Garmin Thailand เปิดตัวนักวิ่งหน้าใหม่เข้าสู่ทีม #GarminTeamTH อย่างเป็นทางการภายใต้โปรเจกต์ “GARMIN ATHLETE PROGRAM” ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมแนวคิด “TRAIN SMARTER” นั่นคือการฝึกซ้อมอย่างชาญฉลาด โดยเน้นการพัฒนาจุดเด่น ควบคู่ไปกับการแก้ไขข้อบกพร่องของนักกีฬา นอกจากนี้ โปรเจกต์นี้ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างนักกีฬาที่มีทักษะ “NUMBER-CRUNCHING SKILL” หรือความสามารถในการคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปปรับปรุงการฝึกซ้อมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นในวงการกีฬาไทย ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการเก็บข้อมูลสำคัญจากการออกกำลังกาย
ประเดิมกิจกรรมแรกของโปรเจกต์ด้วยการนำนักกีฬาเข้ารับการทดสอบ VO2Max ซึ่งเป็นการวัดความสามารถของระบบหัวใจและหลอดเลือด และ Running Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ท่าทางการวิ่ง ณ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้และวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้านการกีฬาและการออกกำลังกาย การติดตามข้อมูลจะมีความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้ VO2Max และ Running Dynamics จากสมาร์ทวอทช์ของ Garmin ทำให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการฝึกซ้อมจนถึงการแข่งขันจริงได้
คุณหรรษา อาภานุกูล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด การ์มิน ประเทศไทย กล่าวว่า Garmin ให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลการฝึกซ้อมเพื่อให้นักกีฬาสามารถปรับแผนให้เหมาะสมกับตัวเอง (Collect data, track progress) เพราะเชื่อว่าการฝึกซ้อมโดยรู้จุดแข็งและเข้าใจจุดอ่อนของตนเอง หรือ TRAIN SMARTER จะช่วยให้นักกีฬาสามารถดึงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ และฟื้นฟูร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แนวคิด TRAIN SMARTER ยังจะช่วยให้นักกีฬาสามารถก้าวเข้าสู่วงการกีฬาอาชีพด้วยสภาพร่างกายที่สมบูรณ์เต็มร้อย โปรเจกต์ GARMIN ATHLETE PROGRAM จึงเป็นอีกก้าวสำคัญในการสร้างนักกีฬาที่มีทักษะ NUMBER CRUNCHING อย่างแท้จริง ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลการฝึกซ้อมมาต่อยอดและพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม
โปรเจกต์นี้มุ่งหวังที่จะบ่มเพาะนักกีฬาในทุกประเภทของ #GarminTeamTH ไม่ว่าจะเป็นนักวิ่ง นักไตรกีฬา หรือนักวิ่งเทรล ให้มีทักษะ NUMBER-CRUNCHING SKILL โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและข้อมูลที่เก็บได้จากสมาร์ทวอทช์ของ Garmin (Collect data, track progress) ด้วยความเชื่อมั่นว่าการรู้จักจุดเด่นและเข้าใจข้อบกพร่องของตนเอง หรือ TRAIN SMARTER เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้นักกีฬาสามารถอยู่ในสนามแข่งขันได้อย่างยาวนานและยั่งยืน นอกจากการส่งเสริมด้านแนวคิดแล้ว Garmin ยังมอบเงินสนับสนุน อุปกรณ์สมาร์ทวอทช์ รวมถึงแพ็คเกจการดูแลและฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร เพื่อให้นักกีฬาสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้
สำหรับการทดสอบสมรรถภาพของนักกีฬา #GarminTeamTH ภายใต้โปรเจกต์ GARMIN ATHLETE PROGRAM ในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ 1) การวัดค่า VO2Max เพื่อประเมินความสามารถของระบบหัวใจและหลอดเลือด และ 2) การวัดค่า Running Analysis เพื่อวิเคราะห์ท่าทางการวิ่งและค้นหาลักษณะที่อาจนำไปสู่การบาดเจ็บขณะวิ่ง ซึ่งจัดขึ้น ณ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
VO2Max หรืออัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด เป็นตัวชี้วัดความสามารถของร่างกายในการใช้ออกซิเจนขณะออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งสะท้อนถึงสมรรถภาพและความแข็งแรงของหัวใจและปอด หากค่า VO2Max สูง ร่างกายจะสามารถใช้ออกซิเจนได้มากขึ้น ส่งผลให้มีความทนทานและประสิทธิภาพในการออกกำลังกายสูงขึ้น อาจารย์ ดร.ทศพร ยิ้มลมัย ประธานแขนงวิชาการเสริมสร้างสมรรถนะทางการกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า การวัดค่า VO2Max สามารถทำได้หลายวิธี รวมถึงการใช้สมาร์ทวอทช์เพื่อติดตามอัตราการเต้นของหัวใจและการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยให้นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายทั่วไปทราบขีดความสามารถของตนเอง และนำไปวางแผนการฝึกซ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Running Analysis คือการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะวิ่งในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อค้นหาข้อจำกัดและพัฒนาประสิทธิภาพการวิ่งของนักกีฬา การวิเคราะห์นี้จะช่วยระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของท่าวิ่งของแต่ละบุคคล และนำไปปรับปรุงเทคนิคการวิ่งให้ดียิ่งขึ้น รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า การติดตามผลอย่างต่อเนื่อง (monitoring) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนา หากนักวิ่งมีสมาร์ทวอทช์หรืออุปกรณ์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ก็จะสามารถนำค่าต่างๆ มาวิเคราะห์และติดตามความเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองได้
คุณหรรษาอธิบายเพิ่มเติมว่า ผู้ใช้งาน Garmin สามารถเข้าถึงค่า VO2Max และ Running Dynamics ซึ่งเป็นชุดข้อมูลวิเคราะห์ท่าทางการวิ่งอย่างละเอียดได้โดยตรงจากสมาร์ทวอทช์ โดยมีตัวชี้วัดสำคัญถึง 7 อย่าง ได้แก่ เวลาที่เท้าสัมผัสพื้น (Ground Contact Time: GCT), ความสมดุลของเวลาที่เท้าสัมผัสพื้นระหว่างเท้าซ้ายและขวา (Ground Contact Time Balance: GCTB), จำนวนก้าวต่อนาที (Cadence), ความยาวของก้าว (Stride Length), การเคลื่อนที่ขึ้นลงของร่างกายขณะวิ่ง (Vertical Oscillation), อัตราส่วนระหว่างการเคลื่อนที่ขึ้นลงและความยาวของก้าว (Vertical Ratio) และพลังที่ใช้ในการวิ่ง (Running Power) การนำข้อมูลทั้ง VO2Max และ Running Dynamics มาวิเคราะห์และประมวลผล จะช่วยให้นักกีฬารู้จักและเข้าใจสมรรถภาพร่างกายของตนเองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนและปรับใช้กับการฝึกซ้อม เพื่อพัฒนาท่าทางการวิ่ง เพิ่มประสิทธิภาพ และป้องกันการบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดีอีกประการคือ การติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่องผ่านสมาร์ทวอทช์ Garmin ในทุกครั้งที่ฝึกซ้อม
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเน้นย้ำว่า “Data is a king เป็นเรื่องจริง การเริ่มต้นใช้ข้อมูลเพื่อการฝึกซ้อมตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะการนำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผนวกกับความรู้และประสบการณ์ การที่ Garmin ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์การกีฬา ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้นักกีฬาสามารถเล่นกีฬาและดูแลร่างกายของตนเองได้อย่างยั่งยืน”
ปักเป้า-วิชยา แซ่จาง นักกีฬาวิ่งสมาชิก #GarminTeamTH ภายใต้โปรเจกต์ GARMIN ATHLETES PROGRAM เล่าว่า “สำหรับนักวิ่ง การมีสมาร์ทวอทช์ที่ช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ระหว่างวิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เรารู้จุดเด่นจุดด้อย เพื่อแก้ไขหรือพัฒนาต่อยอด และนำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนการซ้อมให้เหมาะสมกับตัวเอง ผมเองก็ใช้สมาร์ทวอทช์ Garmin และนำข้อมูลมาปรับใช้กับการซ้อมจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ผมเชื่อมั่นในความมุ่งมั่นของ Garmin ในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว Garmin”
อนุชา พาดา นักกีฬาวิ่งอีกหนึ่งสมาชิกของ #GarminTeamTH กล่าวว่า “การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผม ผมเคยซ้อมวิ่งตามความรู้สึกอย่างเดียว ไม่รู้เลยว่าวันนี้ซ้อมหนักหรือเบาไป การได้รู้จักข้อมูลการวิ่งมากขึ้นจากการใช้สมาร์ทวอทช์ Garmin ทำให้ผมรู้ว่าควรแบ่งเวลาพักและเวลาซ้อมอย่างไร หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับนักกีฬาแล้วสำคัญมาก วันนี้ต้องขอบคุณ Garmin ที่ทำให้ผมรู้จักข้อมูลเหล่านี้มากขึ้น”
อิน-อินทัช จงใจจิตร นักกีฬาวิ่งสมาชิก #GarminTeamTH กล่าวว่า “การฝึกซ้อมอย่างมีวินัยเป็นสิ่งที่คนรักกีฬาให้ความสำคัญ แต่สำหรับผมแล้ว ถ้าฝึกหนัก ฝึกนาน โดยไม่มีทิศทาง อาจทำให้เหนื่อยเปล่า การเก็บข้อมูลและปรับแผนการซ้อมจึงเป็นหัวใจสำคัญ เพราะผมเชื่อว่าร่างกายที่บาดเจ็บแล้วยากที่จะกลับมาเหมือนเดิม การซ้อมโดยเข้าใจร่างกายและพักผ่อนเพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บได้”
คุณหรรษา กล่าวปิดท้ายว่า “โปรเจกต์ GARMIN ATHLETE PROGRAM จะเป็นเวทีสำคัญในการปลูกฝังและผลักดันให้เกิดการนำข้อมูลจากการฝึกซ้อมมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการซ้อมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยอาศัยความร่วมมือของนักกีฬา โค้ช และพาร์ทเนอร์ของ Garmin ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือการพานักกีฬาที่มีศักยภาพเต็มเปี่ยมลงแข่งขันด้วยสภาพร่างกายที่สมบูรณ์และสร้างสถิติที่ดีที่สุดของตนเองให้ได้”