OR เดินหน้าสิ่งแวดล้อมในสถานีบริการต้นแบบ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 ภายใต้แนวคิด Circular Economy

  • 182
  •  
  •  
  •  
  •  

 

สิ่งแวดล้อมยังคงเป็นเรื่องสำคัญอย่างต่อเนื่องสำหรับในปี 2024 โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่จะเริ่มมีมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมออกมาเป็นข้อกำหนดที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และหลายธุรกิจมีการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หนึ่งในธุรกิจที่มีการดำเนินการสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนต้องยกให้ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่มีการพัฒนา PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 ขึ้นเป็นต้นแบบสถานีบริการที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม

 

ต้นแบบสถานีรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

โดยในปี 2023 มีการเปิดตัว PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 โดย OR ถือให้เป็นสถานีบริการต้นแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุด ผสมผสานแนวคิดการบริการจัดการแบบ SDG ในแบบของ OR ที่มุ่งไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งนำเสนอระบบนิเวศของ OR (OR Ecosystem) ในธุรกิจของ OR และพันธมิตรได้อย่างครบวงจร และยังถือเป็นสถานีบริการต้นแบบสำหรับการออกแบบสู่การขยายสถานีบริการ PTT Station สาขาอื่นๆ ในอนาคต

อีกหนึ่งจุดเด่นที่สำคัญของ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 คือการเป็นสถานีบริการน้ำมันที่มีการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมถึง 3 ด้านด้วยกัน ทั้งการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบ 100% และยังเป็นต้นแบบในการใช้วัสดุหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสร้างมูลค่าให้กับวัสดุที่ใช้งานแล้ว และยังช่วยให้มีการบริหารจัดการของเสียอย่างครบวงจร กระบวนการทั้งหมดสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 940 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 190 ต้น

หนึ่งเคล็ดลับที่ทำให้สถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 เป็นสถานีบริการน้ำมันต้นแบบด้าน Green Station ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ นั่นคือการออกแบบดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อม อย่างการออกแบบอาคารสีเขียวที่ถือเป็นต้นทางของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังมีส่วนช่วยให้การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมมีผลสืบเนื่องไปในหลายกิจกรรม

 

กรณีศึกษาแนวทางด้าน Green Design

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เคล็ดลับการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมคือเรื่องของการออกแบบดีไซน์(Green Design) โดย OR แบ่งออกเป็น 3 มิติใหญ่ๆ การปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับคาร์บอน นั่นเพราะสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 จะมีรถยนต์เข้าออกและผู้มมาใช้บริการจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ OR จึงส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเนื้อไม้และช่วยลดปัญหาโลกร้อน

ทำให้ในพื้นที่ของสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 มีการปลูกต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์มากกว่า 40 ชนิดเป็นจำนวนมากกว่า 120 ต้นที่จะช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่สถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1,200 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

นอกจากนี้ร้านค้าในสถานีบริการยังมีการใช้ผลิตภัณฑ์ Upcycling โดยมีการส่งเสริมให้ใช้เฟอร์นิเจอร์จากวัสดุ Upcycling ใน PTT Station เพื่อลดการเกิดของเสีย โดยนำนำของเสียกลับมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการการนำกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วจาก Fit Auto มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเฟอร์นิเจอร์ไม้ อย่างเช่น ม้านั่งในสถานีบริการจำนวน 6 ตัว สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 220 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้จำนวน 45 ต้น

 

 

Green Building เรื่องสำคัญของ Green Design

อีกหนึ่งมิติที่สำคัญของ Green Design คือ การออกแบบอาคารสีเขียว (Green Building) นั่นเพราะอาคารสิ่งปลูกสร้างเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยากลำบากและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการออกแบบตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งอาการที่ได้รับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม นอกจากเลือกใช้วัสดุที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังมีส่วนช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงานอย่างมาก

สำหรับสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 จะมีการส่งเสริมการการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่ยั่งยืน มุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเพื่อลดการใช้พลังงานลดการสร้างขยะ ในอาคารของ Café Amazon ซึ่งการออกแบบดังกล่าวได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวหรือ LEED ภายใต้มาตรฐานที่เน้นการออกแบบและการก่อสร้างอาคารอย่างยั่งยืนใน 7 มิติ ประกอบไปด้วย

  • ลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ (Reduce global climate change)
  • สุขภาพของคน (Human Health)
  • การใช้วัสดุรีไซเคิล (Material Cycles)
  • สร้างเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
  • สร้างสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี (Community quality life)
  • ปกป้องทรัพยากรน้ำ (Protect water resources)
  • ส่งเสริมความหลากหลายทางระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ (Protect biodiversity and ecosystem services)

 

 

จากการดำเนินการดังกล่าวช่วยให้ Cafe Amazon Concept Store สาขา PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 สามารถประหยัดไฟได้มากกว่า Café Amazon ในรูปแบบทั่วไปถึง 47% และยังมีสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 150 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตรต่อปี เมื่อเทียบกับร้าน Café Amazon รูปแบบปัจจุบัน

 

ลดการใช้พลังงานควบคู่ลดคาร์บอน

อีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้สถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 สู่การเป็น Green Station คือการใช้พลังงานสะอาดและลดการใช้พลังงานหลักที่ผลิตจากเชื้อเพลิงหรือถ่านหิน ช่วยให้ OR เข้าใกล้เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทำให้สถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 มีการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบ 100% ผ่านการใช้พลังงานจาก Solar Rooftop และการซื้อพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งผลิตภายนอกในรูปแบบเอกสารสิทธิ์การใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ REC (Renewable Energy Certificate)

ซึ่งภายในสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 จะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนหลักจากการติดตั้ง Solar Rooftop ที่ช่วยให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 578 kWh และยังมีการติดตั้งBattery Storage เพื่อจัดเก็บพลังงานที่ผลิตได้จาก Solar Rooftop ทั้งหมด 160 kWh โดยภายในสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 มีสัดส่วนการใช้พลังงานจาก Solar Rooftop ถึง35% เทียบการการใช้พลังงานหลักหรือราว 800 MWh ต่อปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 320 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

ขณะที่การซื้อพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งผลิตภายนอกในรูปแบบเอกสารสิทธิ์การใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ REC จะมีการซื้อพลังงานหมุนเวียนจากภายนอกที่ 1,500 REC ต่อปี สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 610 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

 

 

หมุนเวียนกลับมาใช้ภายใต้ Circular Economy

นอกจากเรื่องของ Green Design และการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว แนวคิดด้าน Circular Economy ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญและมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยเฉพาะการนำของเสียที่หมดประโยชน์แล้วกลับมาใช้ใหม่ในรูปของผลิตใหม่ ที่นอกจากช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือใช้ ที่สำคัญยังสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

อย่างการลดของเสียจากธุรกิจ FIT Auto ที่นำน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วไปผลิตเป็น Alternative Fuel Oil โดยสามารถจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วเฉลี่ย 12,000 ลิตรต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 4,800 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้จำนวน 1,000 ต้น นอกจากนี้ยังมีการนำกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วมาผลิตเป็นไม้เทียมเฟอร์นิเจอร์เพื่อใช้ในร้าน FIT Auto โดยสามารถจัดเก็บกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อปี ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1,200 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้จำนวน 250 ต้น

ในส่วนของร้าน Texas Chicken มีการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปผ่านกระบวนการและผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล B100 ขายคืนกลับให้ OR ซึ่งสามารถจัดเก็บน้ำมันพืชใช้แล้วเฉลี่ย 2,400 ลิตรต่อปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 2,380 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้จำนวน 500 ต้น และเศษอาหารที่เกิดขึ้นจากร้านค้าในสถานีบริการ จะถูกนำเข้าเครื่องย่อยเศษอาหารเพื่อทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับดูแลต้นไม้ในสถานีบริการ

 

 

ร่วมกับพันธมิตรนำขยะไปสู่ Upcycling

 

อีกหนึ่งแนวทางของสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 คือการร่วมกับพันธมิตรอย่างGC ในการดำเนินโครงการ “แยก แลก ยิ้ม X GC YOUเทิร์น” เพื่อนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาสร้างประโยชน์ได้ใหม่ ซึ่งจะมีการคัดแยกขยะที่ขึ้นเกิดจากกิจกรรมของร้านค้าในสถานีบริการ รวมถึงขยะของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ผ่านถัง “แยก แลก ยิ้ม” ของ PTT Station

โดยขยะที่ได้จะนำเข้าสู่กระบวนการ Recycle และ Upcycle ภายใต้ “GC YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม”เพื่อนำขยะเหล่านั้นกลับมาสร้างเป็นรายได้ หรือนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling อาทิ เสื้อกีฬาให้กับชุมชนโดยรอบสถานีบริการและบริเวณรอบพื้นที่คลังกระจายสินค้า นอกจากช่วยลดปริมาณขยะลงแล้ว ยังช่วยเติมเต็มรอยยิ้มให้กระจายไปสู่ผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

และเพื่อช่วยลดของเสียจากการบริโภคเครื่องดื่มของ Café Amazon ทาง OR จึงเตรียมจัดทำโครงการ “คืนคัพ” โดยให้ลูกค้านำแก้วพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาล้างให้สะอาด และนำกลับมาคืนที่ตู้คืนคัพ โดยทาง Café Amazon จะนำแก้ว PET เหล่านี้ไปจัดการอย่างถูกวิธีผ่านกระบวนการรีไซเคิล

 

ดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านแนวคิด SDG

กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 อยู่ภายใต้แนวทางSDG หรือการสร้างความยั่งยืนใน 3 มิติ ทั้งการเติบโตเคียงข้างชุมชน, เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในด้าน “S” หรือ “Small” ที่มุ่งเน้นการให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็กในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนมากกว่า 15,000 ชุมชน หรือมากกว่า 12 ล้านคน ด้าน “D” หรือ“Diversified” ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปด้วยกัน

และด้าน “G” หรือ “Green” ที่เรียกได้ว่าเป็นอีกด้านที่ทาง OR ให้ความสำคัญในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการต่างๆ ที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้พลังงานหมุนเวียน ไปจนถึงการออกแบบ Green Design และที่สำคัญคือการนำแนวคิด Circular Economy เพื่อให้นำของเหลือใช้กลับมามีประโยชน์ได้ใหม่ ช่วยสร้างสังคมสะอาดด้วยการส่งเสริมธุรกิจทุกประเภทให้เป็นธุรกิจสีเขียวสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

โดยเฉพาะหลายๆ โครงการที่คิดขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพของ Healthy Environment ผ่านสถานีบริการ PTT Station แฟลกชิป วิภาวดี 62 เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการส่งเสริมให้ธุรกิจมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ในปี 2030 รวมถึงการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2050


  • 182
  •  
  •  
  •  
  •