ความท้าทายของนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการในปัจจุบันนอกจากต้องกังวลเรื่องการเติบโตของธุรกิจ อีกหนึ่งความกังวลที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอยู่บ่อยๆ ก็คือ การสร้างความโดดเด่นให้กับธุรกิจในภาวะที่เกิดการแข่งขัน และธุรกิจใหม่ผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว
อย่างข้อมูลจาก Economic Innovation Group ที่ระบุว่า ในช่วงหนึ่งปีแรกที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นประมาณ 24% เทียบกับปีก่อนหน้านั้น หมายความว่าในช่วงวิกฤตยังมีคนบางกลุ่มที่มองเห็นโอกาสจากตรงนี้ และพัฒนาให้เป็นความก้าวหน้าทางธุรกิจได้
มุมมองจาก Steph West ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมเด็กและวัยรุ่น เจ้าของธุรกิจ Starfish Social Club ได้พูดถึง ‘ทฤษฎี Superniche’ (ความถนัดหรือความสามารถพิเศษ) ว่าสามารถนำไปปรับใช้กับการพัฒนาทางธุรกิจได้ โดยเฉพาะกลุ่ม leaders เพราะบางทีการที่เราพยายามทำทุกอย่างไปพร้อมกัน ในฐานะที่เธอเป็นผู้ประกอบการเหมือนกัน ได้แนะนำว่า “การทำทุกอย่างอาจไม่ได้ช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้นอย่างที่คิด แต่เราต้องค่อยๆ ทำอย่างตรงจุดและตามลำดับที่ถูกต้อง”
ทั้งนี้ 3 หลักการจากทฏษฎี Superniche ที่ผู้ประกอบการควรศึกษาเพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้ตรงจุด อย่างที่คุณ West ได้พูดว่าหลักการทั้ง 3 ด้านนี้จะช่วยย่นระยะเวลาที่ทำให้ผู้ประกอบการ get the point เร็วขึ้นจากปัญหาและความท้าทายต่างๆ
โมเดลธุรกิจที่พังมีอะไรบ้าง?
เข้าใจว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จำเป็นต้องศึกษาโมเดลธุรกิจ หรือไอเดียนด้านต่างๆ ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ แต่บางทีเราจำเป็นต้องศึกษาโมเดลที่มันไม่ปังไม่ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน (The model broken)
วิธีการก็คือ ทุกๆ ครั้งที่เราทดลองโมเดลธุรกิจบางอย่างในรอบ 6 เดือน หรือ 1 ปี (ในสถานการณ์ปกติ) ผู้ประกอบการควรนำปัญหา ข้อกังวล และอุปสรรคทั้งหมดมารีวิวอีกครั้งเพื่อพิจารณาในภาพรวม และ in details เพราะบางทีเมื่อเวลาผ่านมาระยะหนึ่งมุมมองของเรากับโมเดลนั้นๆ จะเปลี่ยนไป และเราจะเห็นอะไรที่มันชัดขึ้นมากกว่า ณ เวลานั้น
อีกทั้ง West ยังแนะนำคำถามที่ควรเป็นการ re-check สถานการณ์ของธุรกิจอยู่บ่อยๆ อย่างเช่น
- คิดว่าอะไรคือ pain point ของธุรกิจที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไข?
- ลูกค้าในปัจจุบันกำลังบ่นหรือพูดถึงธุรกิจของเราเกี่ยวกับเรื่องอะไร (ต้องแยกได้ทั้งเรื่องเล็ก-ใหญ่ชัดเจน)
- ลองจินตนาการดูว่า ในธุรกิจของเราสามารถเพิ่มอะไรได้อีก (เช่น ถ้ามีสิ่งนี้…เราจะทำสิ่งไหนได้บ้าง?)
‘คนกลาง’ ยังจำเป็นต่อธุรกิจอยู่หรือไม่?
คำว่า ‘คนกลาง’ บริบทคงคล้ายๆ กับพ่อค้าคนกลางที่เป็นฝ่ายเจรจาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยตัดแบ่งกำไรจากส่วนนั้นไป ซึ่งคำถามของ West ในด้านนี้คือ เรายังจำเป็นต้องมีคนกลางอยู่หรือไม่ ในเมื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมมันเอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจมากขึ้น
ตัวอย่างจาก Amazon ที่ลดการพึ่งพา ‘คนกลาง’ ซึ่งก็คือ Carvana ร้านหนังสือในสหรัฐอเมริกาเพราะไม่จำเป็นต้องขยายการรับรู้ของผู้ซื้อผ่าน Carvana อีกต่อไป อีกทั้ง Amazon สามารถบริการลูกค้าได้โดยตรงและดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ถ้าเราแหกกฎ อะไรที่อาจจะประสบความสำเร็จ?
West ได้แนะนำว่า ผู้ประกอบการควรลิสต์ ‘ข้อจำกัด’ ที่กระทบต่อการเติบโตธุรกิจ รวมถึงเงื่อนไขที่บางทีมันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์แบบนี้ที่ปัจจัยภายนอกมันควบคุมไม่ได้
เธอเชื่อว่า กฎบางข้อถูกตั้งมาเพราะข้อจำกัดด้านเวลา, เงิน หรือความสามารถ ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ถูกบีบให้ปรับผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับเช่นกัน โดยไม่มีข้อจำกัดมาเป็นข้ออ้าง โดยเฉพาะเรื่องความสามารถและเวลา
จากมุมมองทั้ง 3 หลักการเพื่อค้นหาว่า Superniche ทางธุรกิจของเราคืออะไร หลักการที่ชัดเจนมีส่วนทำให้เราเห็นภาพชัดเจนเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าผลลัพธ์มันคือ เราเป็น disruptor (ก่อกวน) หรือ trailblazer (ผู้บุกเบิก) อย่างน้อยๆ มันควรส่งผลในเชิงบวกกลับมาในทางธุรกิจในที่สุด
ที่มา: forbes