ทุกวันนี้การใช้พรีเซ็นเตอร์ หรือแบรนด์แอมบาสเดอร์อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ บางแบรนด์ก็ต้องใช้เน็ตไอดอล หรือ Influencer ในแขนงนั้นๆ ให้มาช่วยเป็นกระบอกเสียงด้วยอีกแรง ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าผู้บริโภคบางส่วนอาจสับสนว่า ใครกันแน่คือตัวแทนของแบรนด์
ไม่ว่าคุณจะเรียกพวกเขาว่า Influencer, Blogger หรือ Brand ambassador สิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำเหมือนกันคือ การถูกว่าจ้างจากแบรนด์ ทว่า พวกเขาก็ยังถือว่าเป็นคนดัง และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเหมือนกัน คราวนี้มาดูกันว่า Influencer และ Ambassadors แตกต่างกันอย่างไร
1. Influencer
ถ้าคุณมีแผนจะว่าจ้าง Influences คุณต้องพิจารณาให้แน่ใจเสียก่อนว่าพวกเขาเหมาะกับแบรนด์ของคุณจริงๆ บางคนอาจมีแค่เว็บไซต์อย่างเดียว บางคนอาจมีหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งถ้าต้องการทุกช่องทาง ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วจะว่าจ้างกันเป็นงานๆ ไป เป็นแคมเปญระยะสั้นมากกว่า
• ความเป็นเอกลักษณ์ของ Influencer จะอยู่ที่ความเป็นตัวของตัวเอง
• ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนพวกเขาก็พร้อมที่จะปกป้องในฐานะที่แบรนด์ได้เลือกให้เป็นตัวแทน
• เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
• พวกเขามักจะใช้บล็อก หรือ Social Media เพื่อการทำธุรกิจเท่านั้น
• สามารถทำงานแทน Brand ambassador ได้เลย
• ถ้าไม่รับเงิน พวกเขาก็ทำงานเพื่อแลกกับสินค้าได้
• มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
• มีความน่าไว้วางใจ
2. Brand ambassador
Brand ambassador จะได้รับการว่าจ้างจากแบรนด์สินค้าเป็นแบบสัญญาระยะยาว ซึ่งจะแตกต่างจาก Influencer ที่เหมาะกับแคมเปญระยะสั้น ซึ่งการจ้าง Brand ambassador จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นดารา หรือคนดัง
• หน้าที่ของ Brand ambassador คือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์
• Brand ambassador จะได้รับค่าจ้างสูง
• ทำให้ Brand ambassador ต้องศึกษาข้อมูลจนมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแบรนด์ หรือสินค้า
• ด้วยความเป็นตัวแทน หรือทูตของแบรนด์ พวกเขาจะเป็นกระบอกเสียง ส่งผ่านความภูมิใจนี้ไปยังช่องทางต่างๆ
3. Blogger
บล็อกเกอร์ หรือนักเขียนก็ถือเป็น Influences เช่นกัน โดยจะวัดจากการมีส่วนร่วมของผู้ติดตาม ถ้าพวกเขาเขียนบล็อก แบรนด์ก็ต้องคอยดูว่ามีคนให้ความสนใจมากแค่ไหน แน่นอนว่า ยิ่งมากก็ยิ่งดี
• บางคนอาจเขียนบล็อกเป็นงานอดิเรก หรือเป็นงานประจำที่ทำจากที่บ้านก็ได้
• บล็อกเกอร์บางคนต้องการแรงจูงใจในการทำงาน พวกเขาค่อนข้างเลือกงานที่จะเข้ามา
• พวกเขาต้องมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน หรือไม่ก็ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายร่วมกับแบรนด์
• บางคนรับค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือสินค้า
• และบางคนก็ต้องการแค่การยอมรับ หรือสร้างการรับรู้
• ระดับความรู้ ความสามารถของบล็อกเกอร์ จะแตกต่างกันไปตามความถนัด หรือหัวข้อนั้นๆ
• แม้จะไม่ได้โด่งดังเหมือนเน็ตไอดอล หรือดารา แต่บล็อกเกอร์ก็พร้อมที่จะให้ความรู้ และข้อมูลแก่ผู้อ่าน
4. Advocates (กองเชียร์)
จากข้อมูลของ nuttaputch.com ได้กล่าวว่า Brand Advocate นั้นมีผสมกันไปทั้งคนดังบ้างและคนธรรมดาบ้าง แต่ที่น่าจะเป็นจุดเด่นของคนกลุ่มนี้คือการเป็น “กองเชียร์” ให้กับแบรนด์ที่ตัวเองรักโดยที่แบรนด์ไม่ต้องออกเงินเพื่อทำการว่าจ้างให้ช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการแต่อย่างใด ซึ่งต่างจากรูปแบบของ Influencer
ซึ่งกองเชียร์กลุ่มนี้จะเป็นแฟนพันธ์แท้ และมีส่วนร่วมกับแบรนด์อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะมีกิจกรรมอะไร พวกเชาก็จะเข้าร่วมด้วย พร้อมกับชักชวนเพื่อนๆ หรือครอบครัวให้มาร่วมด้วย
5. แฟน
สำหรับแฟนๆ ของแบรนด์ บางคนอาจไม่ใช้ Social Media แต่พวกเขาจะซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ และเป็นลูกค้าที่ดี
• เมื่อแบรนด์ต้องการข้อเสนอแนะ พวกเขาก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ
• แฟนๆ บางคนอาจสลักชื่อแบรนด์อยู่ในใจตลอดเวลา แม้จะไม่แสดงออก
• ต้องการมีส่วนร่วม และตอบสนองต่อทุกกิจกรรม
• อย่าคาดหวังเรื่องสิ่งตอบแทนจากพวกเขา
• คนที่มีอิทธิพลต่อคนกลุ่มนี้คือ เพื่อน