เปิด Insight การใช้อินเตอร์เน็ตไทย ชี้คนไทยถือครองคริปโตมากที่สุดในโลก

  • 766
  •  
  •  
  •  
  •  

เปิด Insight การใช้งานอินเตอร์ Data Report Digital Stat 2022 โดยเป็นข้อมูลจาก We Are Social และ Hootsuit เครื่องมือด้านการจัดการ Social Media ช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมของ Social Media โดยครั้งนี้ได้เปิดเผยข้อมูล Insight ที่สำคัญสำหรับนักการตลาดออนไลน์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการกลับมาใช้อินเตอร์เน็ตตามปกติของคนไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีหลายพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของคนไทยที่ติดอันดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถือครองคริปโตที่ประเทศไทยถือเป็นอันดับ 1 ที่มีการถือครองคริปโตมากที่สุดในโลก

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว โดยพบว่าค่าเฉลี่ยอายุของประชากรของไทยอยู่ที่ 40.9 ปีในปี 2022 นี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ยอายุประชากรทั่วโลกที่มัอายุ 31.4 ปี ที่สำคัญอายุเฉลี่ยของคนไทยยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากประเทศไทยไม่เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต อาจก่อให้เกิดความลำบากต่อการใช้ชีวิตสำหรับประชากรสูงอายุ แต่ก็ถือเป็นโอกาสที่นักการตลาดจะมองเห็นศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต

ขณะที่ Smartphone กลายเป็นอุปกรณ์ที่คนส่วนใหญ่บนโลกครอบครองเป็นของตัวเอง โดยมีสัดส่วนการครอบครอง Smartphone สูงถึง 96.2% รองลงมาคือการครอบครองคอมพิวเตอร์ที่สูงถึง 63.1% ขณะที่อุปกรณ์อย่าง Smart watch มีการครอบครองสูงถึง 27.4% เติบโตขึ้นถึง 17.6% ด้าน Smart TV ก็มีการครอบครองสูงถึง 15.5% เติบโตขึ้น 7.6% และที่สำคัญอุปกรณ์อย่างแว่น VR มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีการครอบครองถึง 4.8% โตขึ้น 9.1% ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี Metaverse

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกว่า 77% แม้จะยังเป็นสัดส่วนที่ไม่ได้แตกต่างไปจากปีที่ผ่านมามากมายนัก แต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยก็ยังดีกว่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 62.5% ขณะที่มีอีกหลายประเทศสามารถผลักดันให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศอยู่ในระดับที่สูงกว่า 90% ที่ให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ในระดับมากกว่า 90%

จากรายงาน Data Report Digital Stat 2022 ชี้ให้เห็นถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยที่มีระยะเวลาการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงติดอันดับ 7 ของโลก โดยมีการใช้งาน อินเทอร์เน็ตในแต่ละวันสูงถึง 9.06 ชั่วโมง จนกลายเป็นอันดับ 7 ของโลก ขณะที่ ประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์และมาเลเซีย มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันสูงกว่าประเทศไทย โดยระยะเวลาใช้งานอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 6.58 ชั่วโมง

แม้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยจะสามารถเข้าถึงได้กว่า 77% แต่เมื่อแบ่งช่องทางการใช้อุปกรณ์ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตพบว่า การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น Desktop หรือ Notebook กลับใช้เวลาเพียงแค่ 3.38 ชั่วโมง อยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก ชี้ให้เห็นถึงการเข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ยังเข้าถึงได้น้อย โดยนักการตลาดอาจจะต้องนำเสนอการสื่อสารผ่าน Format อื่นๆ ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากกว่า

นอกจากคนไทยจะใช้อินเตอร์เน็ตต่อวันยาวนานเป็นอันดับ 7 ของโลก แต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยใช้สมาร์ทโฟนของคนไทยมีการใช้งานสูงมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยคิดเป็นจำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นรองแค่ฟิลิปปินส์เท่านั้นเอง ข้อมูลดังกล่างยังเป็นการชี้ให้นักการตลาดดิจิทัลและแบรนด์เห็นถึงช่องทางที่สำคัญในการสื่อสารกับผู้บริโภค

ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนกลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนไทย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 3G ใช้เวลานานกว่าหลายประเทศทั่วโลก ทันทีที่เทคโนโลยี 4G 5G เกิดขึ้นประเทศไทยจึงเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับ และในปี 2022 ตัวเลขค่าเฉลี่ยของความเร็วอินเทอร์เน็ตบนมือถือของไทยอยู่ที่ 31.91 MBPS สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 29.06 MBPS โดยประเทศไทยมีความเร็วอินเตอร์เน็ตบนมือถือสูงเป็น อันดับที่ 29 ของโลก

สวนทางกับความเร็วอินเตอร์เน็ตในบ้านของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยี FTTx รวมไปถึงการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี IPv6 โดยในปี 2022 ความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้านของประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลก โดยมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 171.37 MBPS ขณะที่ผู้ให้บริการบางรายในประเทศไทยสามารถระบุความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้าน สูงสุดที่ 1000 MBPS นอกจากนี้ความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้านของไทยยังพัฒนาขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 46% กลายเป็นเป็นอันดับ 3 ของโลกที่มีการพัฒนาความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้าน

หลายคนเคยบอกว่าช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางที่สำคัญ จนลืมไปว่าเว็บไซต์ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากเช่นกัน โดยจากข้อมูลพบว่าคนไทยเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถืออยู่ที่ 55% ขณะที่ประเทศที่มีการเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือมากที่สุดคือ ไนจีเรีย โดยมีการใช้สูงถึง 83.5% นั่นหมายความว่าการขยายตัวของเว็บไซต์ยังมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น แล้วยังเห็นได้ชัดว่าคนไทยยังนิยมเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือในสัดส่วนที่สูงอยู่ ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดดิจิทัลเลือกช่องทางการสื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม

สำหรับเหตุผลหลักในการใช้อินเทอร์เน็ตปี 2022 ส่วนใหญ่จะเน้นเพื่อหาข้อมูลที่ตัวเองสนใจหรือติดต่อกับคนที่ต้องการพูดคุน ซึ่งเมื่อลงรายละเอียดลักษณะการใช้งานแล้วจะพบว่า 95.6% เน้นไปที่การแชทพูดคุยกัน โดย 95.2% จะเน้นใช้งานผ่าน Social Media ขนาดที่ 83.6% เน้นค้นหาผ่าน Search Engine อย่าง Google และ 58.1% เน้นช้อปปิ้งออนไลน์ ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความเจาะจงในการใช้งานแต่ละประเภทที่ชัดเจน

จากข้อมูลยังพบว่า คนไทยนิยมค้นหาข้อมูลด้วยภาพหรือ Image Recognition ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาผ่านรูปภาพหรือการแปลภาษาผ่านรูปภาพ โดยคนไทยมีการใช้ Image Recognition อยู่ในลำดับที่ 6 ของโลกที่ 37.5% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่มีเพียง 29.5% เท่านั้น ขณะที่กลุ่มประเทศที่ใช้งาน Image Recognition สูง ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา

จากข้อมูลการใช้ Image Recognition จะเห็นว่าบางส่วนสามารถใช้การถ่ายรูปเพื่อแปลภาษาได้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยในการแปลภาษาออนไลน์ จากรายงาน Digital Stat 2022 พบว่า คนไทยนิยมใช้เครื่องมือเพื่อช่วยแปลภาษามากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก โดยมีการใช้เครื่องมือแปลภาษาออนไลน์สูงถึง 45.6% ในขณะที่ทั่วโลกมีการใช้เฉลี่ยอยู่แค่ 31.9% เพียงเท่านั้น ชี้ให้เห็นถึงคนไทยนิยมค้นคว้าหาข้อมูลด้วยภาษาต่างประเทศ

ไม่เพียงแต่การค้นหาข้อมูลด้วยภาษาต่างประเทศเท่านั้น คนไทยยังนิยมเรียนรู้ผ่าน Content ในรูปแบบของวีดีโอ โดยจากข้อมูลยังพบว่า คนไทยหันมาการเรียนรู้ผ่านวิดีโอสูงถึง 41.7% โดยเฉพาะการเรียนรู้ผ่านช่องทาง YouTube ชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าถึง Content วีดีโอของคนไทย แม้จะยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 46.8% แต่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดดิจิทัลเรียนรู้ว่าควรจะนำเสนอ Content ผ่านรูปแบบใดไปยังผู้บริโภค

จากข้อมูลที่พบว่าคนไทยนิยมศึกษาผ่านรูปแบบวีดีโอ ซึ่งสอดรับกับข้อมูลการรับชมรายการทีวี ที่ปัจจุบันทีวีไม่ใช่ช่องทางหลับอีกต่อไป เนื่องจากหลายคนหันมานิยมรับชมรายการทีวีผ่านรูปแบบออนไลน์แทน โดยนิยมรับชมรายการผ่านออนไลน์สูงถึง 97.1% นั่นจึงทำให้นักการตลาดดิจิทัลและแบรนด์ ต้องเรียนรู้การปรับรูปแบบการสื่อสารหรือโฆษณาให้เข้ากับรูปแบบการรับชมรายการทีวี ผ่านช่องทางใหม่ๆ

แม้ว่าหลายคนนิยมรับชมรายการทีวีผ่านในรูปแบบออนไลน์และชอบดู Content ประเภทวีดีโอ ทว่าการรับชมวิดีโอประเภท VLOG หรือ วีดีโอที่เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตในแต่ละวันของเหล่า Influencer กลับไม่เป็นที่นิยมมากเท่าไหร่ โดยจากข้อมูลพบว่า มีผู้ชมเพียง 19.7% เท่านั้นที่นิยมดูวีดีโอประเภท VLOG นักการตลาดและแบรนด์อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ย หรือศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนถึงการนำเสนอหรือการสื่อสารผ่านรูปแบบมีล็อค

ในในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Podcasts กลายเป็นช่องทางที่น่าสนใจและดูเหมือนจะแนวโน้มเติบโตเพิ่มมากขึ้น แต่ข้อมูลในปี 2021 พบว่า คนไทยมีการฟัง Podcasts เพียง 19.2% จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด ซึ่งมีสัดส่วนที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่นิยมฟัง Podcasts อยู่ที่ 20.4% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียมีการฟัง Podcasts อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกที่สัดส่วน 35.6%

แม้ว่าคนไทยจะฟัง Podcasts น้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก รายการเล่นเกมของคนไทยโดยเฉพาะเกมออนไลน์เรียกว่าไม่แพ้ชาติใดในโลก ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมมาเป็นการเล่นเกมทุกหมวดประเภท ตั้งแต่เกมง่ายๆ เกมเล่นคนเดียวหรือแข่งขันในระดับ eSport โดยคนไทยมีสัดส่วนการเล่นเกมสูงถึง 94.7% ส่งผลให้ประเทศไทยนิยมเล่นเกมเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ที่มีสัดส่วนเล่นเกมสูงถึง 96.4%

แม้ว่าเทคโนโลยีด้านการเงินของประเทศไทยจะถูกพัฒนาไปสู่รูปแบบ Cashless Society ผ่านการใช้ QR Code หรือแอปพลิเคชันของธนาคาร รวมถึงการพัฒนาธุรกิจ e-Wallet และถือว่าประเทศไทยมีเทคโนโลยีทางการเงินลำดับต้นๆ ของโลก แต่จากข้อมูลของ Digital Stat 2022 กลับพบว่า มีการใช้บริการทางการเงินออนไลน์เพียง 31.4% ไม่เว้นแม้แต่จีนที่เป็นมีเทคโนโลยีด้านการเงินก้าวล้ำไปมาก ยังมีการใช้บริการทางการเงินออนไลน์เพียง 22.1% น้อยกว่าไทยด้วยซ้ำ

ถึงข้อมูลจะพบว่า คนไทยใช้บริการทางการเงินออนไลน์แค่เล็กน้อย แต่ในทางกลับกันกลับพบว่า ประเทศกลายเป็นตลาดคริปโตที่สำคัญ เนื่องจากพยว่า คนไทยมีการถือครองคริปโตเป็นอันดับ 1 ของโลกมากถึง 20.1% ขณะที่สัดส่วนค่าเฉลี่ยถือครองคริปโตทั่วโลกมีอยู่แค่ 10.2% เท่านั้น จึงไม่แปลกที่หลายธุรกิจจะเริ่มหากลยุทธ์การตลาดที่เกี่ยวกับคริปโต แล้วเมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่าผู้ชายถือครองคริปโตมากกว่าผู้หญิง และส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Gen Y

นอกจากนี้คนไทยยังนิยมหาหมอออนไลน์หรือ TeleMed ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างมาก เนื่องจากสะดวกและปลอดภัยจากสถานการณ์โรคระบาด โดยมีคนไทยกว่า 18.7% เคยหาหมอทางออนไลน์ ขณะที่ภาพรวมทั่วโลกการหาหมอออนไลน์อยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศไทย ซึ่งอยู่ที่ 26.9% ขณะที่ประเทศที่การหาหมอออนไลน์ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เคนยา ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 40% ขึ้นไป เห็นได้ชัดว่าการหาหมอออนไลน์ยังคงสามารถเติบโตได้อีกมาก

ไม่ว่าหลายข้อมูลจะชี้ให้เห็นว่า คนไทยนิยมใช้งานบนโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data เริ่มเห็นชัดขึ้นจากปัญหาการหลอกลวงจนมีหลายคนสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหล แม้ว่าภาครัฐจะให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล แต่จากข้อมูลกลับพบว่า คนไทยยังกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลน้อยมาก โดยพบว่ามีเพียง 26.1% เท่านั้นที่สนใจเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ขณะที่ทั่วโลกให้ความสนใจเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลสูงถึง 33.8%

 

Source: We Are Social


  • 766
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา