หนึ่งใน “แบรนด์ไทย” ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 39 ปี จะบอกว่าไม่มีใครไม่รู้จัก “มาม่า” ก็คงไม่ผิด เพราะแทบทุกช่วงวัยที่เราเติบโตกันมาต่างเคยได้ลิ้มลองรสชาติบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งเป็น สินค้าสุดแมสของ
แบรนด์มาม่ากันอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่อยู่คู่ตั้งแต่เด็กยันสูงวัย
สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ “มาม่าไม่เคยหยุดพัฒนาสินค้า” แน่นอนว่าการพัฒนารสชาติบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือการเปิดตัวสินค้า ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ไม่ได้เป็นเพียง “การต่อยอด” หรือ “เพิ่มโอกาส” ให้ธุรกิจ แต่ถือเป็นการ “สร้างการรับรู้” เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้ทุกกลุ่ม
เปลี่ยนภาพสินค้าดั้งเดิม สู่ “New Generation”
นอกจากความสำเร็จตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปีนี้เราจึงได้เห็น มาม่า ขยับครั้งใหญ่! ด้วยการปรับภาพลักษณ์ Re-Image สินค้าในกลุ่ม “Oriental Kitchen” สู่การเป็น “มาม่า OK” เพื่อเจาะตลาดคนรุ่นใหม่และคนที่ชื่นชอบความพรีเมียม แต่ยังคงเอกลักษณ์ให้สามารถจดจำแบรนด์และชื่อสินค้าได้ง่ายเช่นเดิม
จุดเริ่มต้นของมาม่า Oriental Kitchen สู่ภาพลักษณ์ใหม่แบบมาม่า OK นั้น ถือเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้ 3 รสชาติ ในตระกูลมาม่า OK อย่าง รส Hot Korean, รสกุ้งผัดซอสต้มยำ และรสผัดไข่เค็ม นอกจากนั้นยังหยิบ 2 รสในตระกูล Oriental Kitchen อย่าง รส Hot & Spicy และ Korean Spices มาปรับโฉม Packaging และใช้ชื่อว่ามาม่า OK ด้วย ทำให้การพลิกโฉมมาม่า OK มาพร้อมๆกัน 5 รสชาติ ที่เป็นทั้งรสยอดนิยมและเป็นการจับกระแสความฟีเวอร์ในตลาดนำมาทำเป็นรสชาติใหม่ทั้งแบบแห้งและแบบน้ำ
จุดเริ่มต้นนี้เองที่ทำให้มาม่า เริ่มจะเผยโฉมความเป็น “New Generation” ออกมาให้เห็นกัน
รักษา “จุดเด่น” เข้าถึงง่าย แต่เพิ่มประสบการณ์ “พรีเมียม”
หากมองถึงความโดดเด่นของมาม่า ในการเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงง่ายกับราคาย่อมเยา การปั้นภาพลักษณ์ใหม่ของมาม่า OK จึงยังยึดถือเอกลักษณ์ดังกล่าวเช่นกัน แต่เติมเต็มความแปลกใหม่โดยเพิ่ม “ความพรีเมียม” ลงไป เพื่อประสบการณ์ใหม่ในการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ด้วยเส้นแบบหนานุ่มและรสชาติที่หลากหลายยิ่งขึ้น แม้ราคาจะสูงกว่ามาม่าแบบดั้งเดิม แต่เกมที่มาม่า OK เติมความพรีเมียมให้โปรดักท์นั้น ราคาจำหน่าย 15 บาท ก็ยังถือเป็นราคาที่ผู้บริโภคทั่วไปสามารถจับต้องได้ ประกอบการใช้จุดเด่นในช่วงที่มีกระแส “ไข่เค็ม” ออกมาใส่เป็นรสชาติใหม่ให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พร้อมกับการแข่งขันในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสไตล์เกาหลี
ย้ำ Key Messages ผ่านแคมเปญ “OK Generation”
ไม่ใช่แค่เรื่องของการต่อยอด เติมเต็มประสบการณ์ใหม่ในการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้น แต่สิ่งที่แบรนด์มาม่า OK พยายามสื่อสารออกไปยังผู้บริโภคนั้น มีการเลือกและปรับกลยุทธ์การทำตลาดค่อนข้างหลากหลาย หากไม่นับการต่อยอดสินค้าให้โดนใจคนรุ่นใหม่ ยังมีการใช้ประโยคเข้ามาช่วยในการสื่อสาร เช่น “แห้ง 3 น้ำ 2” เพื่อตอกย้ำรสชาติของโปรดักท์ หรือ “OK Generation เส้นหนานุ่ม อร่อยเหนียวแน่น” เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำได้ง่ายขึ้น และเข้าใจว่าจะกินแบบแห้งหรือแบบน้ำก็อร่อย มาม่า OK มีตอบโจทย์ทุกความต้องการ
ขณะเดียวกัน มาม่า OK ยังสร้างการจดจำแบรนด์ด้วยการเลือกใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็นนักแสดงขวัญใจวัยรุ่นและเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ อย่าง “เจเจ กฤษณภูมิ” เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่แบรนด์เคยใช้พรีเซนเตอร์เป็นนักแสดงชั้นนำอย่าง “อั้ม พัชราภา”, “พุฒ-จุ๋ย” และ “ใหม่ ดาวิกา” ที่เคยเป็นตัวแทนของแบรนด์ในการทำตลาดกับผู้บริโภคกลุ่มแมสมาก่อน
ต้องแข็งแกร่งทั้ง “ออฟไลน์ – ออนไลน์”
สิ่งที่เกิดขึ้นกับแบรนด์มาม่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ เริ่มต้นตั้งแต่การเปิดตัวโฉมใหม่ของวงการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผ่านรส Hot Korean และรสกุ้งผัดซอสต้มยำ ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2018 ก่อนจะต่อยอดสู่รสผัดไข่เค็ม ในช่วงปลายปีเดียวกัน กระทั่งช่วงปลายปี 2019 ที่มาม่าเริ่มต้นการเขย่าตลาดครั้งใหม่ ผ่านแคมเปญ OK Generation ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์/โฆษณาผ่านสื่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์
“ความสำเร็จ” ที่ดีต้องวัดผลได้…!
เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่แคมเปญ OK Generation พิสูจน์แล้ว เพราะหลังจากเปิดตัวแคมเปญออกไปก็พบว่า “ยอดขายของกลุ่มมาม่า OK เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก” ทั้งแบบน้ำและแบบแห้ง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับช่วงที่มีกระแสแห้งเข้ามา ก็ได้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมาม่า OK รสผัดไข่เค็ม เนื่องจากเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ถูกใจวัยรุ่น