ทำไมสกิล #ไม่วอกแวก เป็นนิสัยแห่งศตวรรษ 21 การติดงอมแงมบางอย่าง(อาจ)ดีกว่าที่คิด

  • 272
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า  Multi-skills หรือ ทักษะที่หลากหลายมานานมากๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในสกิลที่หลายๆ องค์กรต้องการ หรือเรียกว่าน่าจะเป็นส่วนใหญ่เลยก็ได้ที่ require สกิลลักษณะนี้ในปัจจุบัน

ยิ่งในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็ว แค่กระพริบตาไม่กี่ครั้ง ข้อมูลหรือโพสต์ต่างๆ บนโซเชียลมีเดียก็อาจจะเปลี่ยนไปแล้วก็ได้ ก็ยิ่งทำให้ความต้องการแบบ Multi-skill เป็นที่นิยมมากขึ้น

แต่รู้หรือไม่ว่าในมุมคิดของ Nir Eyal นักเขียนชื่อดังในอิสราเอล กลับมองว่า สกิลที่สำคัญที่สุดและเป็นสกิลที่หลายคนหลงลืมไปว่าควรมี ก็คือ Indistractable (ไม่วอกแวก) โดยยกให้เป็น

“the best skill/habit of 21st century (ทักษะที่ดีที่สุดในยุคศตวรรษที่ 21)”

 

 

น่ากลัวกว่า #สิ่งเร้า คือลืมไปแล้วว่าควรมีสกิล #ไม่วอกแวก

ความน่ากังวลของสิ่งที่เรียกว่า #สิ่งเร้า จากโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้คนทุกวัยทุกช่วงอายุลืมไปว่า การไม่วอกแวก คือวินัยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตมากที่สุด รวมถึงความสำเร็จในธุรกิจด้วย สำหรับคนที่มีความฝันที่เป็นจะ CEO อายุน้อย ซึ่งเป็นอาชีพยอดนิยมที่สุดของคน Gen ใหม่ในยุคนี้

และไม่ใช่แค่กลุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงานเท่านั้นที่ควรฝึกสร้างทักษะนี้ เพราะนักจิตวิทยาพูดว่า “การไม่วอกแวก เป็นสกิลที่พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกตั้งแต่เด็กๆ ไม่ใช่มาฝึกตอนที่โตแล้ว เช่น ทดลองไม่ควบคุมการจัดสรรเวลาการดูทีวี หรือการเล่นมือถือ เป็นต้น”

“ปล่อยพวกเขาให้จัดการเวลาอย่างอิสระ แต่สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ ติดตามดูผล และอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ทำให้ลูกเข้าใจเองว่า ถ้าดูทีวีนานๆ ควรดูอะไรที่มีประโยชน์ หรือให้เด็กๆ คิดได้เองว่า เพราะอะไรการได้เล่นสนุกกับเพื่อนหรือกับพ่อแม่ ถึงดีกว่าการนั่งดูทีวี หรือเล่นมือถือ”

 

โดยนักจิตวิทยาอธิบายว่า การปล่อยให้ได้เรียนรู้เอง ให้ได้เกิดความผิดพลาดบางอย่างจากการ(ไม่)จัดสรรเวลาที่ดี จะทำให้พวกเขารู้จักตัวเองดีขึ้น รู้ความต้องการของตัวเอง และมีสมาธิกับการเรียนรู้สิ่งใหม่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดระบบคิดที่ไม่วอกแวกกับสิ่งรอบตัวง่ายเกินไป เพราะผิดพลาดจึงเกิดการเรียนรู้คำว่า #แบ่งเวลาอย่างพอดี

มุมมองการคิดจากตัวอย่างข้างบน คล้ายๆ กับตรรกะการคิดในทฤษฎีของ Richard Ryan นักจิตวิทยาและนักวิจัยชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ที่พูดว่า “เวลาที่เราอยู่กับหน้าจอ(มือถือ)นานๆ (ในกรณีที่ดูคอนเทนต์ที่ไม่เกิดประโยชน์) สุดท้ายเราจะรู้เองว่า ในขณะเดียวกันเราก็เสียสิ่งอื่นไปด้วย”

ดังนั้น การฝึกเพื่อไม่ให้เกิดการวอกแวกขึ้น จึงต้องติดงอมแงมอยู่กับบางสิ่งบางอย่างที่สนใจจริงๆ และเรารู้สึกว่ามีคุณค่าที่ใช้เวลาไปกับตรงนี้ ซึ่งการฝึกบ่อยๆ จนเกิดเป็น #นิสัยหรือสกิล จะทำให้เราสามารถโฟกัสได้กับบางอย่างได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องงาน ธุรกิจ ชีวิต ฯลฯ และไม่รู้สึกว่าเสียเวลาไปกับมันโดยเปล่าประโยชน์

พูดง่ายๆ ก็คือ ปล่อยพวกเขาให้ติดกับการเล่นมือถือ หรือนั่งดูทีวีไปได้ตามความต้องการ ดีกว่ามากำหนดเวลา หรือจัดสรรเวลาแทนพวกเขา เพราะท้ายที่สุดแล้วจะเกิดความผิดพลาดขึ้น (พลาดไปกับอะไรบางอย่างที่ทำให้รู้สึกเสียดาย) และจะเรียนรู้ได้เองว่าควรใช้เวลาอย่างเหมาะสมอย่างไร

 

 

หลักการ #ติดงอมแงม ใช้ได้กับทุกกลุ่ม

ไม่ใช่เฉพาะเด็กๆ ที่สามารถฝึกสร้างนิสัยไม่วอกแวกได้ แต่คนวัยทำงานก็สามารถลองทำดูได้ Nir Eyal อธิบายว่า การกำหนดเวลาให้เรียนรู้ หรือรีแลกซ์ เป็นกระบวนการที่ไม่ค่อย work เพราะความสงสัย ความอยากรู้อยากเห็นของคนไม่เท่ากัน บางคนสงสัยตั้งแต่ที่ดูหนัง 30 นาทีแรก ส่วนบางคนก็อาจจะสงสัยตอนที่หนังจบไปแล้ว หลังเวลาผ่านไป 1.30 ชั่วโมง

สรุปก็คือ การปล่อยให้ได้คิด ได้เรียนรู้ ได้พยายามเข้าใจ ให้เอาตัวเองเข้าไปทำกิจกรรมบางอย่างจริงจัง อาจจะครึ่งวันหรือทั้งวัน อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ทำอยู่ คนเราต้องเกิดการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างขึ้นแน่นอน

การปล่อยให้ใช้เวลาอย่างอิสระ มีแนวโน้มที่จะเกิดประโยชน์มากกว่ากำหนดเวลาต่อสิ่งนั้นๆ ซึ่งจะฝึกให้เรามีนิสัยไม่วอกแวก ให้ได้ทำสิ่งนั้นๆ อย่างเต็มที่ เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้ความเข้าใจว่า สิ่งไหนที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ด้วย

มันคุ้มค่าหรือไม่ที่จะใช้เวลาไปกับมัน นี่คือโจทย์สำคัญที่ต้องมานั่งคิดตามหลักความจริง

 

 

 

ที่มา: cnbc


  • 272
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม