[ข่าวประชาสัมพันธ์]
โลกอนาคตนับจากนี้ พ่อแม่คงไม่อาจคาดเดาได้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่แทรกซึมเข้ามาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เรียกว่า ตั้งแต่หน้าประตูบ้านจนถึงเตียงนอน เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า ชีวิตของเราทุกวันนี้มิอาจปฏิเสธเทคโนโลยีได้เลย ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องเตรียมความพร้อมให้ลูกด้วยการเตรียมความพร้อมของสมอง โลกเปลี่ยนไวแค่ไหน พัฒนาการสมองเด็กต้องไวให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงเวลาทองในขวบปีแรก สมองของลูกน้อยเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมพัฒนาการสมองลูกน้อย ด้วยโภชนาการที่ดี ให้ลูกเรียนรู้ เล่นได้สมวัย
ไม่มีใครล่วงรู้อนาคตของลูกได้ จึงต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้
หากลูกสมองดี สมองไว เรียนรู้อะไรก็ทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ยุคปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวล้ำไปมาก แล้วถ้าเป็นในอีก 20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่คงไม่อาจคาดเดาได้เช่นกัน อะไรที่เป็นไปไม่ได้ในวันนี้ ในอีก 20 ปีข้างหน้าอาจเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามโลกเปลี่ยนไวแค่ไหน พัฒนาการสมองเด็กต้องไวเช่นกัน เริ่มต้นเตรียมความพร้อมให้ลูกได้ตั้งแต่วันนี้
ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีรวดเร็วแบบวันต่อวัน พ่อแม่อย่างเรามองว่าเป็นยุคแห่งโอกาสได้เหมือนกัน เพราะมีความรู้ใหม่ ๆ มากมายที่จะนำไปพัฒนาศักยภาพของลูกให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วแค่ไหน สมองดี สมองไว เกิดจากจุดเริ่มต้นที่ดีเท่ากับเตรียมรากฐานที่แข็งแรงและเข้มแข็งให้ลูกน้อย เพราะสมองเปรียบได้กับ “อาวุธ” สำคัญที่ติดตัวลูกไป คุณพ่อคุณแม่สามารถมอบอาวุธสำคัญนี้ให้ลูกนำไปใช้ต่อยอดความสำเร็จในอนาคตได้
เตรียมสมองไวให้ลูกเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้
“โภชนาการดี” “การเลี้ยงดูที่ดี” คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมองของลูก เพราะ สมอง คือจุดเริ่มต้นของทุกพัฒนาการของทารก1 การมองเห็นของทารก การได้ยิน หรือการเรียนรู้ภาษาเพื่อสื่อสารโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้ดีนั้น
- “สมองดี” คือ สิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรกของชีวิต สมองดี สมองไว เริ่มต้นที่โภชนาการดี เพื่อเป็นวัตถุดิบที่สมองนำไปใช้สร้างเซลล์และสารสื่อประสาท
- การเลี้ยงดูที่ดี เช่น การเล่นกับลูก การโอบกอด ช่วยเสริมสร้างสมอง พัฒนา IQ และพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมให้ลูกอีกด้วย
ดังนั้น การเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพควบคู่ทั้งโภชนาการดี และเลี้ยงดูดี ช่วยให้สมองของทารกพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
จุดเริ่มต้นสมองดีของทารก นำไปสู่ความแตกต่างด้านความสำเร็จในวัยเรียนและวัยผู้ใหญ่ เริ่มต้นที่การพัฒนาสมองที่ดีของลูกตั้งแต่วันนี้
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ‘สฟิงโกไมอีลิน’ เสริมสร้างพัฒนาการสมองไว
งานวิจัยที่ศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ พบว่า สฟิงโกไมอีลิน เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ ซึ่งนมแม่อุดมด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด สฟิงโกไมอีลิน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างปลอกไมอิลีน ที่มีส่วนช่วยให้สมองสามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด สมองจึงสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ2 ทำให้ลูกน้อยเกิดการจดจำและการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างว่องไว โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาสำคัญในขวบปีแรก สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารอาหารสมองที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับ
สมองของลูกในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ถือเป็นช่วงเวลาทองที่คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างเสริมและพัฒนาสมองลูกให้เต็มที่ ดังที่นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ถึงศักยภาพการเรียนรู้ของทารกด้วยเครื่อง MRI (magnetic resonance imaging)3 พบว่า เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านในของสมอง เรียกว่า สมองเนื้อสีขาว (white matter) จะมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เรียกว่า กระบวนการสร้างไมอีลิน
โดยเฉพาะทารกที่ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด ในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับทารก คือ สฟิงโกไมอีลินและดีเอชเอ งานวิจัย พบว่า ทารกที่ได้รับนมแม่จะมีปริมาณไมอีลินที่สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่อย่างมีนัยสำคัญ4 แสดงให้เห็นว่าไมอีลินมีบทบาทสำคัญต่อสมองของทารกในด้านการเรียนรู้ ช่วยทำให้การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สมองของลูกจะสามารถคิด วิเคาะห์ และจดจำได้จนเติบโต ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานของสมองในด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลระหว่างสมองหลาย ๆ ส่วน
ยิ่งเล่นสมองยิ่งแล่น เพราะการเล่นกระตุ้นสมองไวให้ลูก

เด็กในช่วงขวบปีแรก นอกจากการได้รับนมแม่ที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง ‘สฟิงโกไมอีลิน’ เพื่อให้การเชื่อมต่อของสมองส่วนหน้าให้พัฒนาได้อย่างดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การกระตุ้น ‘พัฒนาการสมองเด็กและการเรียนรู้ของลูก’ สำหรับเด็ก “การเล่น” เท่ากับ “การเรียนรู้” ยิ่งเป็นการเล่นที่ผ่านกิจกรรมฝึกสมองที่มีเป้าหมาย คุณแม่ควรสร้างเวลา ‘กิจกรรมแห่งสายใย’ ไปพร้อมกับการฝึกกระตุ้นสมองของลูกน้อย เพื่อสร้างทักษะสมองขั้นสูง ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต5,6
- มีความจำดี นำไปใช้ได้ (Working Memory)
ความจำเพื่อการใช้งาน คือ ทักษะสมองขั้นสูงที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลนั้นกลับมาใช้เมื่อต้องการหรืออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องนำข้อมูลในส่วนความจำมาใช้ยามต้องการ เราสามารถกระตุ้นสมองส่วนความจำนี้ได้ ด้วยกิจกรรมการเล่นที่เสริมสติปัญญาและความเข้าใจ ได้แก่ การเล่น Flash card การอ่านหนังสือที่เหมาะสมกับระดับอายุและความสนใจของลูก โดยเฉพาะการอ่านหนังสือนิทาน ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์ ฝึกจินตนาการ ด้วยการชวนลูกพูดคุยถึงเรื่องราว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิทาน พูดคุยถึงตัวละครในนิทาน การทำเสียงเล็กเสียงน้อย เสียงสัตว์ต่าง ๆ ประกอบการเล่านิทานช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้สมองไว สมองดีให้กับลูกได้
- รู้จักปรับตัว และยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility)
ความยืดหยุ่นทางความคิดเป็นทักษะสมองขั้นสูง คือ ความสามารถของสมองในการปรับตัวและยืดหยุ่นทางความคิด แก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลายและแตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับเปลี่ยน เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ โดยสามารถกระตุ้นการทำงานของความคิดยืดหยุ่นของสมองส่วนหน้า ผ่านกิจกรรม “แก้ปัญหา” ให้ลูกๆ อยู่เสมอ เช่น การเล่น “บอร์ดเกม ลูกได้คิดวิธีการแก้ไขปัญหา เรียนรู้กฎกติกาในการเล่น และการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น
- สามารถควบคุม และยับยั้งตนเอง (Inhibitory Control)
ความสามารถในการทนต่อสิ่งยั่วยุทางอารมณ์เป็นทักษะสมองขั้นสูง หมายถึง ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง หยุดคิดก่อนลงมือทำ ด้วยการควบคุมความต้องการของตนเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกสมองในส่วนนี้ได้ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมสมาธิให้ลูก เช่น ปั้น playdough หรือ การต่อเลโก้ ต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก การเล่นดังกล่าวช่วยควบคุมให้เด็กเกิดสมาธิ และเกิดความพยายามทำงานของตนเองจนสำเร็จ
การเล่นกับลูกหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับลูก เท่ากับคุณพ่อคุณแม่มอบเวลาคุณภาพที่ช่วยให้ทารกเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ค้นหาเพิ่มเติม เพราะทุกความสำเร็จในอนาคตเกิดจากการกระตุ้นสมองดี สมองไวตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เตรียมความพร้อมสมองดี สมองไวให้ลูกได้ตั้งแต่วันนี้เพื่อพร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีความสุขในทุก ๆ วัน
หากคุณแม่มีข้อสงสัย พัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกเพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม.ไม่มีค่าใช้จ่าย
อ้างอิง:
- National Institutes of Health (US); Biological Sciences Curriculum Study. Bethesda (MD): National Institutes of Health (US); 2007.
- Deoni S, 2012.
- Dai X, et al, 2019.
- Kar P, et al. Neuroimage. 2021 Aug 1:236:118084.
- Department of Mental Health (dmh.go.th)
- พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี, กรมสุขภาพจิต https://www.mhc10.go.th/regis/file/Chlid.pdf
[ข่าวประชาสัมพันธ์]