สร้าง Ads Copy ให้เทพ ด้วยการใช้จิตวิทยา 7 รูปแบบนี้

  • 42
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การทำโฆษณานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนเกิดความสนใจในทางการตลาดขึ้นมาได้ เพราะการที่แบรนด์หรือธุรกิจอยู่เฉย ๆ นั้นยากมาก การทำโฆษณาจึงเป็นเหมือนการนำเสนอตัวเองออกไปให้คนทั่วไปได้เห็น และทำให้คนที่สนใจนั้นเข้ามาหาแบรนด์ขึ้นมาได้ แต่การทำโฆษณานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกแบรนด์เองก็ทำโฆษณาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการเข้าใจการสร้างความแตกต่างในโฆษณานั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะทำให้สามารถเอาชนะคู่แข่งทางธุรกิจได้

การเอาชนะคู่แข่งด้วยการทำโฆษณาหรือสร้างความแตกต่างนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การทำ Creative ที่ดีการซื้อ Media การเอาไปปล่อยตามที่ต่าง ๆ การนำเสนอ หรือแม้กระทั่งการทำ Ad Copy ซึ่งกระบวนการสำคัญที่จะทำให้เกิด Conversion และทำให้คนสนใจเข้ามาปฏิสัมพันธ์ จะเกิดขึ้นจากการได้รับสายผ่านทาง Ads Copy เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอน Ads Copy ที่ครีเอทีฟ ทำให้คนสนใจ แต่ Ads Copy ที่จะทำให้คนเปลี่ยนเป็นลูกค้า ต้องมีลูกเล่นทางจิตวิทยามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการกระตุ้นจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายขึ้นมา ซึ่งในบทความนี้ จะพาไปรู้จัก 7 จิตวิทยาที่จะทำให้ Ads Copy ของคุณเทพขึ้น

 

 

1. จิตวิทยาการประหยัด : จิตวิทยาการประหยัดนั้น หลาย ๆ แบรนด์ชอบใช้อย่างมาก หรือแม้กระทั่งคนทำ Content เองแต่ปัญหาคือการใช้กันผิด แน่นอนจิตวิทยาการประหยัดนั้น ทุก ๆ คนอยากประหยัด แต่ไม่ใช่การอดของที่มีรสนิยมความชอบ เพื่อไปประหยัดกับอีกเรื่องหนึ่ง ในการใช้จิตวิทยาการประหยัดที่ดีนั้น คือการสื่อสารไปตรง ๆ เลยว่า ประหยัดเท่าไหร่ ในการซื้อสินค้าและบริการของตัวเองขึ้นมาเมื่อเทียบกับประโยชน์และคุณค่าที่จะได้รับ ลองนึกถึงสินค้าลดราคาในห้างหรือร้านต่าง ๆ เรามีความสนใจที่จะซื้อทันที ได้ไม่ต้องไปคิดว่า ประหยัดหรืออดเรื่องนี้ เพื่อไปออมเงินแทน

2. จิตวิทยาความชอบ : การหาเรื่องราวที่ทุก ๆ คนชอบมาสร้างเป็นโฆษณาได้นั้น คือส่วนสำคัญกับการที่จะสร้างโฆษณาให้โดนใจและเปลี่ยนคนมาเป็นลูกค้าได้ในที่สุด ด้วยการใช้ Content ที่คนชอบติดตาม ดัดแปลงให้เข้ากับ เรื่องราวของแบรนด์ตัวเอง ทำให้การทำโฆษณานั้นจะไม่เหมือนการทำโฆษณาอีกต่อไป แต่จะกลายเป็น Native Ads ที่ทำให้คนสนใจ และรู้สึกเพลิดเพลินไปเนื้อหาอื่น ๆ ที่กำลังบริโภคอยู่ในออนไลน์ได้ขึ้นมา

3. Social Proof : ด้วยจิตวิทยาของคนที่เป็นสัตว์สังคม เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่จึงต้องทำอะไรตามสังคม การมี Social Proof รับรองว่ามีคนใช้แล้วดี หรือมีผู้รับรอง ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ KOL/Influencer เองย่อมทำให้ Ads นั้นทำใหัคนมีความมั่นใจขึ้นว่า สินค้าและบริการนี้ได้รับความนิยมจริง จนสามารถมาลองใช้งานได้ต่อไป

4. ความน่าเชื่อถือ : การโฆษณาด้วยความน่าเชื่อถือ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Social Proof แต่จิตวิทยาของความน่าเชื่อถือนี้ไม่จำเป็นต้องเอาคนที่น่าเชือถือมาโฆษณาก็ได้ แต่การบอกเล่าว่า มีหน่วยงาน คนที่น่าเชื่อถือเคยใช้งานมามากน้อยแค่ไหน ก็สามารถช่วยทำให้ Ads Copy นั้นดูน่าสนใจมาได้ทันที ลองดูในเว็บไซต์ที่บอกว่า ลูกค้ามีใครบ้าง ถ้ามีบริษัทดัง ๆ หรือคนดัง ๆ ใช้งาน เราก็อยากใช้ตามทันที

5. จิตวิทยาการให้ : จิตวิทยาการให้นั้น หรือที่เรียกกันว่า Reciprocity เป็นจิตวิทยาแบบหนึ่งที่จะสร้างความเกรงใจต่อผู้ได้รับ การทำ Ads Copy ที่นำเสนอการให้ของฟรี หรือได้รับของฟรีมา ย่อมทำให้คนนั้นเกิดการสนใจ และยอมที่จะกลายมาเป็นลูกค้าให้โดยง่ายอย่างทันที และเมื่อสินค้ากับบริการนั้นมีคุณสมบัติที่ดี ก็ย่อมจะสร้างการบอกต่อให้มากขึ้นไปเอง ทำให้โฆษณานี้ได้ผลต่อไปได้มากขึ้นด้วย

6. จิตวิทยาต่อความสงสัย : ด้วยการที่สมองเราจะรู้สึกไม่ดีและกระวนกระวายเมื่อเกิดความสงสัย การสร้างความสงสัยความใคร่รู้ การเติมเต็มคำตอบในสมองนั้น สามารถช่วยได้ในการสร้าง Ads Copy ที่เป็นคำถามให้มาติดตามต่อ แต่คำถามที่กระตุ้นความสงสัยนั้นต้องตรงกับความอยากรู้หรือพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายด้วยขึ้นมา ไม่งั้น Ads Copy นั้นจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย

7. ความเหนือระดับ : สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ชอบกันคือการได้สิทธิพิเศษอะไรเหนือคนอื่น หรือได้อะไรที่พิเศษกว่าคนอื่น เช่นกันถ้ามีสินค้าและบริการที่เหนือกว่าคนอื่น หรือเหนือธรรมดาอย่างมาก ย่อมสร้างความสนใจต่อกลุ่มเป้าหมายได้ทันที ที่จะสามารถซื้อหรือลองสินค้าและบริการนั้น ๆ ขึ้นมา

ทั้งนี้จิตวิทยาที่ดีในการใช้งาน ต้องเข้าใจในระดับความคิดของกลุ่มเป้าหมายก่อนว่า อยากที่จะเจอ Content แบบไหนที่จะตรงใจตัวเอง แม้จะใช้หลักจิตวิทยาที่ถูกต้องแต่กระบวนการใช้งานไม่ถูกต้องย่อมสร้างผลร้ายมากกว่าผลดี


  • 42
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ