4 วิธีชำระเงิน ลดความเสี่ยง เลี่ยงโดนโกง

  • 32
  •  
  •  
  •  
  •  

TMB-1

การค้าขายคือรูปแบบการทำธุรกิจที่เรียบง่ายที่สุดในการสร้างรายได้ ยิ่งประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีสินค้าแบรนด์ไทยจำนวนไม่น้อยที่โด่งดังได้รับความนิยมไปไกล ทั่วโลก สิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมีหลายปัจจัย เช่น การศึกษาตลาด การกำหนดราคา การหาพันธมิตร และเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น ก็ต้องมีการชำระเงินระหว่างประเทศ

เพื่อส่งเสริมให้การซื้อขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันเหตุไม่คาดฝัน จึงเสนอ 4 วิธีชำระเงิน ถูกใจเขา ถูกใจเรา เมื่อค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ SMEs ควรรู้เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ

1) จ่ายก่อน สินค้ามาทีหลัง หรือ การชำระเงินล่วงหน้า (Advance Payment)
เมื่อผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันว่า ผู้ซื้อจะโอนเงินให้ผู้ขายก่อน จึงจะมีการจัดส่งสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องมาให้ผู้ซื้อ มักใช้กับสินค้าที่มีราคาไม่สูงมาก สินค้าหายาก ซึ่งผู้ขายมีอำนาจต่อรองสูง มีเครดิต หรือมีความน่าเชื่อถือ

TMB-2

2) สินค้ามาก่อน จ่ายเงินทีหลัง หรือ เปิดบัญชีขายเชื่อ (Open Account)
ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อชำระเงินภายหลังได้รับสินค้า หรือหลังการขนส่งเป็นเวลา เช่น 30-60 วัน โดยผู้ขายจะส่งสินค้าและเอกสารให้ผู้ซื้อโดยตรงเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถนำสินค้าออกจากท่าเรือหรือสนามบินมาขายก่อน ซึ่งผู้ขายมีความเสี่ยง เพราะต้องรอการชำระเงินตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

TMB-3

3) ฝากธนาคารช่วยจัดการเอกสาร หรือ ตั๋วเงินเพื่อการเรียกเก็บที่มีเอกสารประกอบ (Documentary Bill for Collection หรือ BC)
จาก 2 วิธีแรก ผู้ซื้อกับผู้ขายมีการติดต่อกันโดยตรงและใช้บริการธนาคารเรื่องการโอนเงินเท่านั้น แต่วิธีที่ 3 ผู้ขายจะนำเอกสาร Shipping Document มาฝากให้ธนาคารฝั่งผู้ขาย ส่งไปธนาคารฝั่งผู้ซื้อ ให้เป็นผู้เรียกเก็บเงินจากผู้ซื้ออีกต่อหนึ่ง โดยธนาคารจะรับผิดชอบส่งมอบเอกสารให้ผู้ซื้อเมื่อมีการชำระค่าสินค้าให้ธนาคารก่อน หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ยื่นหมูยื่นแมว

TMB-4

4) เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)
L/C คือตราสารที่ธนาคารออกให้กับผู้ขาย โดยการร้องขอหรือตามคำสั่งของผู้ซื้อว่าถ้าผู้ขายยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามที่ L/C ระบุแล้ว ธนาคารก็จะจ่ายเงินให้ทันที หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนว่า ผู้ซื้อจะไปขอให้ธนาคาร เปิด L/C ไปยังผู้ขาย จากนั้นผู้ขายก็จะจัดส่งเอกสารเพื่อใช้ในการออกสินค้าให้ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ใน L/C แล้วส่งมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อขอให้จ่ายเงิน

วิธีการนี้ผู้ขายจะมั่นใจได้ว่า ถ้าจัดส่งเอกสารเพื่อใช้ในการออกสินค้าให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุใน L/C ทุกประการ ผู้ขายจะได้รับเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C ผ่านธนาคารในประเทศของตน ส่วนผู้ซื้อเองก็มั่นใจว่าจะได้รับเอกสารที่ครบถ้วนถูกต้องถึงจะจ่ายเงินออกไป

TMB-5 TMB-6

การชำระเงินทั้ง 4 วิธี มีข้อดี ข้อเสีย หรือจุดเสี่ยงแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกต้องมีความเข้าใจในแต่ละวิธีเป็นอย่างดี เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจและคู่ค้า โดย TMB เดินหน้าสู่การเป็นธนาคารเพื่อธุรกรรมระหว่างประเทศสำหรับลูกค้าธุรกิจ และมุ่งเน้นสนับสนุน SMEs ให้สามารถทำธุรกรรมด้านการค้าระหว่างประเทศได้อย่างง่ายขึ้น

ล่าสุด เปิดบริการ “สายด่วน SME เพื่อการโอนเงินตราต่างประเทศ และนำเข้า-ส่งออก โทร. 02-676-8030” (TMB SME FX & International Trade Hotline) ซึ่ง SMEs สามารถโทรเข้ามา เพื่อรับคำปรึกษาด้านบริการโอนเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ธุรกรรมระหว่างประเทศ และคำแนะนำเรื่องวงเงินสินเชื่อเพื่อการนำเข้า-ส่งออก เพื่อจะทำให้เราเข้าใจและ       ไม่พลาด เพิ่มความมั่นใจในการทำธุรกิจ

“สายด่วน SME เพื่อการโอนเงินตราต่างประเทศและนำเข้า-ส่งออก” พร้อมให้บริการแล้ววันนี้ โทรศัพท์ 02-676-8030 ในวันจันทร์ – วันศุกร์ ระหว่างเวลา 8.30 – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดธนาคาร

[บทความนี้เป็น Advertorial]


  • 32
  •  
  •  
  •  
  •