สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเองให้เป็นนักการสื่อสารที่เก่งกาจขึ้น ทริคทั้ง 5 ข้อที่เว็บไซค์ข่าว PR Daily นำเสนอนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ดีขึ้น
สั้นกระชับ
ข้อความที่คุณส่งออกไปควรเกิดจากการไตร่ตรอง และจำไว้ว่าการ “พูดให้น้อยแต่กินความมาก” จะทำให้ผู้รับสารขบคิดเอง และเชื่อสิ่งที่เป็นผลผลิตจากสมองของตัว สุดท้าย เขาจะจำคุณได้มากกว่าการยัดเยียดข้อมูลทั้งหมด
มีจุดประสงค์
โฟกัสจุดมุ่งหมายของสารที่คุณสื่อออกไป คุณต้องการโน้มน้าวหรือต้องการอธิบายอะไรหรือเปล่า? มุ่งเน้นที่ประเด็นเหล่านั้นและวัดผลให้แน่ใจว่าเป้าหมายเหล่านั้นสำเร็จผล
อย่าพูดหลายประเด็น
ในหนึ่งสาร ผู้คนจะมักเลือกจดจำประเด็นที่เด่นชัดที่สุดในความรู้สึก ดังนั้นหากคุณส่งออกไปหลายสารก็เท่ากับเป็นการเสี่ยงดวงว่าผู้รับสารจะรับประเด็นไหนที่ถูกคุณโยนออกมา หากเป็นไปได้ให้เลือกคีย์เวิร์ดที่โดดเด่นที่สุดมา 3 คำที่สื่อถึงประเด็นเดียว แล้วใส่ลงไปอย่างแนบเนียนในเนื้อสารโดยไม่เจือปนกับชุดความคิดชุดอื่น
ใช้คำหรือการอุปมาที่ทำให้ผู้รับสารคิดต่อ
คำที่คุณใช้ต้องเข้ากับพฤติกรรมการสื่อสารของผู้รับสารและเป็นคำที่พวกเขาจะทบทวนความหมายของมันตลอดระยะเวลาหนึ่ง แน่นอนว่าการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคให้ถ่องแท้ถือเป็นหน้าที่หลักที่คุณต้องทำก่อนเริ่มการสื่อสาร แต่การศึกษาด้านภาษาศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
ฟังมากกว่าพูด
ฟังและทำความเข้าใจว่าผู้ฟังของคุณต้องการอะไร และจับรสนิยมผู้บริโภคว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรกับการสื่อสารของคุณ หากคุณพยายามไม่สื่อสารกับพวกเขา ผู้บริโภคจะรู้สึกได้และเริ่มไม่เชื่อถือข้อมูลที่คุณสื่อสาร “กฏแห่งการพึ่งพาอาศัย” เป็นจริงเสมอและได้ผลอย่างยิ่งในการสื่อสารสองทาง