ยูนิเวอร์ซัม เผยผลสำรวจ “Universum 2021 Thailand” ชี้นักศึกษาไทยให้ความสำคัญเรื่อง “ฐานเงินเดือน”และ“ประโยชน์จากการทำงาน” มากที่สุด

  • 22
  •  
  •  
  •  
  •  

 

  • กูเกิล ครองตำแหน่งนายจ้างในอุดมคติยอดยี่ยมในกลุ่มนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์
  • ปตท. เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
  • นักศึกษาทั้งหมดระบุว่า ฐานเงินเดือนและประโยชน์จากการทำงานที่มากกว่า ถือเป็นสองปัจจัยที่สำคัญที่สุด
  • แม้ 88% ของนักศึกษาสายธุรกิจ และ 84% ของนักศึกษาภาควิศวกรรมศาสตร์ ต้องการทำงานในองค์กรเอกชนเป็นหลัก แต่บริษัทรัฐวิสาหกิจที่เป็นองค์กรมหาชนอย่าง ปตท. และ กฟผ. ยังติด 3 อันดับแรกของนายจ้างในอุดมคติ
  • กูเกิล ปตท. และ ปูนซีเมนต์ไทย ติดอันดับนายจ้างที่ใช้โซเชียลมีเดียสร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด

ยูนิเวอร์ซัม (Universum) ผู้นำด้านการสร้างแบรนด์ประเภทองค์กรในระดับสากล เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกผลการสำรวจบุคคลผู้มีทักษะสูงทั่วโลกฉบับประเทศไทย เพื่อวัดระดับความน่าสนใจขององค์กรในตลาดแรงไทย และตรวจสอบความต้องการด้านการทำงานของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่จะเป็นแรงงานในอนาคต

กูเกิล ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยีครองตำแหน่งนายจ้างยอดนิยมอันดับหนึ่งในกลุ่มนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์ แต่ ปตท. สามารถแซงหน้ากูเกิลและกลายเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์

 

บริษัทในอุตสาหกรรมโรมแรมและค้าปลีกยังเป็นที่นิยมแม้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

 

องค์กรนายจ้างที่น่าสนใจที่สุดสำหรับนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์ คือ กูเกิล ตามมาด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการบันเทิงเมืองไทยซึ่งครองอันดับ 3 ในขณะที่ คิง เพาเวอร์ ศูนย์จำหน่ายสินค้าปลีกสำหรับนักเดินทางอยู่อันดับ 4 โดยอุตสาหกรรมที่นักศึกษาชื่นชอบนั้นมีความหลากหลาย โดยธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมยังคงเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุด (39% )

นายพราทิก ซาเบอวัล หัวหน้าที่ปรึกษา ยูนิเวอร์ซัม ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “แม้จะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์แพร่ระบาดและการจำกัดการเดินทางที่เข้มงวดเพื่อควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อ หากบุคคลผู้มีทักษะสูงยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นข่าวดีมากสำหรับประเทศที่มีแผนฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยวในช่วงนี้”

 

ปตท. กฟผ. และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังรั้งอันดับต้น ๆ ของบริษัทนายจ้างในอุดมคติ แม้นักศึกษาสนใจทำงานในภาคเอกชนอย่างมาก

 

 

ในขณะที่นักศึกษาไทยส่วนใหญ่ต้องการทำงานในภาคเอกชน (88% ของนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์ และ 84% ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์) หากยังมีนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์กว่า 73% และนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ราว 74% คาดหวังจะได้ทำงานในองค์กรที่มีการดำเนินงานระดับโลก โดยบริษัทมหาชนยังคงเป็นตัวเลือกที่นักศึกษาส่วนมากต้องการเข้าไปทำงาน บริษัทมหาชนอย่าง ปตท. และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ติด 3 อันดับแรกนายจ้างในอุดมคติ โดย ปตท. ครองอันดับ 1 และ กฟผ. ครองอันดับ 3 นายจ้างที่น่าสนใจที่สุดสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครองอันดับ 2 ในหมู่นักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์

“ในช่วงการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาที่ลูกจ้างบริษัทเอกชนต้องเผชิญกับการลดเงินเดือนแบบฉับพลัน ทำให้กลุ่มผู้มีทักษะสูงในอนาคตรู้สึกเปิดกว้างมากขึ้นต่อองค์กรภาครัฐบาลที่มีความมั่นคงสูง เนื่องจากข้าราชการพลเรือนยังมีอัตราเงินเดือนคงที่ การสำรวจของเราแสดงให้เห็นว่า ปตท. เป็นบริษัทนายจ้างที่มีคุณลักษณะที่น่าสนใจอย่างมาก อาทิ การเสนอฐานเงินเดือนที่สูงกว่า ผลประโยชน์ที่มากกว่า การจ้างงานที่มั่นคง และการให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการทำงานขั้นสูง ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด 4 ข้อที่นักศึกษาต้องการ” นายพราทิก ซาเบอวัล กล่าว

 

กูเกิล ปตท. ปูนซีเมนต์ไทย ติดอันดับนายจ้างที่ใช้โซเชียลมีเดียสร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด

 

 

สำหรับการใช้ช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ เว็บไซต์ขององค์กรนายจ้างยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกใช้งานมากที่สุด โดยคิดเป็น 52% ของผู้ตอบแบบสอบถาม นักศึกษา 47% ยังระบุว่าเริ่มหันมาใช้เฟซบุ๊กและกูเกิลพลัส (41%) ในการค้นหาข้อมูลของนายจ้างในอนาคต โดยในหมู่นักศึกษาที่ทำแบบสำรวจ กูเกิล ปตท. และ ปูนซีเมนต์ไทย ติด 3 อันดับแรกของนายจ้างที่ใช้โซเชียลมีเดียสร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด 

เนื่องจากเฟซบุ๊กได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนไทยมากกว่าโซเชียลมีเดียช่องทางอื่นๆ อย่างอินสตาแกรมหรือลิงก์อิน ดังนั้น บุคคลผู้มีทักษะสูงจึงใช้เว็บไซต์ทางการของบริษัทในการศึกษาเกี่ยวกับนายจ้าง และใช้เฟซบุ๊กเพื่อพิจารณาว่าผู้คนมีส่วนร่วมกับบริษัทนั้นอย่างไร และในฐานะนายจ้าง บริษัทมักจะนั้นแบ่งปันคอนเทนต์เกี่ยวกับองค์กรของตนเองในรูปแบบใด

“นายจ้างควรออกแบบการสร้างแบรนด์ของตนเอง ผ่านการระบุลักษณะความแตกต่างที่สำคัญและแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องเมื่อมีเป้าหมายในการค้นหาผู้สมัครงานที่มีความแตกต่าง เนื่องจากบรรดานายจ้างในประเทศไทยล้วนตื่นตัวอย่างมากบนเฟซบุ๊ก ทำให้ผู้มีทักษะสูงมักใช้เฟซบุ๊กเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประสบการณ์ของลูกจ้างในบริษัท เป็นการใช้งานแพลตฟอร์มยอดนิยมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะช่วยให้ผู้มีทักษะสูงรู้ว่าจะสามารถคาดหวังสิ่งใดจากการทำงานในองค์กรของคุณ” นายพราทิก ซาเบอวัล กล่าวเสริม 

ไฮไลต์อื่น ๆ จากการสำรวจครั้งนี้คือ นักศึกษาคิดว่าการบริหารที่ส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล (77%) ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญที่สุด ที่นายจ้างต้องให้ความสำคัญบนโซเชียลมีเดีย ตามมาด้วยโอกาสการก้าวหน้าในสายงาน (75%) และแนวคิดของผู้บริหารบริษัท (73%)

 

ความไม่เสมอภาคของค่าตอบแทนระหว่างเพศยังปรากฏในสาขาธุรกิจ/พาณิชย์ และวิศวกรรมศาสตร์

เงินเดือนรายปีที่นักศึกษาในประเทศไทยคาดหวังคือ 431,689 บาท โดยนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์มีความคาดหวังเรื่องเงินเดือนสูงกว่าโดยเฉลี่ยคาดหวังค่าตอบแทนต่อปีที่ 452,869 บาท ในขณะที่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ คาดหวังที่ 434,663 บาท สาขาธุรกิจ/พาณิชย์มีช่องว่างของค่าตอบแทนระหว่างเพศที่ 14% โดยนักศึกษาหญิงคาดหวังเงินเดือนต่ำกว่านักศึกษาชาย ส่วนนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มีช่องว่างของค่าตอบแทนระหว่างเพศน้อยกว่าอย่างชัดเจน โดยนักศึกษาหญิงคาดหวังต่ำกว่านักศึกษาชายที่ 8%

 

การสำรวจ Universum 2021 – Thailand
ธุรกิจ/พาณิชย์ วิศวกรรมศาสตร์
นายจ้างในอุดมคติประจำปี 2564

(Ideal Employer Ranking 2021)

1. กูเกิล

2. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

3. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

4. King Power

5. ปตท.

1. ปตท.

2. กูเกิล

3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

4. ปูนซีเมนต์ไทย

5. บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป (บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ, โรลส์-รอยซ์ มอเตอร์ คาร์ส)

5 อันดับนายจ้างที่ใช้โซเชียลมีเดียสร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด

(Top 5 Most Engaging in Social Media)

1. กูเกิล

2. ปตท.

3. ปูนซีเมนต์ไทย

4. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

5. บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป (บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ, โรลส์-รอยซ์ มอเตอร์ คาร์ส)

 


  • 22
  •  
  •  
  •  
  •