นี่คือ 5 ปัจจัย! ที่นักการตลาดต้องรู้ก่อนวางกลยุทธ์ ‘การสื่อสาร’ ถึงผู้บริโภคในยุค 2021

  • 494
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เริ่มปีใหม่ อะไรๆ ก็ต้องใหม่ตาม รวมไปถึงกลยุทธ์การตลาดของแบรนด์ต่างๆ ด้วย แต่ภายใต้สถานการณ์การระบาด COVID-19 ทำให้ความท้าทายมันเพิ่มขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และความต้องการก็มีหลากหลายขึ้น ดังนั้น ข้อมูลล่าสุดของ มายด์แชร์ เอเยนซี่ในเครือ กรุ๊ปเอ็ม ได้พูดแนะนำนักการตลาดก่อนที่จะวางกลยุทธ์การสื่อสาร ควรเข้าใจและคำนึงถึง 5 ปัจจัยหลัก ดังนี้

 

การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization)

คุณปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) ได้พูดถึงเรื่องการจัดลำดับเรื่องที่สำคัญมากสุดไปหาน้อยสุด หรือเรื่องที่มันสามารถ hold ได้เอาไว้ทีหลัง และเลือกที่จะช่วยติดตามสถานการณ์ให้กับผู้บริโภค ขณะที่แบรนด์หรือธุรกิจเองก็ต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงเพื่อประเมินกลยุทธ์การสื่อสารกับผู้บริโภครูปแบบใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือเลือกช่วงจังหวะเวลาที่จะปล่อยแคมเปญ, โปรดักซ์, ให้ตอบโจทย์กับช่วงเวลานั้นๆ และความต้องการของผู้บริโภค ณ ตอนนั้น

 

ผู้บริโภค (Audience)

ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน อย่างไรแบรนด์หรือธุรกิจยังต้องยึดความสำคัญไว้ที่ ‘ผู้บริโภค’ เสมอให้เป็นศูนย์กลางในการวางกลยุทธ์ และต้องไม่ลืมที่จะวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ ข้อมูล เพื่อดึงความสนใจจากผู้บริโภคให้ถูกที่ถูกเวลา แต่อย่างน้อยๆ ธุรกิจต้องมีเป้าหมาย (target) ชัดเจนมาก หรืออาจจะใช้วิธีการกำหนดกลุ่มเป้ามายอันดับ 1, 2, 3 ก็ได้

ขณะเดียวกัน การวิเคราะห์ทั้งหมดเหล่านั้นต้องพยายามคาดการณ์ด้วยว่า การปรับตัวของผู้บริโภคอยู่ในระดับไหน อัพเดทข้อมูลของลูกค้าตลอดเวลา และระบุกลยุทธ์การตลาดที่ชัดเจนเพื่อทำให้เกิดการขายแบบ end-to-end หรือเรียกง่ายๆ ขายได้แบบครบวงจร ต้นน้ำยันปลายน้ำ (โลจิสติกส์)

 

มีเดีย (Media)

ในยุคที่แบรนด์จำเป็นต้องสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างตรงไปตรงมา กระบวนการนี้ค่อนข้างสำคัญ ขณะที่ปัจจุบันเรามีตัวเลือกที่หลากหลายมีหลายช่องทางเพื่อให้เกิดการสื่อสารกับกลุ่ม target แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ การเลือกใช่สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ รวมไปถึงเหมาะสมกับโปรดักส์ของเราด้วย

คุณปัทมวรรณ ยังพูดถึง ‘ความต่อเนื่อง’ (สม่ำเสมอ) ระหว่างแบรนด์ – ผู้บริโภค ควรยกเป็น top priority เพราะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคได้

 

การสื่อสารที่ยืดหยุ่น (Agile Communication)

อย่างที่รู้ๆ กันว่าเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็หันมาช้อปออนไลน์กันมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การสื่อสารที่ส่งถึงลูกค้า (กลุ่มเป้าหมาย) ของเราจำเป็นมาก นักการตลาดจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการสื่อสารแบบตรงๆ ‘ต่อหน้า’ หรือจัดกิจกรรมที่รวมตัวคนเยอะๆ ไว้ก่อนในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ดังนั้น ความท้าทายก็คือ เราจะเลือกสื่อสารกับลูกค้าแบบไหนได้บ้าง ที่จะทำให้เกิดการรับรู้ และตัดสินใจซื้อสินค้าจากที่บ้านได้ทันที โดยที่ลูกค้าได้รับข้อมูลครบถ้วน

การวางแผนเกี่ยวกับการสื่อสาร บางทีต้องปรับตัวให้เร็วกว่าที่เคยเป็น และต้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย เพราะมีผลต่อความประทับใจของผู้บริโภคได้

 

การค้นหาบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (eCommerce and Search)

แบรนด์หรือธุรกิจต้องทำให้แน่ใจว่าผู้บริโภคสามารถหาเราเจอ เวลาที่ค้นหาในแพลตฟอร์มต่างๆ ให้แน่ใจว่า ช่องทางการติดต่อ, ช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ สะดวกสบายต่อผู้บริโภค จากนั้นต้องเริ่มพิจารณาการทำแคมเปญควบคู่กันไปสำหรับการสั่งซื้อจำนวนมาก รวมไปถึงเรื่องการจัดส่งสินค้าด้วย

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำทั้ง 5 แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมันเป็ยการปรับตัวต่อเนื่องมาจากปี 2020 แต่อย่างน้อยๆ แบรนดืและธุรกิจและเข้าใจผู้บริโภคของตัวเองแบบ 100% หรือเกือบ 100% ในสถานการณ์แบบนี้ เพราะยังไม่มีใครตอบได้ว่า COVID-19 จะจบลงตอนไหน ดังนั้น ปรับตัวให้เร็ว และเคลื่อนตัวในจุดที่ถูกต้อง จะช่วยบรรเทาผลกระทบของธุรกิจได้

Credit: mindshare

 


  • 494
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม