JARKEN ผู้ให้บริการชั้นนำด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม และการก่อสร้าง ทั้งที่อยู่อาศัยโครงการเชิงพาณิชย์ และการบริการที่โดดเด่น รวมถึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในระดับกลุ่มพรีเมี่ยมได้เป็นอย่างดี ด้วยวิสัยทัศน์ของความเป็นมืออาชีพที่พิถีพิถันใส่ใจในรายละเอียด และความชัดเจนในการออกแบบ ทำให้ JARKEN ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาแล้วมากมาย ทั้งการก่อสร้างอาคารสูง โรงงาน โชว์รูม คอนโดมิเนียม โรงแรม ในไทยและต่างประเทศ
จากประสบการณ์การดำเนินธุรกิจมา 12 ปี JARKEN ได้จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของสภาวะสังคมและเศรษฐกิจตลอดเวลา และได้ทำการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับสังคม ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องมือการสื่อสารต่างๆ จนเข้าสู่ยุคสังคมออนไลน์อย่างเต็มตัว ซึ่งความสำเร็จของการทำธุรกิจในช่วงนี้มีทิศทางที่ดีอย่างก้าวกระโดด ทำให้ JARKEN ที่นำโดย ดร.กุลเดช สินธวณรงค์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท จารเค็น จำกัด ได้ตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์แนวทางการทำงานมาเป็น Think Global, Act Local หรือการผสมผสานกระแสทางความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมความเป็นสากลและท้องถิ่น (Glocality) เข้าด้วยกัน
แม้ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเอง ฉลาดคิด ฉลาดเลือกมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ยังคงเสพย์ความเชื่อ และตามกระแสโลกอยู่ (Global Trend) ทำให้หลากหลายแบรนด์ใหญ่จากต่างประเทศหันมาทำแคมเปญที่ให้สังคมมีส่วนร่วมกับแบรนด์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การออกแบบร้าน Pop-up store ของกาแฟ illy คอลเลคชั่นแนว Street Art ของ Prada รวมถึง แบรนด์แฟชั่น Roberto Cavalli ที่เริ่มออกมาทำเฟอร์นิเจอร์และอินทีเรียร์ดีไซน์ หรือแม้แต่วิศวกรอย่าง Tom Dixon ก็ออกมาทำเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน และบริษัทสถาปนิก ทั้งนี้ Glocality คือการทำให้แบรนด์เข้าไปถึงสัมผัสถึงมือผู้บริโภค โดยไม่ต้องรอให้ผู้บริโภคเข้าหาหรือเดินตามหาแบรนด์
เจาะลึกกลยุทธ์ Think Global, Act Local ของ JARKEN ใน 3 ปีนี้
จะเน้นขับเคลื่อนให้งานดีไซน์ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคนในสังคม ด้วยการ เชื่อมโยง-ปรับเปลี่ยน-แชร์ต่อ ความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ในโลก ไม่ว่าเอเชีย ยุโรป หรืออเมริกา ออสเตรเลีย ให้คนไทยเข้าใจ ผ่าน 3 วิธี ดังนี้
1. สร้างแรงบันดาล และประสบการณ์จากการเดินทาง (Inspiration and education)
สนับสนุนให้สถาปนิกและนักออกแบบออกจากกรอบความคิดเดิมๆ ของตัวเอง ให้เปิดรับและเรียนรู้วิธีคิด วิถีการทำงานจากสิ่งใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบของงานเจรจาการค้า งานธุรกิจออกแบบ งานแสดงสินค้า งานดูงาน การฝึกงานในต่างประเทศ การเรียนรู้การทำงานในต่างประเทศกับนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ระดับโลก นักกราฟฟิกดีไซน์ และสถาปนิกชื่อดัง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสมาคมการค้าที่เกี่ยวกับการออกแบบทั้งในอังกฤษ อเมริกาและยุโรป รวมถึงการเดินสายโรดโชว์ต่างประเทศในรูปแบบของการประกวดรางวัล เพื่อหาความสมดุลทางวัฒนธรรมระหว่างความเป็นระเบียบแบบแผนอย่างวัฒนธรรมสิงคโปร์ ยุโรป หรืออเมริกา (Global) มาพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมต่อกับความไร้ระเบียบแบบแผน แต่มีเสน่ห์ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน (Local) ซึ่งจะช่วยให้สถาปนิก และดีไซเนอร์ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ พัฒนาศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ต่อวงการออกแบบและต่อผู้บริโภคมากขึ้น
2. กระจายงานดีไซน์เข้าสู่ในชุมชน และสังคม
เข้าไปส่งเสริม ตอบแทน และมีส่วนร่วมกับคนในสังคมทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัดผ่านทางโครงการต่างๆ โดยที่ผ่านมา JARKEN ได้ผุดโครงการสถาปัตย์บำบัดที่ได้ร่วมกับทีมแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลชั้นนำของไทย นำองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรม และทางการแพทย์มาช่วยฟื้นฟูอาการเจ็บป่วย ให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ โดยการปรับสภาพแวดล้อมในที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย และมีชีวิตที่ดีขึ้น
อีกทั้งยังมีโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในให้กับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ให้กลายเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของจังหวัด และภาคเหนือตอนล่าง อีกทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุภายในที่อยู่อาศัย เพื่อเปลี่ยนมุมมองของแบรนด์ JARKEN จากของเรา (ours) เป็นของทุกคน (theirs) เปลี่ยนจากที่นี่ (here) เป็นที่ไหนก็ได้ (anywhere) และทำผู้บริโภคทุกคนเข้าถึงสัมผัสได้ถึงวัฒนธรรมงานดีไซน์ในแบบอื่นๆที่มีประโยชน์กับส่วนรวม ไม่ใช่แค่ความสวยงาม ความชอบ หรือสไตล์ใดๆ อีกต่อไป
3. เพิ่มช่องทางและวิธีการสื่อสาร
ปรับภาษาของสถาปนิก และดีไซเนอร์ที่มักจะเข้าใจยากและซับซ้อน ด้วยวิธีการสื่อสารในรูปแบบใหม่ นำเสนอเรื่องราวที่บริโภคอยากฟังให้เข้าใจง่าย และส่งเสริมให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญและได้ประโยชน์จากงานออกแบบ ไม่ใช่แค่ในเรื่องของส่งเสริมการทำธุรกิจที่ตีค่าด้วยเม็ดเงิน แต่รวมถึงคุณค่าทางจิตใจ ที่ก่อให้เกิดความสุข ความสบายใจ ความผ่อนคลายที่หาซื้อที่ไหนไม่ได้ นอกจากนี้ JARKEN ยังเพิ่มช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบรวมถึงการใช้โซเชียลมีเดียให้เข้าถึงแต่ละชุมชน
ตั้งเป้าเติบโต 15% ภายในปี 2560
JARKEN ตั้งเป้าหมายการเติบโตในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 15% ของยอดรายได้ปีที่ผ่านมา หรือ 500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 80% สำหรับธุรกิจในปัจจุบัน และ 20% สำหรับธุรกิจใหม่ และตั้งเป้า 600 ล้านบาทภายในปี 2560
ด้วยโรดแมปนี้จะช่วยให้ JARKEN เดินหน้าสู่ความเป็นดีไซน์แบรนด์อย่างเติมตัว จากการขยายธุรกิจการให้บริการงานออกแบบสถาปัตยกรรม-สถาปัตยกรรมภายใน งานรับเหมาก่อสร้าง งานกราฟฟิกดีไซน์ ที่ปรึกษาการพัฒนาแบรนด์สินค้าและบริการ สู่ผลิตภัณฑ์ประเภทเฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น และไลฟ์สไตล์ต่างๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการ และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในยุคสังคมนี้ได้อย่าง 360º อีกทั้งการขยายฐานลูกค้าสู่ AEC และต่างประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น
เรียกได้ว่ากลยุทธ์ Think Global, Act Local ของ JARKEN ได้กลายเป็นการดีไซน์แบรนด์สินค้ าและบริการทางเลือกแรกๆ ที่ผู้บริโภคนึกถึง และยังครอบคลุมถึง “Solution” ของงานดีไซน์ไว้รวมกันได้อย่างครบถ้วน ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหนือชั้น