การตลาด Pokemon Go กรณีศึกษาจากแบรนด์และร้านค้าในไทย

  • 651
  •  
  •  
  •  
  •  

pokemon-marketing1

กระแส Pokemon Go ที่กำลังฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมืองในตอนนี้ ถือเป็นโอกาสดีของร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟต่างๆ หรือธุรกิจ ต่างๆ ที่สามารถดึงกระแสฝูงชนที่ออกมาเดินเล่นเกมและล่าโปเกมอน เพื่อแปรเปลี่ยนเป็นยอดขายได้

คนเล่น Pokemon Go ทุกคนต้องการคือจับตัว “โปเกมอน” ให้ได้เยอะๆ ซึ่งตามปกติแล้ว โปเกมอนจะเกิดมาตรงไหนในแผนที่นั้น จะขึ้นกับการสุ่มของเกม แต่ผู้พัฒนา Niantic Labs ก็เปิดโอกาสให้เราสามารถจ่ายเงินซื้อไอเทมในเกม เพื่อกำหนดตำแหน่งให้โปเกมอน เกิดได้ง่ายขึ้น เทคนิคตรงนี้จึงสามารถนำมาใช้ดึงคนเล่นให้มายังสถานที่ที่เราต้องการได้ และเมื่อเรียกคนมาได้แล้ว  ก็จะแปรเปลี่ยนเป็นยอดขายและรายได้หรือไม่ ก็ขึ้นกับเทคนิคการตลาดของร้านค้าหรือธุรกิจแต่ละแห่งแล้วหน้าร้านคุณมี Pokemon Stop แล้วหรือยัง?

ในเกม Pokemon Go จะมีสถานที่ที่ผู้เล่นจะมาหยุดเล่นอยู่ 2 แบบ คือ

1) Poke-Stop จุดหยุดโปเกมอน เปรียบได้กับ “ป้ายรถเมล์โปเกมอน” ซึ่งเป็นจุดที่ผู้เล่นเข้ามาเก็บไอเทมต่างๆ ในเกมได้

pokemon-marketing2

2) Gym สนามต่อสู้ เป็นจุดสำหรับนำโปเกมอนมาต่อสู้กัน จะเริ่มใช้ได้สำหรับผู้เล่นเลเวล 5 ขึ้นไปตัวอย่างหน้าตาของ Gym

pokemon-marketing3

ตำแหน่ง ในเกมส์ Pokemon จะเอามาจากตำแหน่งในเกมส์ ingress ในอดีตเปิดให้ผู้เล่นเสนอจุดต่างๆ ตอนนี้ปิดรับข้อเสนอแล้ว

สิ่งที่ร้านอาหาร ร้านค้า หรือธุรกิจต้องการก็คือ Poke-Stop ซึ่งตรงนี้ขึ้นกับโชคชะตา ถ้าไม่มี Poke-Stop ก็คงทำอะไรมากไม่ได้ใน ตอนนี้ (แต่ตอนท้ายบทความจะมีกรณีศึกษาสร้าง PokeStop เองจากโลกจริง) ส่วนถ้าบริเวณใกล้ๆ กับร้านของเรามีป้าย Poke-Stop นั่นคือโอกาศเป็นของผู้ประกอบการแล้ว ให้เราซื้อไอเทม Lure Module มาล่อโปเกมอนให้เกิดได้บ่อยขึ้น ขั้นสุดท้าย แปรเปลี่ยนคนเล่นโปเกมอนเป็นรายได้

pokemon-marketing4

เมื่อเราสามารถล่อโปเกมอนมาที่ป้าย Poke-Stop ที่เราต้องการได้แล้ว ขั้นต่อไปที่เราต้องทำคือโปรโมทว่าร้านค้าของเรามีป้าย Poke-Stop พร้อมติดตั้ง Lure Module ล่อโปเกมอนให้คนได้รับทราบ  ซึ่งเทคนิคการโปรโมทของแต่ละร้านก็คงแตกต่างกันไป เช่น ใช้ช่องทางโซเชียลอย่าง Facebook หรือ Instagram จากนั้น เมื่อมีคนเข้ามาเล่น Pokemon Go ที่ร้านของเราแล้ว ที่เหลือก็คือเปลี่ยนคนเหล่านี้เป็นลูกค้า ด้วยโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ร้าน กาแฟอาจออกโปรโมชั่น เล่น Pokemon ให้ส่วนลดพิเศษ 10% หรือถ้ามาเล่นกันเป็นกลุ่ม 3 คนขึ้นไป ให้ส่วนลดเพิ่มอีก เป็นต้น

และนี่คือกรณีศึกษา ตัวอย่างแบรนด์และร้านค้า ที่จัดโปรโมชั่นเอาใจคนเล่น Pokemon Go ในบ้านเรา

ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ athomeproperty

จัดกิจกรรม athomeproperty ชวนทำกิจกรรมจับ Pokemon Go.ชวนเพื่อนๆ แฟนเพจ / ลูกค้า / ตัวแทนนายหน้าในสังกัด เข้าเยี่ยมชมบ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในลิสต์เวปของ athomeproperty แล้วจับ pokemon ส่ง capture หน้าจอ ส่งบน facebook fanpage และแชร์ ลุ้นรับเสื้อ bekloth สวยทันสมัย

pokemon-marketing5

 

ธุรกิจนำจับโปเกมอน “PokeWalk” ในต่างประเทศ

ที่จะทำให้ผู้ที่ไม่ว่างออกไปจับเหล่าโปเกมอนนั้นออกไปตามล่าจับโปเกมอน ราคาเริ่มต้นนั้นอยู่ที่ 10 เหรียญสหรัฐ กับระยะการเดิน 2 กิโลเมตร, ราคา 15 เหรียญสหรัฐ กับระยะการเดิน 5 กิโลเมตร และสุด ท้าย ราคา 20 เหรียญสหรัฐ กับระยะการเดิน 10 กิโลเมตร ถือว่าเป็นธุรกิจแปลกๆ ที่เกิดขึ้นกับกระแสฟีเวอร์ของ Pokemon GO นี้

pokemon-marketing6

ธุรกิจนำเที่ยวอย่าง Take Me Tour

(เว็บไซต์สื่อกลางระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนพาเที่ยวในพื้นที่) ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาค้น หาและจองทริปผ่านระบบเว็บไซต์ได้ ด้วยแคมเปญ Pokemon GO ทาง TakeMeTour เลยจัดทัวร์พาจับ Pokemon พร้อมเที่ยวชม กรุงเทพฯ ไปพร้อมกัน เริ่มต้นที่ 10 โมงเช้านัดเจอกันที่สถานี BTS พญาไท หรือ สยาม เดินเที่ยวพร้อมจับ Pokemon ในสยาม และเดินทางต่อไปที่พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว สนามหลวง และไปยังย่านเยาวราช

pokemon-marketing7

ธุรกิจรถเช่าอย่าง Uber และ Grab Uber Thailand ก็ไม่ปล่อยโอกาสนี้เช่นกัน ปล่อยแคมเปญ uberGO ส่งคนมารับถึงหน้าบ้านพา ไปจับ Pokemon ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมบริการตลอดทาง เล่นได้แบบไม่ต้องเกรงใจตลอดทั้งสัปดาห์

pokemon-marketing8

ส่วน Grab มาพร้อมส่วนลด 50% ใช้ได้สูงสุดคนละ 3 ครั้ง สำหรับ GrabTaxi, GrabCar และ GrabBike เพียงใส่โค้ดโปรโมชั่นว่า “POKEMON” ตั้งแต่วันนี้ถึง 12 สิงหาคมนี้

pokemon-marketing9

ธุรกิจร้านอาหาร ชาบูเพนกวิน ที่อาศัยความเร็วเอาโปเกมอนมาผูกกับร้าน โดยกระตุ้นให้ลูกค้ามาที่ร้านเพื่อจับโปเกมอน แลกกับส่วนลดในการทานอาหาร mechanic การเล่นเกมง่ายๆ แค่ให้อยู่ภายในร้าน

pokemon-marketing10

เมื่อมีผู้คนมาเล่น มาใช้ชีวิต เกิดการเดินทาง เกิด traffic แล้ว ที่เหลือผู้ประกอบการก็สามารถเปลี่ยน traffic ดังกล่าวให้เป็นรายได้ ได้ ซึ่งถ้าทำได้ก่อนก็สามารถที่จะโปรโมทธุรกิจโดยใช้ แนว Pokemon นี้สร้างการจดจำให้และประชาสัมพันธ์แก่ลูกค้าต่อไป และนี่ ยังเป็นเพียงตัวอย่างผู้ประกอบการที่หัวไว คิดไว หลังจากที่ pokemon เข้ามาเปิดตัวในบ้านเรา ทางผู้เขียนเชื่อว่า ในระยะต่อมาจะ เริ่มมีผู้ประกอบการอีกหลายเจ้าและหลายประเภทธุรกิจเริ่มใช้ไอเดียนี้ในการดึงลูกค้าเข้าร้านเป็นแน่ แต่ในทางธุรกิจหากใครทำ ก่อนผู้นั้นได้เปรียบกว่า ทางผู้เขียนจึงเร่งเขียนบทความนี้เพื่อผู้ประกอบการธุรกิจ sme หรือ startup ให้ได้เข้าใจและได้ทำก่อนและประสบความสำเร็จก่อนเช่นกัน

 

ขอขอบคุณบทความจาก

อ.ดร. นิรุทธ์ พรมบุตร (Ph.d.Management)

อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.อดีตผู้ช่วยคณบดี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.ฝ่ายวิจัยและระบบสนับสนุน, งานกายภาพและอาคารสถานที่วศ.บ.ไฟฟ้า(เกียรตินิยม อันดับ 1) วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดลวศ.ม.ไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์Ph.d. Management IAME.ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้ง บริษัท เครือแอทโฮม จำกัดวิทยากรรับเชิญ อบรม การจัดการอสังหาริมทรัพย์ของ athomeproperty.netผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษารับเชิญ DDproperty.comผู้เขียนบทความรับเชิญ ddproperty, TMB, ประชาชาติธุรกิจอ. ปรัชญ์ สง่างามอาจารย์ประจำ กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดลวศ.บ. (เครื่องกล) วิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยมหิดล วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยมหิดล เทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศPh.d (Candidate) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล


  • 651
  •  
  •  
  •  
  •