ข้อมูลมีบทบาทในการใช้วิเคราะห์และตัดสินใจในการทำธุรกิจอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาข้อมูลและองค์ความรู้จะถูกวิเคราะห์โดยคน ซึ่งตัวคนเองมีข้อจำกัดในการรับและจัดการกับข้อมูลเยอะๆ ทำให้ต้องใช้สัญชาติญาณ (Intuition) จากประสบการณ์ส่วนตัว เกิดอคติ ลำเอียง หรือให้ความสนใจในข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป
การเหมารวมก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของอคติที่เกิดจากสมองมนุษย์ที่แยกแยะความแตกต่างของข้อมูลโดยละเอียดไม่ได้ ข้อมูลที่มีความสำคัญอาจถูกสมองของมนุษย์นั้นตัดออกไป
ผลคือการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นไม่สมเหตุสมผลและแม่นยำ ข้อมูลที่สรุปออกมาทำให้ทั้งตัวเราและคนอื่นเข้าใจคลาดเคลื่อน โดยที่เราเองไม่รู้ตัว
AI ทำให้วิเคราะห์และตัดสินใจได้แม่นยำ ไม่ลำเอียง
เมื่อเทียบกับข้อจำกัดของคน ข้อดีของ AI คือ AI สามารถรับและวิเคราะห์ข้อมูลเยอะๆได้ รวมถึงหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซับซ้อนกว่าได้ (ปรกติคนของคิดแบบเส้นตรง หรือ Linear Relationship) ความลำเอียงการการวิเคราะห์และตัดสินใจก็จะเกิดขึ้นน้อยลง
ยกตัวอย่างเช่นหากเราต้องการตัดสินว่า งานโฆษณาชิ้นไหนจะได้ผลมากที่สุดกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มหนึ่ง AI จะสามารถดูผลงานโฆษณาที่ผ่านมาทั้งหมด ดูว่างานไหนลูกค้ากลุ่มนี้ตอบรับมากที่สุด หรือซื้อของมากที่สุด ซึ่งหากเป็นคน คนก็ไม่สามารถรวบรวมผงานโฆษณาได้ดีเท่า AI
มนุษย์ยังมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์และตัดสินใจอยู่
เหตุผลสั้นๆคือ ไม่ใช่ข้อมูลทุกอย่างที่ AI สามารถรวบรวมเข้าในระบบดิจิทัล จนเข้าใจและวิเคราะห์ออกมา บางเรื่องอย่างเช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ของบริษัท สถานการณ์ในตลาด AI ก็ไม่สามารถเข้าใจได้
ยกตัวอย่างเช่น หาก AI วิเคราะห์แล้วบอกว่าเราควรสต็อกสินค้าในจำนวนที่ถูกต้อง แต่เรากลับมองว่าเราควรสต็อกของให้มากกว่านี้เพราะการแข่งขันมันสูงทำให้เราต้องใส่ใจประสบการณ์ของลูกค้าเป็นพิเศษ การที่เราจะเก็บสต็อกสินค้าที่มากกว่าที่ AI บอกอาจจะเป็นเรื่องจำเป็น ต่อให้เราขาดทุนบ้างก็ตาม
ฉะนั้นการตัดสินใจในเรื่องธุรกิจ ก็ควรใช้ทั้ง AI และ Human ด้วยกันครับ
แหล่งที่มาWhat AI-Driven Decision Making Looks Like โดย Eric Colsin จาก Strategic Analytics: Harvard Business Review