[How to] 8 วิธี ใช้ Social Media อย่างไรไม่ให้เจ๊ง

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

1409320118-5-social-media-mistakes-avoid-pitfall-hilight

ปัจจุบัน Social Media เป็นสื่อออนไลน์ เป็นช่องทางที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจอย่างมาก ทั้งช่วยในเรื่องการจำหน่ายสินค้า การให้บริการลูกค้า และการวัดผลต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน Social Media ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ถ้าทำผิดพลาดหรือใช้งานผิด ก็จะส่งผลเสียต่อแบรนด์ได้ และนี่คือ 8 วิธี ในการใช้ Social Media แบบผิดๆ และควรหลีกเลี่ยง

1. ไม่เตรียมข้อมูล และไม่มีผู้ดูแล

นึกอยากจะโพสตอนไหนก็โพส ไม่มีเวลาที่แน่นอน ไม่ตรวจสอบข้อมูลก่อนโพสให้ดีเสียก่อน หรือแม้แต่พนักงานผู้ดูแลก็ไม่มีความใส่ใจมากพอ ด้วยปัจจัยเหล่านี้ก็จะทำให้แบรนด์ดูไม่น่าเชื่อถือในสายตาผู้บริโภค

2. เมินเฉยต่อความคิดเห็นในแง่ลบ

ถ้ามีความคิดเห็นในแง่ลบเกี่ยวกับแบรนด์ คุณเลือกที่จะไม่สนใจก็ได้ แต่ก็จะไม่ส่งผลดีต่อแบรนด์แน่นอน ทางที่ดีคุณควรทำความเข้าใจกับพวกเขาด้วยความรวดเร็ว เพื่อแสดงความใส่ใจ และความมุ่งมั่นในการบริการลูกค้า

3. ซื้อยอด Like หรือผู้ติดตาม

แม้จะมีจำนวนผู้ติดตามหลักล้าน แต่ถ้าตัวเลขเหล่านั้นมาจากการจ่ายเงิน ก็อาจทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยงได้ นั่นก็เพราะการโพส Facebook แต่ละครั้ง คุณอาจจะมี Engagement น้อยกว่าที่ควรจะได้ เมื่อเทียบกับปริมาณผู้ติดตามทั้งหมด และยังเป็นการส่งสัญญาณไปถึง Facebook ว่าคอนเท้นต์ที่คุณโพสนั้นไม่น่าสนใจ หรือไม่มีคุณค่ามากพอ

จริงๆ แล้วการมีผู้ติดตามน้อย ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี แต่กลุ่มคนจำนวนนี้จะมีคุณภาพ และมีส่วนร่วมกับการโพสของคุณเสมอ ซึ่งในระยะยาวก็จะส่งผลดีต่อแบรนด์มากกว่า

4. โพสอยู่เรื่องเดียว

การโพสเนื้อหาประเภทเดิมๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า จะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูน่าเบื่อ และไม่น่าประทับใจ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจำหน่ายอาหารทะเล ก็ไม่จำเป็นต้องโพสแต่เรื่องอาหารทะเลอย่างเดียว อาจจะนำคอนเท้นต์เรื่องสุขภาพ การออกกำลังกาย หรือเรื่องที่น่าสนใจ และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมาถ่ายทอดต่อก็ได้

5. ขายสินค้าตลอดเวลา

เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า Social Media เป็นเครื่องมือในการทำตลาดที่มีคุณภาพ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าต้องขายสินค้าอย่างเดียว หากถามว่าทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ แต่ถ้ามันมากเกินไปจนทำให้ผู้บริโภครำคาญ และ Unlike เพจของคุณ ก็มีแต่จะเสียโอกาสทางธุรกิจไป สัดส่วนที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 80/20 คือ คอนเท้นต์ 80 และส่งเสริมการตลาด 20 จึงจะพอดีที่สุด

6. ไม่มีแบบแผนการทำงาน

ถ้าคุณยังไม่รู่ว่าควรจะโพสเวลาใด โพสเรื่องอะไร ต้องใช้ภาพแบบไหน รวมถึงจะตอบสนองต่อข้อเสนอแนะ หรือคำวิจารณ์เชิงลบอย่างไร การทำคู่มือจะตอบโจทย์ได้อย่างมาก และยังทำให้ผู้ดูแล Social Media มีทิศทางการทำงานในเป้าหมายเดียวกัน อาทิ

• คำแนะนำสำหรับการตอบสนองต่อความคิดเห็นในด้านดีไม่ดี
• คำถามที่พบบ่อย
• เวลาที่ควรโพส ในแต่ละช่องทาง
• แหล่งเก็บภาพและข้อมูลที่จะนำมาใช้ได้

7. เตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้า

เชื่อว่ามีหลายองค์กรที่เตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่มักจะพบบ่อยๆ ไว้แล้ว การ Copy-Paste จะช่วยประหยัดเวลาได้ก็จริง แต่ก็ยังไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งการตอบสนองต่อคำถามเหล่านั้น ต้องมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจ และต้องตอบคำถามด้วยความระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะต้องพบกับคำวิจารณ์อันเลวร้าย

8. อย่าจับปลาหลายมือ

ปัจจุบัน Social Media นั้นมีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณต้องใช้ทั้งหมด เพราะการทำอะไรหลายอย่างพร้อมๆ กัน ก็อาจทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แทนที่จะเลือกทั้งหมด ลองพิจารณาดูว่าช่องทางไหนที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด และนำความมุ่งมั่นที่คุณมีมาปรับใช้กับการทำงาน

สุดท้ายแล้ว ถ้าไม่อยากให้เกิดความผิดพลาด ก็ควรเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ และกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงต้องเสริมสร้างองค์ความรู้ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

แหล่งที่มา

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •