อยากตั้งชื่อแบรนด์ให้คนจดจำได้ตลอดกาล ลองทำตามวิธีนี้

  • 195
  •  
  •  
  •  
  •  

 

หลาย ๆ ครั้งการตั้งชื่อแบรนด์ สินค้า และบริการนั้นเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวอย่างมาก ยิ่งสำหรับคนที่หัดสร้างแบรนด์ครั้งแรก หรือมีความจำเป็นต้องตั้งชื่อแบรนด์ สินค้าและบริการของตัวเองขึ้นมา เป็นเรื่องยากอย่างมากที่จะตั้งชื่อแบรนด์ สินค้าและบริการที่จะสร้างการจดจำ และสร้างการรับรู้ การติดปากสำหรับกลุ่มเป้าหมายขึ้นมาได้

หลายครั้งนั้นการตั้งชื่อแบรนด์ สินค้าและบริการ นั้นไม่ต่างอะไรจากการแต่งกลอนที่มีความสั้นที่สุดในโลกเลย เพราะชื่อนั้นต้องสื่อถึงสิ่งที่แบรนด์ สินค้าและบริการเป็น สิ่งที่แบรนด์ สินค้าและบริการนั้นทำหรือนำสิ่งที่เสนอ สิ่งที่แบรนด์สินค้าและบริการมีเป้าหมายอะไร สิ่งที่แบรนด์สินค้าและบริการนั้นมีคุณค่าอย่างไร จนถึงอารมณ์ ภาพลักษณ์ต่างของแบรนด์ สินค้าและบริการนั้นขึ้นมา การมีวิธีที่จะช่วยย่นระยะเวลาและสามารถช่วยให้ตั้งชื่อได้อย่างรวดเร็ว ตรงวัตถุประสงค์ที่ต้องการและทำให้เกิดภาพจำในกลุ่มเป้าหมาย สร้างความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายขึ้นมาทันทีได้ คือสิ่งที่จำเป็น

โดยการตั้งชื่อแบรนด์ สินค้าและบริการให้คนจดจำได้ตลอดกาลสามารถทำได้ตามวิธีดังนี้

1. เริ่มต้นด้วยการทำ Brief ของข้อกำหนดที่ชื่อตั้งเป็นออกมา : ในการทำงานที่ต้องใช้พลังความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่จะเป็นมากที่สุดคือการทำ Brief ออกมา เพราะ Brief นี้จะทำให้คุณทำงานได้ตรงวัตถุประสงค์เพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงจุดผิดพลาดและทำให้การทำงานของคุณราบรื่นขึ้นด้วย

โดยในบรีฟ ควรมีข้อมูลคือ คำอธิบาย brand strategy การมีวัตถุประสงค์ของชื่อ ข้อกำหนดของชื่อที่ต้องมี (เช่น ความยาวความสั้น การมีตัวย่อ หรือสร้างคำใหม่ขึ้นมา) การมีคู่แข่งว่าชื่ออะไรบ้าง ความหมายอย่างไร กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ คำที่อยากหลีกเลี่ยงหรือ theme ที่อยากเลี่ยงไม่อยากใช้โดเมนเนมที่จะใช้งาน การจดเครื่องหมายการค้า ความสั้นของคำ การคล้องจองซึ่งจำเป็นมาก ข้อกำหนดเหล่านี้จะทำให้ตัดอคติของการเลือกชื่อออกไปด้วย

2. เริ่มต้นด้วยการสร้างชื่อ : เป็นขั้นตอนที่ใส่ไอเดียกันอย่างสนุกสนาน เพราะด้วยโจทย์ที่ได้จากข้อ 1 ก็นำมาสร้างชื่ออาจจะใช้การค้นหาผ่านออนไลน์ในการได้มาซึ่งชื่อต่าง ๆ หรือจะเปิดพจนานุกรม การรวมคำต่าง ๆ เพื่อสร้างคำใหม่ขึ้น และจนถึงอาจจะใช้เครื่องมือรุ่นใหม่อย่าง ChatGPT ในการทำงานนี้ในการสร้างคำหรือค้นหาคำให้คุณขึ้นมา

ทั้งนี้ให้เขียนชื่อที่คุณได้มากทั้งหมดลงไป โดยควรมีประมาณ 300 ชื่อในการเริ่มต้น และชื่อต่าง ๆ นั้นควรสอดคล้องกับแบรนด์ สินค้าและบริการเป็นและต้องการนำเสนอขึ้นมา การสร้างชื่อหรือตั้งชื่อนี้ไม่ได้จำกัดที่ใครคนใดคนหนึ่งอาจจะให้ทีมงานเพื่อนหรือคนต่าง ๆ ช่วยนำเสนอความคิด ช่วยคิดให้ก็ได้

3. ตัดชื่อที่ไม่ต้องการทิ้ง ดูความเสี่ยง : ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่ทำการตัดรายชื่อต่าง ๆ ทิ้งไป โดยการดูว่า ชื่อนี้มีคนใช้ไปหรือยัง หรือมีคนจดทะเบียนตามที่ต้องการในโดเมนที่เลือกไว้หรือไม่ โดยสามารถทำการค้นหาผ่าน Google พิมพ์ชื่อที่ตั้งเข้าไป+keyword ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ สินค้าและบริการ หรือเช็คในการจดโดเมนเนมว่าคนมีคนจดรึยัง เช็คใน Social Media ต่าง ๆ ว่ามีคนจดชื่อนี้หรือยังขึ้นมา ถ้ามีคนจดชื่อที่ต้องการแล้วก็อย่าเพิ่งเสียใจ ลองดูมุมอื่นว่าสะกดแบบอื่นได้ไหม เช่น Lift = Lyft หรือลองเพิ่มตัวสะกดเข้าไป

4. นำเสนอชื่อที่น่าสนใจที่สุด ที่สามารถจดได้ และให้ตอบโจทย์มากที่สุดขึ้นมา : สิ่งที่ควรทำในตรงนี้คือเอาชื่อที่เหลือ ที่ผ่านการตัดทิ้งมาทั้งหมดนั้น มาใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้นถึงข้อดีและข้อเสียที่จะใช้ชื่อตามนี้ โดยข้อมูลที่ต้องใส่เพื่อใช้ในการตัดสินใจคือ

4.1 ที่มา ความหมายของชื่อและเหตุผลที่ต้องใช้ชื่อนี้

4.2 Trademark ว่าจดได้ไหม

4.3 URL และ Social Media จะเป็นอะไรบ้าง

4.4 ข้อควรระวัง : ว่าอุตสาหกรรมอื่นมีคนใช้ชื่อนี้ไหม หรือจะทำคนเข้าใจผิดไหม

4.5 ข้อเสนอตัวเลือกอื่น ๆ

5. เลือกให้เหลือ 3 ชื่อแล้วเลือกชื่อสุดท้ายที่ดีที่สุด : ทุก ๆ การเลือกนั้นมีความเสี่ยงอยู่เสมอ เพราะการตั้งชื่อต้องทำให้เข้ากับแบรนด์ หรือธุรกิจที่ทำอยู่ และต้องระวังว่าไม่ให้ไปทำให้นึกถึงคู่แข่งด้วย หรือถูกต้องตามกฏหมายด้วย สิ่งที่ดีที่สุดในการทำคือการเอาชื่อเหล่านั้นมาลองทำเป็นโฆษณา Content ดู ลองใส่ใน CI ต่าง ๆ Brand Identity หรือ Digital Asset ต่าง ๆ ว่าเกิดความเข้ากันมาแค่ไหน และดีไซน์ เพราะด้วยการมีดีไซน์กับชื่อเข้าไป จะทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายมากขึ้น


  • 195
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ