ปักหมุด! นิทรรศการ “ไอ้จุดไม่จบ” โชว์เคสสุดเจ๋ง ตอกย้ำ Creative Powerhouse เชื่อมต่อแนวคิด “ร่วมกันสร้างสรรค์” ของสยามพิวรรธน์

  • 630
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ถ้าตอนนี้เห็นอีเว้นต์โชว์ไอเดีย นิทรรศการสร้างสรรค์ และการจัดแสดงผลงานศิลปะกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะกำลังมีงาน Bangkok Design Week 2024 ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กรุงเทพฯ น่าอยู่กว่าที่เคย และแน่นอนว่างานนี้ต้องเต็มไปด้วยนักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ หนึ่งในพันธมิตรที่โดดเด่น อย่าง สยามพิวรรธน์ ก็พร้อมส่งแพลตฟอร์มร่วมสร้างสรรค์ (Creative Co-Creation Platform) โดยร่วมมือกับศิลปินและนักออกแบบมากมาย จัดกิจกรรมหลากหลายและอีกหนึ่งไฮไลท์ คือนิทรรศการ “ไอ้จุดไม่จบ” (INFINI JUD) โดยไอคอนคราฟต์ จับมือ “วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์” ที่ไอคอนสยาม ถือเป็นการคอลแลปส์ที่สะท้อนแนวคิดของสยามพิวรรธน์ในการเป็น “ขุมพลังความคิดสร้างสรรค์” หรือ Creative Powerhouse นำเสนอปรากฏการณ์พิเศษแปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง

 

 

ไอ้จุดไม่จบ” (INFINI JUD) นำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ของ “วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์” ศิลปินผู้คร่ำหวอดในแวดวงศิลปะและเซรามิกไทย “ไอ้จุด” เป็นผลงานรูปปั้นสุนัข ที่ถือเป็นซิกเนเจอร์  โดยเป็นประติมากรรมลูกหมาพันธุ์ทางจากราชบุรี ตัวแทนความฉลาดแสนรู้ของหมาบ้านๆ ซื่อ-ซ่า- ซน ที่รักบ้าน รักชุมชน ชอบงานศิลปะ เพราะคลุกคลีอยู่ในโรงงานเซรามิกกับพี่ๆ ช่างฝีมือ มีหน้าที่ส่งต่อความรัก ความซื่อสัตย์ กำลังใจ และพลังงานบวกให้แก่ผู้พบเห็น และในวันนี้ไอ้จุด ได้เดินทางเข้ากรุงอีกครั้ง แบบยกฝูงกว่า 100 ตัว มาวิ่งเล่นที่ไอคอนคราฟต์  ตอกย้ำการเป็นพื้นที่เพื่อสนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ งานคราฟต์จากช่างฝีมือไทยทั่วประเทศแบบไม่รู้จบ

 

 

“สำหรับประติมากรรม “ไอ้จุด” ดูง่าย ไม่ซับช้อน สามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงทำให้เกิดการเชื่อมโยงโดยใช้งานศิลปะร่วมสมัย ดึงดูดผู้ชมให้เข้าไปเรียนรู้กับงานที่เป็นประวัติศาสตร์และความทรงจำของชุมชน ที่สะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์ พร้อมกันนี้ ด้วยความน่ารักของประติมากรรมไอ้จุด ยังได้สร้างความสนใจและดึงดูดผู้ชมทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมากมาย” วศินบุรี กล่าว

จุดเริ่มต้นของ “ไอ้จุด” ลูกหมาพันธุ์ไทย ที่นับเป็นส่วนหนึ่งของ Street Culture ของไทย แต่เดิมทำจากเซรามิกขนาดเท่าลูกสุนัข ก่อนถูกนำไปจัดแสดงที่กรุงเทพ และเบอร์ลิน ในปี 2550 และนำกลับมาแสดงอีกครั้งในนิทรรศการ “รอยยิ้มสยาม” งานเปิดหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี 2551 ซึ่งทำให้ “ไอ้จุด” ถูกเพิ่มบริบทให้กับคำว่า “ศิลปะร่วมสมัย” เข้ามาอยู่ในสังคมไทยมากขึ้น และขยายเข้าถึงคนในวงกว้าง กลายเป็นตัวแทนของความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น และรอยยิ้มสยาม และเป็นสัญลักษณ์ว่าไม่ใช่เฉพาะที่เมืองหลวง แต่ทุกๆ ที่ในบ้านเรา ก็จำเป็นต้องมีคำว่า ศิลปะเข้ามาอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน

วศินบุรี ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทายาทโรงงานเถ้า ฮง ไถ่ โรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาแห่งราชบุรี ที่ก่อตั้งมากว่า 80 ปี เป็นหนึ่งในศิลปินที่เข้าร่วม Co-Creation กับสยามพิวรรธน์ กล่าวว่า “ไอ้จุด” มีเป้าหมายที่จะทำให้เราเข้าใจกันมากขึ้น (Coming Closer) มีการสื่อสาร ยอมรับ เห็นความจริงในมุมมองที่หลากหลาย เป็นโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่าน Street Dog ตัวแทนที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจเมืองไทยอีกมุมหนึ่ง และถึงแม้ผู้ชมจะไม่เข้าใจในคอนเซ็ปต์ทั้งหมด เพียงแค่ “รู้สึก” กับผลงานนี้ก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว

“คุณค่าของผลงานคราฟต์ของไทยจะไม่ใช่แค่ประติมากรรมที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารให้เข้าใจศิลปะเท่านั้น แต่ยังเป็นศิลปะร่วมสมัยที่สามารถตอบแทนหรือคืนบางสิ่งบางอย่างให้กับคนในชุมชนได้ด้วยเหมือนกัน ศิลปะจะเป็นตัวเชื่อมให้คนในชุมชนได้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญกับความรู้สึกหรือความทรงจำของเขา เปรียบเหมือนสปอตไลท์กระตุ้นให้เห็นว่าสิ่งสำคัญที่เขาอยากจะทำต่อไปคืออะไร หรือให้เกิดความรู้สึกเห็นคุณค่า ช่วยเพิ่มมูลค่าให้สิ่งต่างๆ ช่วยให้ทางเลือก เกิดการต่อยอดและอนุรักษ์ให้คุณค่าเหล่านั้นให้ยังอยู่ต่อไปได้”

 

 

ปารีสา จาตนิลพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจค้าปลีก Concept Shop บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด เล่าด้วยความภาคภูมิใจว่า การเปิดพื้นที่ไอคอนคราฟต์จัดนิทรรศการ “INFINI JUD” ในครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของสยามพิวรรธน์ ในการเป็นแพลตฟอร์มที่ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการ Co-create กับศิลปินมากมาย เปิดโอกาสให้ได้โชว์เคสผลงานและนำเสนอประสบการณ์พิเศษ อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตที่ดีและมีประสิทธิภาพของทุกภาคส่วน (Well-growing platform) ส่งเสริมการพัฒนาเมืองในมิติต่างๆ สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งให้กับผู้คน ชุมชุมและสังคม

 

 

ด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ และ DNA ของผู้บุกเบิกริเริ่มสิ่งใหม่ สยามพิวรรธน์เดินหน้าสู่การพัฒนา Creative Co-Creation Platform ร่วมกับศิลปินและนักสร้างสรรค์เก่งๆหลายคน เพื่อนำเสนอปรากฏการณ์พิเศษแปลกใหม่ นอกจากนี้ยังสะท้อนแนวคิดของผู้นำในการพัฒนาโครงการเดสติเนชั่นระดับโลก ด้วยการจัดงานนิทรรศกาล Siam Piwat Creative Powerhouse ที่บริเวณโถงด้านในไปรษณีย์กลาง ชั้น 1 ที่มีจุดเด่นทรงกลมสีสันอันเป็นตัวแทนขุมพลังความคิดสร้างสรรค์ที่ต่อยอดออกไปได้อย่างไม่สิ้นสุด และสอดแทรกเรื่องความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมอย่างแยบยล ทั้งการใช้นำวัสดุมาใช้ได้ใหม่ เช่น อะคริลิคที่นำมาครอบโคมไฟ สามารถนำไปใช้เป็นของตกแต่งในร้านค้าแบรนด์รักษ์โลก การใช้หลอดไฟแบบประหยัดพลังงาน รวมถึงถ่ายทอดเรื่องราวการใช้พลังงานงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้ทุกจุดสามารถนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ให้กับเมืองและโลก

 

 

นอกจากไอคอนสยามแล้ว สยามพิวรรธน์ยังเปิดพื้นที่ศูนย์การค้าให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่และศิลปินไทยมากความสามารถ นำเสนอประสบการณ์พิเศษ ได้แสดงศักยภาพ และส่งเสริมให้เกิดคอมมูนิตี้ของกลุ่มคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายสำหรับนักออกแบบ  เพื่อโชว์เคสผลงานผ่านกิจกรรมต่างๆ กระจายอยู่ในศูนย์การค้า ทั้งสยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน

นิทรรศการ “ไอ้จุดไม่จบ” เปิดให้ชมความน่ารักตั้งแต่วันนี้ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2567 และยังมีกิจกรรมมากมายของเหล่าศิลปินรุ่นใหม่และนักออกแบบที่ งาน Bangkok Design Week 2024 ทุกพื้นที่ 15 ย่าน ทั่วกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

และถึงแม้งานสุดสร้างสรรค์นี้จะจบลง แต่อีเวนต์ดีไซน์อาร์ตเจ๋งๆ ที่จัดขึ้นโดยสยามพิวรรธน์ยังไปต่อ ผู้สนใจงานออกแบบและสร้างสรรค์ ยังคงมาร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ พบกับกิจกรรมสุดครีเอทมากมายได้อย่างต่อเนื่องกันแบบยาวๆ โดยเฉพาะไอคอนสยาม หนึ่งใน Art destination ที่นำงานอาร์ตระดับมาสเตอร์พีสของศิลปินไทยและระดับโลกที่มาตกแต่งทั่วอาคารและมีการจัดแสดงอย่างต่อเนื่อง


  • 630
  •  
  •  
  •  
  •