใหม่ ยิ่งทำให้การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น

anitech-dashboard

นั่นจึงทำให้ บริษัท สมาร์ท ไอดี กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แบรนด์ “แอนิเทค” (Anitech) เปิดตัวปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 ตอบโจทย์ความสะดวกสบายและความปลอดภัย ช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดถูกควบคุมการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตได้ โดยเป็นปลั๊กอัจฉริยะรายแรกที่ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของไทย สามารถควบคุมการสั่งงานผ่าน Anitech IoT Application รองรับทั้งระบบ iOS และ Android ซึ่งจะเจาะกลุ่มผู้บริโภคระดับ B+

Pitchyen
พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมาร์ท ไอดี กรุ๊ป จำกัด

ด้าน นายพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมาร์ท ไอดี กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ ภายใต้แบรนด์แอนิเทค ชี้ว่า แอนิเทคเลือกนำเสนอนวัตกรรมที่ทรงพลังด้วยการผสานวัฒนธรรมกับความร่วมสมัย ภายใต้แนวความคิดนวัตกรรมด้านการดีไซน์ผสานความเป็นไทย เพื่อคนไทย เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมความสุขคู่บ้านอย่างแท้จริง

ผู้บริโภคปัจจุบันจะใช้งาน IoT บน 2 ปัจจัย โดย 75% ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความสะดวกสบายที่ได้รับจากการใช้งาน 68% จะให้ความสำคัญเรื่องความคุ้มค่า ชี้ให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด ที่มาพร้อมความปลอดภัย และขาดไม่ได้ในเรื่องของความสะดวกสบาย

Anitech-02

ก่อนหน้านี้อุปกรณ์ IoT ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมการใช้งานของคนไทย อีกทั้งการพัฒนาจากต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาในการอัพเดตซอฟท์แวร์ ขณะที่ปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 เป็นการพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทย ทำให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งานและง่ายในการอัพเดตซอฟท์แวร์

Anitech

โดยจุดเด่นของปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 คือการออกแบบมาให้ปุ่มเปิด-ปิดเป็นแบบ Touch Screen พร้อมด้วยฟังก์ชันการใช้งาน 4 รูปแบบ ทั้งการตั้งค่าการเปิด-ปิด, การเปิด-ปิด ล่วงหน้าโดยระบุวันและเวลา, การตั้งเวลาเปิด-ปิด และการแสดงค่าการใช้กำลังไฟฟ้าแบบ Real-Time พร้อมดูสถิติการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าย้อนหลังสูงสุดได้ถึง 3 เดือน

ทุกฟังก์ชันการใช้งานสามารถทำได้ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน Anitech IoT Application บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS และ Android นอกจากนี้ แอปพลิเคชันยังถูกออกแบบ User Interface ทั้งหมดโดยคนไทย ภายในระบบ Cloud ที่มี Server อยู่ในประเทศไทย ช่วยป้องกันการแฮกเข้าระบบ รวมไปถึงง่ายต่อการแก้ไขและประสานงาน

anitech price

ปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 เปิดตัวอยู่ที่ 2,590 บาท พร้อมรับประกันความเสียหายเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสด 5 แสนบาทนานถึง 1 ปี หากตรวจสอบแล้วว่าสาเหตุเกิดจากปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 โดยในอนาคตแอนิเทคเตรียมพัฒนาปลั๊ก IoT ให้ฉลาดมากขึ้นผ่านระบบเซนเซอร์ต่างๆ เช่น เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดแสง และเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว มาเป็นข้อมูลใช้งานในการเปิด – ปิด รวมไปถึงเปิดให้ระบบของแอนิเทคเป็นแบบ API เพื่อให้สอดรับกับทุกรูปแบบการใช้งาน โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มธุรกิจ

ซึ่งกลุ่มธุรกิจปัจจุบันกำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะเรื่องของการประหยัดพลังงานปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 จะช่วยเก็บข้อมูลประเมินผลและวิเคราะห์การใช้พลังงาน และยังสามารถแจ้งเตือนถึงความผิดปกติการใช้พลังงาน

anitech cybersecurity

คุณพิชเยนทร์ยังเสริมว่า แอนิเทคยังมี Service ตลอด 24 ชั่วโมงต่อ 7 วัน ด้วยบริการระดับมืออาชีพ นอกจากนี้ปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 ยังได้มาตรฐานทาง Cybersecurity มีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารแบบ TLS 2048 บิต รวมถึงมาตรฐาน JWT ECC256 ที่จะมีการตรวจสอบและระบุตัวตนของปลั๊ก ซึ่งทั้งหมดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยแบบเดียวกับที่ธนาคารทั่วโลกใช้


  • 75
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา