ไหนๆ ก็เข้าสู่เดือนแห่งความรักกันแล้ว และโลกในสมัยนี้สำหรับการหาคู่ที่ง่ายนิดเดียว เพราะกลายเป็นว่าทุกคนทั่วโลกอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นบนโลกที่ไร้พรมแดน สามารถเชื่อมหากันได้หมด ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ การจะมีแฟนสำหรับคนโสด หรือหาเพื่อนต่างชาติเพิ่มก็กลายเป็นเรื่องง่ายๆ กล้าที่จะ say hi กันได้ทั่วโลก ด้วยแอพพลิเคชั่น ‘หาคู่’ (dating apps) มากมายในปัจจุบัน
แล้วรู้หรือไม่ว่า ในยุคที่ใครๆ ก็ติดหน้าจอมือถือ เดินไปไหนมาไหนก็พากันก้มหน้า แอพฯ ตัว หรือประเภทไหนที่เข้าถึงผู้ใช้ที่สุด และทำให้พวกเขายอมที่จะควักเงินในกระเป๋ามากที่สุดด้วย คำตอบก็คือ ‘แอพฯ หาคู่’
ในการสำรวจของ App Annie โปรเจ็กต์ ‘Mobile Minute’ ตัวล่าสุดสำหรับข้อมูลอินไซต์ในปี 2020 พบว่า “ผู้บริโภคทั่วโลกโดยเฉลี่ยแล้วมีการใช้จ่ายมากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 90,000 ล้านบาท) ไปกับแอพฯ หาคู่ เพิ่มขึ้น 15% เทียบปีต่อปี (YOY) และยังมียอดดาวน์โหลดแอพฯ หาคู่กว่า 560 ล้านครั้งด้วย”
ส่วนแอพฯ หาคู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2020 ก็คือ ‘Tinder’ คงจะคุ้นๆ กันใช่มั้ย เพราะแอพฯ นี้เข้ามาในไทยค่อนข้างนาน และได้รับความนิยมเป็นแอพฯ หาคู่ท็อปๆ เลยก็ว่าได้
ที่น่าสนใจคือ Tinder เป็นแอพฯ (ที่ไม่ใช่เกม) แต่ผู้ใช้ยอมที่จะจ่ายเงิน เสียเงินให้กับฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น Gold Member – ที่ช่วยให้เราเห็นคนที่ Liked เพื่อสแกนก่อนเลยว่า เราอยากจะ Match ด้วยมั้ยเพื่อสานความสัมพันธ์ต่อ เป็นต้น
สำหรับแอพฯ หาคู่อื่นๆ ที่ติด Top 10 และได้รับความนิยมทั่วโลก (Worldwide) ก็คือ
-
Tinder
-
Bumble App
-
Pairs
-
Badoo
-
MeetMe
-
Hinge
-
Tantan
-
Grindr
-
Tagged
-
POF Online Dating
ส่วน Top 10 แอพฯ อื่นที่ไม่ใช่แอพฯ หาคู่ และคนก็ยอมจ่ายเพิ่ม (Consumer Spend) ในปี 2020 เพื่อให้ได้เข้าถึงฟีเจอร์นั้นๆ มากขึ้น ก็คือ
-
Tinder
-
TikTok
-
YouTube
-
Disney+
-
Tencent Video
-
Netflix
-
Google One
-
IQIYI
-
BIGO LIVE
-
Pandora Music
แล้วข้อมูลอินไซต์เหล่านี้ สำคัญยังไง? ทีมที่ทำการสำรวจวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมของผู้ใช้ที่เปลี่ยนจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับธุรกิจเสมอ นักการตลาดต้องเข้าใจ นักกลยุทธืก็ต้องตามว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลต่อไปในอนาคตอย่างไร และปัจจัยนี้จะเป็น metric ความสำเร็จของธุรกิจได้อย่างไร
อย่างพฤติกรรมที่ยอมใช้จ่ายไปกับ แอพฯ หาคู่ ความเชื่อ ความคิด mind-set ของผู้บริโภคในยุคนี้เป็นอย่างไร แล้วพยายามเข้าใจ pain point ให้ละเอียด เพราะการยอมเสียเงิน นั่นคือ value ของความเชื่ออย่างหนึ่งที่แบรนด์หรือธุรกิจสามารถต่อยอดได้ การที่พวกเขาให้ value ไปกับแอพฯ หาคู่ต้องมี deep insights ที่เราต้องเข้าใจ เช่น ความเหงา, อุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาความเหงา, ความเขินอายที่เป็นปัญหา หรือ desire ที่อยู่ในต่างแดนมากกว่าในประเทศตัวเอง รวมไปถึง การดีไซน์รูปแบบแอพฯ ที่เข้าถึงผู้ใช้ อย่างเช่น Tinder ที่ใช้วิธี ‘ปัดซ้าย – ขวา’ เพื่อแสดงความสนใจ รูปแบบของแพลตฟอร์มบางทีมีความสำคัญ และค่อนข้าง in details
ดังนั้น การบ้านการเติบโตและเข้าถึงของธุรกิจและแบรนด์ คือ การใส่ใจผู้ใช้ หรือกลุ่มเป้าหมายที่มาากกว่าเดิม ต้องสวมบทบาทเข้าไป ‘ถ้าเราเป็นเขา’ แล้วใช้ความเชื่อบวกกับประสบการณ์เข้าไป ลุย!
ที่มา: appannie