เป็นอีกหนึ่งปีที่อินฟลูเอนเซอร์ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่การเติบโตของจำนวนอินฟลูเอนเซอร์ และการใช้อินฟลูเอนเซอร์สำหรับการทำการตลาด แม้ภาพรวมจะมีทิศทางที่ดี แต่ในมุมของผู้บริโภคกลับมีความรู้สึกที่เปลี่ยนไป คือ ไม่ได้เชื่อในสิ่งที่ Power Influence พูดในทันที แต่ต้องอาศัยการรีวิวของอินฟลูเอนเซอร์ระดับ Macro Influencer และ Micro Influencer ร่วมด้วย เพราะผู้บริโภคมีกระบวนการตัดสินใจซื้อที่มากขึ้น และต้องการความจริง คือใช้สินค้าจริงและสินค้าต้องดีจริง ไม่ใช่แค่เห็นคนสวยหล่อยืนโพสต์ท่าพร้อมผลิตภัณฑ์แล้วจะเชื่อในตัวสินค้าอีกต่อไป
คุณอนุพงศ์ จันทร ผู้บริหาร Revu เว็บไซต์ Review Platform ผู้ให้บริการในประเทศไทย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาน เปิดเผยอินไซด์ที่น่าสนใจ ดังนี้
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีผลต่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์
- ผู้บริโภคให้ความเชื่อถืออินฟลูเอนเซอร์สูงถึง 92% แม้เขาจะไม่รู้จักแบรนด์เลยด้วยซ้ำ
- กว่า 70 % เชื่อการการรีวิวบนแพลตฟอร์มออนไลน์
- ผู้บริโภคนิยมอ่านบล็อกเพื่อติดตามเทรนด์กว่า 47%
- ผู้บริโภคค้นพบผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านบล็อก 35%
- ผู้บริโภคเพศหญิงกว่า 20% ได้รับแรงจูงใจจากโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย
เทรนด์การสร้างคอนเทนต์ด้านการตลาดในแต่ละปี
- ปี 2015 เริ่มจาก Buzz หรือการสร้างกระแส เช่น การทำไวรัลคลิป
- ปี 2016 โซเชียลมีเดียจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ แบรนด์เริ่มใช้เพจออนไลน์ดังๆ ช่วยในการโปรโมทสินค้า
- ปี 2017 Facebook มีการปรับฟีตและการนำเสนอโฆษณาจากเพจให้น้อยลง ส่งผลให้บทบาทของเพจลดลง ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ Power Influence มีการเพิ่มขึ้นและหลายคนเติบโตจนมีชื่อเสียง ทำให้แบรนด์มุ่งไปยัง Power Influence มากขึ้น
- ปี 2018 ผู้บริโภคเริ่มมีความตระหนักรู้และคิดวิเคราะห์มากขึ้น เข้าใจว่าไม่ใช่ทุกผลิตภัณฑ์ที่อินฟลูเอนเซอร์ใช้จริง ส่วนหนึ่งเกิดจากการจ้างของแบรนด์ จนทำให้ผู้บริโภคเกิดหันเหความสนใจไปโฟกัสกลุ่ม Macro Influencer และ Micro Influencer มากขึ้น เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าว่า สิ่งที่ Power Influence กล่าวมาเป็นจริงมากน้อยขนาดไหน
- ปี 2019 ผู้บริโภคต้องการความจริงจากการรีวิว คือ ต้องเป็นบุคคลทั่วไปเหมือนเพื่อนให้คำแนะนำ เกิดการใช้งานจริง สินค้าต้องดีจริง ทำให้ Macro Influencer และ Micro Influencer ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้บริโภคใช้อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยประกอบการซื้อสินค้า
ผู้บริโภคจะซื้อหรือไม่ซื้อ ต้องผ่านทฤษฎีการเสิร์ช 3 ครั้ง
คนเริ่มจะเชื่อหรือซื้อสินค้าหรือไม่นั้น ต้องผ่านทฤษฎีการเสิร์ช 3 ครั้งเสียก่อน เช่นกรณีมีสินค้ากำลังเป็นกระแส ครั้งแรกผู้บริโภคจะเสิร์ชหาเว็บไซต์และเฟซบุ๊กของแบรนด์ก่อน เสิร์ชครั้งที่สองของผู้บริโภคจะมุ่งไปหาข้อมูลจากบล็อกเกอร์ดังว่าเคยรีวิวสินค้าตัวนี้หรือเปล่า ครั้งที่สามจะเสิร์ชหาคนผู้ใช้งานจริงๆ อย่าง Macro Influencer และ Micro Influencer นั่นเอง
จึงเกิดคำถามว่า การโปรโมทสินค้าหนึ่งชิ้น ใช้ Macro Influencer และ Micro Influencer อย่างเดียว Success ไหม ต้องตอบว่าไม่อย่างแน่นอน เพราะอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มดังกล่าวมีผู้ติดตามหลักพันหรือหลักหมื่นเท่านั้น แต่จะนิยมใช้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขายในตอนสุดท้าย และซัพพอร์ทในส่วนของการทำ SEO
สรุปได้ว่า ในการทำการตลาดแง่การรีวิวสินค้า แบรนด์จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือเสียก่อน และต้องสื่อสารผ่าน Power Influence และ Macro Influencer หรือ Micro Influencer ร่วมด้วย
Revo แพลตฟอร์มในเครือบริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด ปัจจุบันเป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งด้าน Micro Influencer Platform ในประเทศไทย มีนักรีวิวมากกว่า 11,000 คน ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 15,000 คน
ไม่เพียงเท่านั้น เพื่อตอบโจทย์แบรนด์ยุคใหม่ Revu ยังมีแผนจะจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยมาในชื่อ Revu Family ที่จะเปิดให้บริการใน 6 ตลาดสำคัญของเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ เกาหลีใต้, ประเทศไทย, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม พร้อมนักรีวิวบนแพลตฟอร์มกว่า 500,000 คน ส่งผลให้แบรนด์ที่ต้องการบุกตลาดต่างประเทศสามารถเข้าถึงไมโครอินฟลูเอนเซอร์ของประเทศนั้น ๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น
“การขยายตลาดไมโครอินฟลูเอนเซอร์ออกสู่ระดับภูมิภาคช่วยให้แบรนด์ทำการตลาดได้ลึกซึ้ง และเหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้นๆ มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยจะเน้นการรีวิวผ่านบล็อกเป็นหลัก แต่ในเวียดนามนิยมรีวิวผ่านเฟซบุ๊ก หรือไต้หวันที่นิยมรีวิวผ่านอินสตาแกรม เป็นต้น การที่แบรนด์สามารถเข้าถึงไมโครอินฟลูเอนเซอร์ของแต่ละประเทศ ทำให้ข้อมูลของสินค้าหรือบริการได้รับการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่บนช่องทางที่ถูกต้องนั่นเอง”คุณอนุพงศ์ จันทร ผู้บริหาร Revu กล่าว