เมื่อการต่อต้านสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นไปอย่างอบอุ่น “ขอบคุณจริงๆ ที่สนับสนุนงานของพวกเรา”

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

piracy

อันที่จริงแล้วปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นถือว่ามี ‘bug’ ที่ประชาคมโลกต้อง ‘fix’ กันอยู่มากพอสมควร

ส่วนตัวผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเราควรซื้อสินค้าและผลงานที่ถูกลิขสิทธิ์เพื่อสนับสนุนให้ศิลปิน นักประพันธ์เพลง ไดเรกเตอร์ ช่างกล้อง สตันท์แมน นักเปียโน เด็กยกขากล้อง และทุกชีวิตที่ร่วมสร้างสรรค์ผลงานนั้นสามารถทำมาหากินและผลิตผลงานดีๆ มาให้เราเสพกันได้ต่อไป แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งความไม่ทั่วถึงของสินค้า (อันมาจากระบบ distribution ที่ไม่ดี) ก็ทำให้เราต้องลงแดงเมื่อซีดีหรือคอนเสิร์ตที่เราชื่นชอบไม่นำเข้ามาในไทยสักที ประกอบกับหลายครั้งเราไม่รู้สึก touch กับศิลปินที่เป็นเจ้าของผลงานมากพอที่จะซื้อสินค้า ก็ไม่เคยเห็นตัวเป็นๆ นี่ จะให้ไป touch กับพวกเขาได้อย่างไร นี่ยังไม่พูดเลยไปถึงผลิตภัณฑ์ของบ้างแบรนด์ที่มีลักษณะกึ่ง monopoly หรือ duopoly เช่น Microsoft ถามจริงๆ เถอะมีสักกี่คนในประเทศไทยที่ซื้อโปรแกรมไมโครซอฟท์แบบถูกลิขสิทธิ์จริงจังครับ

ย้อนความไป ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นโฆษณาต่อต้านการซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาหลายตัว สำหรับแฟนหนังเราคงเห็นโฆษณา piracy = stealing ที่มีท่าทีดุดันทำให้คนดูรู้สึกเหมือนเป็นคนร้ายกำลังถูกตำรวจสอบสวน แต่ผลตอบกลับกลับไม่ดีเท่าไหร่นักเมื่อผู้บริโภครู้สึกว่าพวกเขากำลังถูก “ข่มขู่” อยู่ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้สร้างสรรค์งานบางคนทำโฆษณาขึ้นมาค้านอีกต่างหาก

โฆษณาต่อต้านการซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

httpv://youtu.be/jxtoaTF9hu8

โฆษณาที่กลุ่มผู้สร้างสรรค์งาน Question Copyright ทำขึ้นมาคัดค้าน (แถมน่ารักซะด้วย)

httpv://youtu.be/IeTybKL1pM4

ไอเดียการทำโฆษณาเพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาใช้ของถูกลิขสิทธิ์จึงต้องทำอย่าง “ละมุนละม่อม” และ touch ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด โฆษณาใหม่จากสิงคโปร์ Anti-Piracy Ad Campaign 2014 เป็นตัวอย่างที่ดีที่ไม่ “ข่มขู่” ผู้บริโภค แต่ทำให้พวกเขาตระหนักว่าพวกเขามีส่วนสำคัญแค่ไหนในการพัฒนาวงการและตระหนักว่าศิลปินผู้อยู่เบื้องหลังผลงานทุกชิ้นล้วนแล้วแต่เป็นคนธรรมดาที่ต้องทำมาหากินเช่นเดียวกับพวกเขา

httpv://youtu.be/otQufmwW3N4

มาร์เกตเตอร์คนไหนต้องทำงานเกี่ยวกับการรณรงค์ลองเอาไอเดียของพวกเขาไปใช้ได้นะครับ เพราะการโน้มน้าวที่ดีที่สุดคืออ้อมกอดและการให้รางวัล ไม่ใช่การข่มขู่และทำให้พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัย


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง