(สรุป) ปี 2022 เทรนด์ workforce จะเป็นอย่างไร – เปิดความคิดพนักงานและ HR ที่ควรรู้

  • 319
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ปีใหม่ ทั้งผู้คน, สังคม, องค์กร และกลุ่มคนทำงานเชื่อว่าจะมีเป้าหมายในหลายด้านที่แตกต่างกัน สำหรับเทรนด์ workforce ของปี 2022 ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าจะเกิดขึ้นชัดเจนในปีนี้ (ส่วนหนึ่งก็คือต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา)

แต่ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจว่าในปีนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างสำหรับเทรนด์ของ workforce อยากแชร์มุมมองจาก Samir Parikh ผู้ก่อตั้ง Naman HR ที่ได้ประเมินตลอดทั้งปีนี้ว่าตลาดแรงงานจะเป็นอย่างไร ซึ่งที่น่าสนใจอย่างเช่น

  • ปี 2022 อาจเป็นปีแห่งการลาออกครั้งใหญ่ของพนักงานประจำ (ข้อมูลจาก LinkedIn)
  • มีโอกาสที่ปี 2022 จะเห็นสัดส่วนของสตาร์ทอัพเพิ่มจำนวนขึ้นทั่วโลก
  • เกิดความแตกต่างของค่าจ้างระหว่าง C-suite และระดับปฏิบัติงานมากกว่าปีก่อน (เพราะคาดหวัง skills ใหม่ๆ เพิ่มเติม)
  • ปี 2022 สำหรับฝ่าย HR อาจจะให้ความสำคัญกับประสบการณ์การทำงานจริง (ทางกายภาพ) มากขึ้น เพราะ COVID-19 ทำให้ประสบการณ์งานทางออนไลน์อาจจะมากกว่า ซึ่งคำถามลักษณะนี้จำเป็นสำหรับบางตำแหน่ง

 

 

สรุปแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในตลาด workforce 2022

 

  • การทำงานแบบไฮบริด (Hybrid)

รูปแบบการทำงานนี้จะยังเกิดขึ้นและมีอยู่ในปีนี้ ถึงแม้ว่าเราจะเห็นรูปแบบการทำงานนี้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่คุณ Samir ระบุว่า ปี 2022 จะเป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อมากขึ้น ดังนั้น เชื่อว่ายังไม่มีองค์กรไหนที่กลับมาทำงานที่ออฟฟิศแบบ 100% แต่สิ่งที่จะเห็นคือ การทำงานแบบไฮบริด 50-50% หรือ 30-70% (ออนไลน์มากกว่า)

ที่สำคัญแนวโน้มนี้อาจจะเกิดขึ้นไปอีกหลายปี ส่วนหนึ่งเพราะวัฒนธรรมองค์กรที่เปลี่ยน และเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยซัพพอทความสะดวกให้กับคนทำงาน คาดว่าอาจจะมีการทำงานแบบไฮบริดในอีก 3-5 ปีข้างหน้าแม้ว่า COVID-19 จะดีขึ้น

 

 

 

  • เกิดกลุ่มทำงานแบบ Nomadic มากขึ้น

คำๆ นี้น่าจะเคยได้ยินตั้งแต่ปี 2021 โดยคำนิยามของ Nomadic ก็คือ พนักงานไร้ออฟฟิศ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่หาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจออนไลน์ สามารถเป็นได้ทั้งคนทำงานแบบ full-time หรือ freelance แต่จะไม่มีออฟฟิศอย่างเป็นทางการ แต่มีหลายคนเข้าใจผิดว่า Nomadic ก็คือ การทำงานแบบ Workation แต่ไม่ใช่ เพราะ Workation (Work+Vacation) มีความจริงจัง หรือความรับผิดชอบแทบไม่ต่างจากพนักงานที่ทำงานในออฟฟิศ เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ทำงานเท่านั้น

โดยตัวอย่างอาชีพที่มีความเป็น Nomadic สูงมาก เช่น การตลาดดิจิทัล, การเขียนคอนเทนต์, การออกแบบกราฟฟิก, การเขียนบล็อก, การสอนทางออนไลน์/ติวเตอร์ และ นักขายสินค้า และในปี 2022 เชื่อว่าจะมีอาชีพใหม่ๆ ที่อยู่ในกลุ่มของ Nomadic มากขึ้นด้วย

 

 

  • สวัสดิการสอดคล้องกับสถานการณ์

ข้อมูลจาก Adecco ประเทศไทย ได้พูดถึงสวัสดิการที่จะเปลี่ยนไปด้วยไม่ใช่แค่รูปแบบการทำงาน โดยยกตัวอย่างจากผลสำรวจในสหราชอาณาจักร (UK) ที่หลายๆ บริษัทเริ่มให้สวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่พนักงานที่เปลี่ยนไป อ้างอิงตามสถานการณ์และความจำเป็นต่อพนักงานจริงๆ เช่น การให้ส่วนลดร้านค้า, การให้สมาชิกเน็ตฟลิกซ์ฟรี, การเพิ่มวันลาพักร้อน และสิทธิในการ work from home (ที่เป็นทางเลือกให้กับพนักงานได้) เป็นต้น

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Dan Schawbel นักเขียนชื่อดังของ New York Times ได้ระบุว่าสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับ ‘ความปลอดภัยและสุขภาพ’ กำลังมาเป็น 1 ใน 3 เรื่องที่พนักงานกังวลใจมากที่สุด เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งผลสำรวจที่ผ่านมา มากถึง 94% พบว่าพนักงานเป็นโรคเครียดกันมากขึ้น

ทั้งยังยกตัวอย่าง 2 บริษัท JPMorgan Chase และ LinkedIn ที่มีสวัสดิการสำหรับพนักงาน เช่น สนับสนุนให้ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต (ฟรี หรือช่วยออกค่ารักษาบางส่วน) และมีนโยบายให้พนักงานหยุดงานในวันที่รู้สึกว่ามีปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น

 

 

เห็นได้ว่า เทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นปีนี้สำหรับตลาด workforce ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานเสมอไป แต่สามารถโยงไปถึงความต้องการ หรือสิ่งที่กลุ่มคนทำงานคิดได้เพราะอย่างน้อยบริษัทจะสามารถปรับ direction ของปี 2022 ได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญยิ่งสถานการณ์ COVID-19 ยังไม่ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจึงประเมินไว้ว่า ทิศทางของตลาดแรงงานคงจะคล้ายๆ กับปีที่ผ่านมาแต่เดาว่ามันจะ advance ขึ้นแน่ๆ

 

 

 

 

ที่มา: people matters, linkedin


  • 319
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม