สรุป! 7 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับไทยเมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ คว้าตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอีกสมัย

  • 13
  •  
  •  
  •  
  •  

Editorial credit: Jonah Elkowitz / Shutterstock.com

หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์  อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ (2017-2020) กลับมาได้รับการเลือกตั้งให้นั่งตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอีกครั้ง คำถามก็คือ การบริหารประเทศของนักธุรกิจชาวอเมริกันวัย 78 ปีที่มาพร้อมกับนโยบาย America First จะส่งผลกระทบอะไรกับไทยบ้าง และนี่คือสรุปสิ่งที่จะเกิดขึ้นรวบรวมมาจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์หลากหลายด้านของประเทศไทย

1. สงครามการค้าสหรัฐ-จีนแรงขึ้น

ทรัมป์มีนโยบาย “America First” ที่เน้นการปกป้องธุรกิจภายในประเทศ และใช้มาตรการกีดกันทางการค้าแบบ Protectionism ซึ่งจะยิ่งทำให้สงครามการค้ากับจีนทวีความรุนแรงขึ้น โดยทรัมป์อาจขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนสูงถึง 60%

สำหรับผลกระทบกับไทยนั้น ไทยอาจได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้าไปทดแทนสินค้าจีนในสหรัฐฯ แม้ไทยจะเผชิญภาษีนำเข้า 10% แต่สินค้าไทยยังถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในสหรัฐ นอกจากนี้ไทยอาจได้บริษัทจีนอาจย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้น เพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV), อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ และเครื่องจักร

อย่างไรก็ตามไทยอาจต้องรับมือกับสินค้าจีนที่ไหลทะลักเข้ามาในประเทศมากขึ้น เนื่องจากจีนมีความจำเป็นต้องระบายสินค้าออกต่างประเทศ

2. ต้นทุนลดเพราะสงครามเบาลง

ทรัมป์เน้นการฟื้นฟูและพึ่งพาตนเองตามนโยบาย America First และเป็นนักธุรกิจที่รู้ดีว่าสงครามส่งผลเสียต่อธุรกิจ จึงไม่สนับสนุนการให้เงินหรือความช่วยเหลือประเทศที่ทำสงคราม ยกตัวอย่างเช่น สงครามในยูเครน-รัสเซีย ที่อาจมีการเจรจาสงบศึกเกิดขึ้น ในขณะที่สหรัฐจะโยกเงินสนับสนุนยูเครนนับแสนล้านบาทกลับมาใช้จ่ายในประเทศแทนเป็นต้น

ไทยจะได้รับประโยชน์จาก ต้นทุนพลังงานและการขนส่งที่ถูกลง แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ไทยแต่เป็นเศรษฐกิจโลกที่จะได้ประโยชน์จากสงครามที่บรรเทาความรุนแรงลง

3. ดอกเบี้ยลดแต่เงินเฟ้อสูงขึ้น

ทรัมป์ มีแนวโน้มว่าจะกดดันให้ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้ถดถอย ผลจากสงครามการค้า

สำหรับไทยไทยอาจดอกเบี้ยลดตามได้ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจลดดอกเบี้ยนโยบายตาม Fed เพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ทำให้ภาพรวบการเติบโตของเศรษฐกิจดีขึ้น ในขณะที่ธุรกิจที่เน้นการส่งออกได้ประโยชน์เพราะเงินบาทที่อ่อนค่าลง ดอลลาร์ แลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทำให้ธุรกิจที่ต้องนำเข้าต้นทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศ เมื่อเงินบาทอ่อนค่าทำให้สินค้านำเข้าต่างๆราคาแพงขึ้น

4. เศรษฐกิจโลกผันผวน

นโยบายของทรัมป์อาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตในระยะสั้น แต่มีความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกจะผันผวนในระยะกลางถึงระยะยาว ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2025 อาจขยายตัวได้ไม่มากนักหรือเพียง 2.5% การส่งออกของไทยอาจชะลอตัว การลงทุนภาคเอกชนเติบโตช้าลง ความต้องการในประเทศอาจอ่อนแอลง กระทบกับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย

5. ราคาน้ำมันลดลง

ทรัมป์จะสนับสนุนการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ และทำข้อตกลงที่เป็นประโยชน์กับประเทศตะวันออกกลางและรัสเซีย แนวนโยบายแบบนี้จะทำให้ต้นทุนพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันจะลดลงตามราคาน้ำมันดิบโลก

6. การลงทุนจากสหรัฐฯ ในไทยอาจลดลง

นโยบาย “America First” นโยบายการค้าแบบปกป้อง (Protectionism) และการใช้มาตรการจูงใจทางภาษี เพื่อดึงการลงทุนกลับสู่สหรัฐฯ ทรัมป์อาจใช้มาตรการจูงใจทางภาษีเพื่อดึงการลงทุนให้กลับไปลงทุนในสหรัฐมากขึ้นเช่นการประกาศนโยบายลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 21% เป็น 15% เป็นต้น

ด้วยนโยบายนี้ทำให้การลงทุนจากสหรัฐฯ ในไทยอาจลดลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์

7. ไทยอาจถูกจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง

และจากการลงทุนจากสหรัฐฯในไทยลดลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ อาจทำให้เกิดการจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงบางประเภท เช่น เซมิคอนดักเตอร์ หรือเทคโนโลยี 5G ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทย

สิ่งนี้ส่งผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทยอาจได้รับผลกระทบได้ เพราะทรัมป์อาจจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงบางประเภท เช่น เซมิคอนดักเตอร์ หรือเทคโนโลยี 5G

โดยสรุปแล้วหากทรัมป์ชนะเลือกตั้งฯ ประเทศไทยอาจได้รับประโยชน์ในด้านการส่งออกและการลงทุนจากจีน แต่ต้องเตรียมรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ, เงินเฟ้อที่สูงขึ้น, และผลกระทบด้านลบอื่นๆด้วยเช่นกัน

ที่มา: สำนักวิจัย CIMBT, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย,


  • 13
  •  
  •  
  •  
  •