ปรากฏการณ์นี้ เห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจากการเคลื่อนไหวของ แบรนด์ซุปไก่ ที่ในช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมานั้น จะค่อยๆเริ่มปรับรูปแบบการตลาดให้สอดคล้องกับผู้บริโภคยุคดิจิตอล
โดยเฉพาะการจุดด้อยด้านภาพลักษณ์ที่เป็นสินค้าสำหรับเยี่ยมไข้มาเป็น สินค้าที่ดูทันสมัยสำหรับลูกค้ากลุ่ม Gen-M ทีมีนิวมีเดียเป็นหัวหอก ผสานสื่อหลักและการทำกิจกรรมการตลาดที่มี เป็นพรีเซนเตอร์ที่จะทำหน้าที่ในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี
ขณะเดียวกันแบรนด์ที่ติดตลาด ได้รับความนิยมมานาน อย่าง ฮานามิ และเป๊ปซี่ บังเอิญมีพรีเซ็นเตอร์คนเดียวกันรคือ มาริโอ้ แม้ในช่วงที่ผ่านจะให้ควาสำคัญกับสื่อหลักที่เป็น แมสมีเดียมาตลอด ทว่าก็เห็นความสำคัญของการปรับตัวในการทำตลาดมาให้ความสำคัญกับการสร้างชุมชนออนไลน์ หรือเวบคอมมูนิตี้ ผสานกิจกรรมการตลาดเชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภค
ไม่เพียงแบรนด์เก่าที่ติดตลาดมานานเท่านั้น สินค้าแบรนด์ใหม่ๆที่เพิ่งเกิดขึ้นในตลาดไม่นานอย่าง วันทูคอลล์ และไอศกรีมวลอล์ ต่างก็มองเห็นความจำเป็นของการปรับวิธีการในการสื่อสารแบรนด์ที่มีลูกค้ากลุ่มวัยทีนเป็นผู้นำพาแบรนด์ไปสู่ตลาดในอนาคต
อีกทั้งหลากหลายสินค้า ที่แม้ว่าความจริงแล้วกลุ่มเป้าหมายของสินค้านั้น ๆ จะกว้างกว่ากลุ่มวัยรุ่นก็ตาม แต่เบนเข็มมาเจาะตลาดวัยรุ่นด้วย เพราะเห็นผลที่จะตามมาในอนาคต
ที่น่าสนใจคือ การตลาดผ่านสื่อนิวมีเดีย หรือดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง นับว่ามีทั้งด้านดี และด้านลบ เพราะจากเวทีต่างๆในวงการตลาด ที่ได้วิพากษ์วิจารณ์กัน
ด้านดีของ Digital Marketing คือ
- Digital Marketing ที่เป็นสื่อต้นทุนต่ำ หากมีการพัฒนาการไปเป็นสื่อกระแสหลักได้จะสามารถประหยัดงบโฆษณาได้เป็นอย่างดี
- มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่ม Gen-M ซึ่งมีลักษณะเปิดรับสื่อนี้เป็นสัดส่วนมากโดยคนกลุ่มนี้จะนำพาแบรนด์ที่ฮิตติดตลาดในวันนี้ไปถึงอนาคต
- Digital Marketing สามารถเก็บฐานข้อมูลเกี่ยวกับความชอบและความ
ต้องการของลูกค้า (Mass Customize) อีกทั้งนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ หรือประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
ทว่า ด้านลบที่มองข้ามไปไม่ได้ นั่นคือ กระแสการบอกต่อที่ผู้บริโภคพูดคุยกันถึงข้อเสียของสินค้าหรือแบรนด์นั้นเป็นไปในเชิงลบ
ดังนั้นนักการตลาดจึงมีการเฝ้าติดตามโฟกัสบนหน้าเวบต่างๆที่มีพื้นที่ให้พูดคุยแสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ด้านลบของนิวมีเดีย ในบางครั้งอาจเป็นช่องทางหนึ่งที่คู่แข่งนำมาโจมตีผ่านบทบาทของผู้บริโภค กระทั่งล้วงความลับแบบนึกไม่ถึงก็เป็นได้
ในปัจจุบันนี้แม้ว่า นิวมีเดีย ยังไม่เข้ามาแทนที่สื่อแมสมีเดียอย่างเต็มรูปแบบ โดยตัวเลขล่าสุดพบว่าคน
ไทย 66 ล้านคน ใช้มือถือ 55 ล้านคน และสัดส่วนงบการตลาดและโฆษณาผ่านนิวมีเดียเพียง 1% ก็ตาม
ทว่าพฤติกรรมของคนยุคใหม่ที่ใช้เวลาในการท่องเน็ตสูสีกับการรับสื่อทีวี ถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนปรากฏการณ์การตลาดผ่านนิวมีเดีย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆ