โอละพ่อ? ศึก AirAsia VS NokAir ภาพจริงหรือตัดต่อ?

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

air-asia-vs-nok-air

 

ภาพจาก Thailanddee

อยู่ดีไม่ว่าดี แบรนด์สายการบิน low cost ชื่อดังสองแบรนด์ก็ตกเป็นประเด็นให้โลกโซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์อย่างเอิกเกริกหลังมีภาพป้ายโฆษณา “ณเดชน์ติดใจแอร์เอเชีย…แต่ขึ้นนกแอร์” หลุดออกมาว่อนเน็ต โดนเนื้อหาภาพถ่ายเกี่ยวกับกลยุทธ์ Ambush Marketing เริ่มจากแบรนด์ Air Asia ขึ้นป้ายโฆษณาที่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งพร้อมโฆษณาว่า “ณเดชน์ติดใจแอร์เอเชีย” ก่อนที่จะมีป้ายโฆษณาของ NokAir มาขึ้นต่อที่อาคารข้างๆ พร้อมข้อความ “แต่ขึ้นนกแอร์” โฆษณาดังกล่าวกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า NokAir กำลังพยายามเปิดศึกกับ Air Asia โดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมแล้วหรือไม่

 

จุดเริ่มต้นของกระแสน่าจะเกิดจากเพจ Facebook ของ Marketing Hub ซึ่งต่อมามีคนแชร์และไลค์รวมยอดเกือบหมื่นคน พร้อมแพร่กระจายไปยัง Twitter และบอร์ด Pantip ภายในเวลาไม่นาน

 

marketing hub

ภาพจาก Facebook Marketing Hub

twitter

ภาพจาก Twitter: ไบรอัน ช่างสรรหา

 

pantip

ภาพจาก Pantip 

จากนั้นยังมีการลงภาพ update ซึ่งเหมือนเป็นการตอบโต้จาก Air Asia อีกระลอก โดยมีข้อความว่าพรีเซนเตอร์ณเดชน์ออกมาพูดต่อว่า “ผมขึ้นไปบอกว่านั่งแอร์เอเชียกัน…ดีกว่า” โดยดูเผินๆ ก็เหมือน Air Asia ตอบรับสารท้ารบครั้งนี้ (แต่ผมว่าภาพ update น่าจะเป็นการตัดต่อเชิงแนะนำให้แบรนด์ตอบโต้กลับไปแบบนี้มากกว่า)

 

1015743_10152270543475407_775460705_o

ภาพจาก Facebook

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีผู้ออกมาโต้แย้งว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพตัดต่อ โดยทวิตเตอร์ของคุณ Meng Vajirasakdabong ระบุภาพดังต่อไปนี้

 

twitter2

 

สุดท้าย ผมขอสรุปว่าภาพที่กำลังถกเถียงกันอยู่นั้นอาจเป็นภาพจริงหรือภาพตัดต่อก็ได้ ดังนั้น ควรรอดูสถานการณ์หรือรอฟังคำแถลงจากทั้งสองบริษัทก่อนตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อครับ แต่โดยส่วนตัวผมไม่คิดว่ามาร์เกตเตอร์ไทยจะอยากทำ Ambush Marketing โดยเฉพาะกับธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำที่มีการแข่งขันด้านราคาสูงอยู่แล้ว (คือมีความเป็น Red Ocean ค่อนข้างสูง “เลือดไหลทะลักทะเล” กันอยู่ในขณะนี้) ยิ่งกว่านั้น ทั้งสองแบรนด์ล้วนแล้วแต่มี loyalty consumers เป็นฐานอยู่จำนวนหนึ่ง การสร้างบรรยากาศห้ำหั่นกันขนาดข้างต้นอาจทำให้แฟนคลับของแต่ละฝ่ายออกมาโจมตีแบรนด์กันและกัน ก่อให้เกิด “บาดแผล” ที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุม ส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์สายการบินที่มีธรรมชาติเป็น Global Brand อยู่แล้ว ผมว่าไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่นะครับ (ยิ่ง Air Asia น่าจะโดนหนักเลยหากเกิดการโจมตีแบรนด์เนื่องจากค่อนข้าง Go Global ได้ระดับหนึ่งแล้ว) มากกว่านั้น การที่ Global brand (หรืออนาคต Global brand) มีท่าทีเป็นศัตรูกับคู่แข่งอย่างเปิดเผยไม่เป็นเรื่องดีนักเนื่องจากคู่แข่งของคุณอาจเก็บความโกรธแล้วตามไปเล่นงานคุณในตลาดของประเทศอื่นที่คุณจะไป ส่อแววว่ามันจะเป็นปัญหาเรื้อรังไปเรื่อยๆ ครับ

 

แล้วคุณผู้อ่านล่ะ มีความเห็นอย่างไรบ้าง แชร์ให้เราฟังหน่อยครับ


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง