ทำไมต้องมี ‘Paradox Mindset’ ขัดแย้งแต่สร้างสรรค์ กุญแจสู่ความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง

  • 2.4K
  •  
  •  
  •  
  •  

www.theasburycollegian.com

 

ไม่ว่าจะอาชีพการงานตำแหน่งไหน แต่ละคนมักจะมีเคล็ดลับประสบความสำเร็จในสายอาชีพของตนเอง ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ไปจนถึงระดับผู้บริหาร หรือเจ้าของธุรกิจก็ตาม ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินมุมมองจากเจ้าของกิจการ หรือ ซีอีโอกันมาบ้างแล้วว่าเส้นทางความสำเร็จควรเตรียมตัวอย่างไร

ทั้งนี้ งานวิจัยจากกลุ่มนักจิตวิทยา และนักบำบัดความเครียดเฉพาะทางจากหลายๆ ประเทศ ที่ทำการศึกษา ได้พูดถึงอีกหนึ่งปัจจัยที่มีส่วนทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตงาน รวมถึงด้านอื่นๆ ได้เหมือนกัน ทั้งยังสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจก่อน

สิ่งนั้นก็คือ ความเครียด’ หรือ การปะทะ’ เล็กๆ น้อยๆ หมายความว่า ในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาตัวเอง เราจำเป็นต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ และพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ต้องปะทะ ความคิดเห็นที่แตกต่าง’ กับผู้อื่น ไม่ว่าจะกลุ่มคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน หรือทีมทำงานเดียวกันก็ตาม

นักจิตวิทยาพูดว่า “หนึ่งในคุณสมบัติที่ดีของผู้นำ หรือคนที่มีศักยภาพ ต้องสามารถรับความคิดเห็นที่แตกต่างได้ กล้าพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่มีความเครียดเพื่อกดดันให้เกิดการพัฒนา การยอมรับแทนที่จะปฏิเสธมุมมองของคนอื่นที่เราไม่ชอบ หรือไม่เห็นด้วย คือ การพัฒนาเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ขึ้น”

 

 

พยายามคิดให้เหมือนกับ ‘Albert Einstein’

แนวคิด ‘Paradox Mindset’ แม้จะดูว่าขัดกับสัญชาติญาณมนุษย์ คือ ยิ่งเครียดยิ่งต้องออกมาจากจุดนั้น แต่เรากลับปะทะกลับ ‘ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์กว่า’ เหมือนกับที่ Albert Einstein (อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์) อัจฉริยะด้านฟิสิกส์ของโลก ที่เคยพูดเสมอว่า “วิ่งเข้าหาความขัดแย้ง หรือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเรามากๆ มองอย่างวิเคราะห์ แล้วเราจะมองเห็นทางออก”

 

www.greenlightrights.com

 

มีหลายๆ ตัวอย่างจากผลงานของ ไอน์สไตน์ ที่มองว่าบางทฏษฏีไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่เขาก็ลองทดลองดูด้วยการนำแนวคิดที่ไม่เข้ากันเลยแล้วนำมารวมกัน จนสุดท้ายก็กลายเป็น ‘ประสบความสำเร็จ’ แนวคิดนี้สามารถปรับใช้ได้กับเรื่องการพัฒนาตัวเอง เพราะคนเราไม่สามารถใช้ชีวิตบนความคิดของเราฝ่ายเดียวได้ตลอดไป

คนที่มักจะประสบความสำเร็จ คือ คนที่ก้าวข้ามสิ่งที่ไม่ชอบและไม่ถูกใจ แล้วกล้ายอมรับว่ามัน(อาจจะ) ถูกต้องกว่าความคิดเรา เป็นต้น

 

 

The power of conflict (พลังแห่งความขัดแย้ง)

ผู้เชี่ยวชาญ Ella Miron-Spektor ด้านพฤติกรรมมนุษย์จาก INSEAD ได้พูดว่า บททดสอบหลายๆ ครั้งชี้ชัดว่า ถ้าลองปะทะกับผู้อื่นเล็กๆ น้อยๆ มีโอกาสพัฒนาตนเอง 21% แต่ถ้าเราปะทะแรง แต่สามารถวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด โอกาสที่จะพัฒนาตนเองจะเพิ่มขึ้นอีกเกิน 50%

เปรียบเทียบกับคนบางกลุ่มที่ ‘หลีกเลี่ยงการปะทะ’ หรือ ‘การทะเลาะ’ ระบบสมอง ความคิด จะโอกาสพัฒนาน้อยกว่า 12% ดังนั้น สรุปได้ว่า “คนที่คิด-ทบทวน-วางแผนด้วยตัวเอง จะมีโอกาสพัฒนาน้อยกว่า คนที่คิด ทบทวน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น เพราะสามารถเพิ่มโอกาสในการเห็นมุมมองและปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม”

การศึกษาของ Miron-Spektor เกี่ยวกับ ‘Paradox Mindset’ สรุปเกี่ยวกับความสำเร็จหลังจากที่ทำความเข้าใจในแนวคิดนี้ ว่าพลังแห่งความขัดแย้งดีกว่าอย่างไร เราจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ

  • ยอมรับความขัดแย้งนั้น พิจารณาว่าขัดแย้งแล้วจะนำไปสู่ผลลัพธ์อย่างไร
  • เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น เข้าใจปัญหาจากความขัดแย้ง
  • สบายใจมากขึ้นถ้าทำงานกับทีมที่สามารถขัดแย้งกันได้
  • ยอมรับแนวคิด และกล้าลองจะนำ 2 แนวคิดที่แตกต่าง แล้วมารวมกัน

 ที่สำคัญที่นักวิเคราะห์พูดถึง ก็คือ การบันทึกความขัดแย้งนั้นๆ แล้วนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์จริงๆ นำความขัดแย้ง มารวมกับแรงบันดาลใจ จะทำให้เกิดแรงผลักให้การพัฒนาทั้งตัวเราเอง หรือพัฒนาสิ่งอื่นประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

 

Credit: twitter/EllaSpektor

 

 

ที่มา: bbc


  • 2.4K
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม