แม้ว่าการแพร่ระบาดจะอยู่กับเรามาสักพักใหญ่แล้ว และวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนก็เริ่มสร้างความคุ้นชินได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ใช้ชีวิตเปลี่ยนไป และมีพฤติกรรมบางอย่างที่นักการตลาดต้องอัพเดทเพื่อ keep target ได้อย่างถูกต้อง และสามารถสร้างความประทับใจได้ต่อไป
ข้อมูลจาก Microsoft Advertising ได้พูดถึงผู้บริโภค 4 ประเภทที่เรียกว่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในรูปแบบใหม่ (ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปมากหรือน้อยก็ตาม) แต่มองว่าผู้บริโภค 4 personas ดังกล่าวมีความน่าสนใจ และนักการตลาดควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเข้าถึงพวกเขาได้มากขึ้น โดย Microsoft ได้ใช้เวลาศึกษาเป็นระยะเวลา 18 เดือนที่ผ่านมา
-
Luxury shoppers (นักช้อปสินค้าหรู)
ตามปกติหากไม่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มนักช้อปของลักชัวรี่นี้มักจะซื้อสินค้าใน shop ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ แต่ช่วงที่มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น และห้างฯ ร้านค้าจำเปนต้องปิดบริการชั่วคราว นักการตลาดจึงต้องอัพเดทพฤติกรรมของนักช้อปกลุ่มนี้ใหม่ว่าคนกลุ่มนี้ยังอยู่ แล้วใช้ช่องทางไหน หรือมีความเชื่อมั่นในการซื้อออนไลน์จริงๆ หรือไม่
แน่นอนว่าช่องทางซื้ออย่าง brand.com ก็คือ หนึ่งในตัวเลือกของนักช้อปกลุ่มนี้ ทั้งนี้ Stephanie Worley นักการตลาดแบรนด์ระดับโลกประจำที่ Microsoft Advertising ได้พูดว่า “นักช้อปสินค้าหรูยังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาด และพวกเขาให้ความสำคัญกับคุณภาพและมองวิธีที่จะทำให้สินค้าในชีวิตประจำวันดูหรูยิ่งขึ้น”
“ลึกๆ แล้วกลุ่มนักช้อปสินค้าลักชัวรี่ยังพอใจที่จะซื้อสินค้าใน shop แต่สถานการณ์บังคับให้พวกเขาต้องซื้อทางออนไลน์ ดังนั้นความคาดหวังอย่างหนึ่งของคนกลุ่มนี้คือ ช่องทางที่สะดวกแต่ยังทำให้รู้สึกหรูหราตามสินค้า เช่น ดีไซน์หน้าเว็บ หรือบริการบางอย่างที่เฉพาะบุคคลเท่านั้น เช่นเดียวกับที่พวกเขาได้รับเวลาที่ช้อปในร้าน”
-
Digital nomads (ผู้เร่ร่อนในดิจิทัล)
ทำความเข้าใจกับ Digital nomads กันก่อน อธิบายง่ายๆ ก็คือ กลุ่มคนที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเป็นหลักและใช้ชีวิตแบบเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ หรือหาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจออนไลน์ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้นตั้งแต่ที่มีวิกฤต COVID-19 ส่วนหนึ่งเกิดจากการว่างงาน และมีแพลตฟอร์มที่ใช้ยึดเป็นเครื่องมือสร้างรายได้ที่สะดวกขึ้น
Worley ได้พูดว่า พฤติกรรมคนกลุ่มนี้ค่อนข้างโดดเด่น ซึ่งเป็นยุคของโควิดและยุคดิจิทัลที่เดินหน้าไปพร้อมกัน ที่น่าสนใจคือพวกเขาอยู่กับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา และมีการค้นหาสินค้า/บริการทุกวัน เช่น บริการ RVShare ตลาดเช่ารถบ้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศยุโรป เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่เพิ่มความสะดวกในการสร้างรายได้จากลักษณะงานที่ต้องเดินทางไปอยู่บ่อยๆ
ดังนั้น มีสินค้าและบริการหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับผู้ริโภคกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะที่พักอาศัย, การคมนาคมขนส่ง, ธุรกิจให้เช่ารถ, สินค้าอุปโภคบริโภคที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ หรือความบันเทิงรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับ Digital nomads ซึ่งนักการตลาดจำเป็นต้องศึกษาว่าการสื่อสารอย่างไรที่จะทำให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้
-
Empowered activists (นักเคลื่อนไหวที่มีอำนาจ)
ผู้บริโภคกลุ่มนี้ถือว่ามีอัตราการใช้จ่ายที่น่าสนใจ แต่ก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจซื้อของบางอย่าง 2 สิ่งแรกที่เป็นปัจจัยใหญ่ก็คือ จริยธรรมและค่านิยมเป็นหลัก โดยแบรนด์หรือสินค้า/บริการนั้นๆ ควรคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ พวกเขาคาดหวังที่จะเห็นแบรนด์แสดงจุดยืนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, การเมือง, ความหลากหลาย หรือประเด็นอ่อนไหวในสังคมอื่น
“ข้อความ การสื่อสารทางการตลาดที่สอดคล้องกับความเชื่อของพวกเขา มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกระตุ้นในการซื้อในกลุ่มนี้ได้มากที่สุด” ข้อมูลของ Microsoft Advertising ระบุ
-
Self-care enthusiasts (กลุ่มที่อยากดูแลตัวเองมากขึ้น)
ความวิตกกังวล ความเครียด และความกลัวต่อการระบาดใหญ่ รวมทั้งปัจจัยในเรื่องการเมืองและสังคมที่วุ่นวาย ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหันมาดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาทุกข์ ดังนั้นสุขภาพจิตและร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มนี้
สัดส่วนของผู้บริโภคที่อยากดูแลตัวเองมากขึ้ค่อนข้างสูงโดดเด่น ขณะที่ how to ดูแลตัวเองทั้งทางกาย, ทางใจ, การสร้างสมดุลระหว่างการทำงาน หรือช่วงเวลาพักผ่อนที่รีเฟรชได้จริงๆ ฯลฯ กลายเป็น topics ในความสนใจของคนกลุ่มนี้ ดังนั้น ความคาดหวังใหม่ที่จะเกิดขึ้นก็คือ พวกเขาจะได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วทันเวลาหรือไม่, พวกเขาจะมีประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นในอุปกรณ์ดิจิทัลได้อย่างไร และ digital tools มแบบไหนที่จะช่วยพวกเขาให้สะดวกและเชื่อมั่นในการดูแลตัวเองได้ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้บริโภคทั้ง 4 สไตล์อาจจะไม่ใช่กลุ่มใหม่เอี่ยม เพียงแต่มีความโดดเด่นมากขึ้นในยุคนี้ ซึ่งนักการตลาดต้องเข้าใจลำดับของ main target ให้ดีว่าแต่ละกลุ่มควรสื่อสารข้อความทางการตลาดแบบไหน โดยบทความนี้เป็นเพียงการสะท้อนภาพรวมของผู้บริโภค และลำดับความสำคัญให้เห็นว่าจุดยืนของแบรนด์สร้างโอกาสทางธุรกิจได้จริงๆ หากเรา access กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
ที่มา: martech