การซื้อของออนไลน์ในทุกวันนี้เรียกได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าไปแล้ว ด้วยการที่เป็นการซื้อที่ทุกคนใช้ การออกแบบการซื้อของออนไลน์ของการทำ E-Commerce นั้นก็ถูกออกแบบให้มีการใช้งานที่ง่ายอย่างมาก และมีระบบที่ชักชวนหรือกระตุ้นให้เกิดการจ่ายเงินได้ง่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ระบบ การซื้อของออนไลน์ นั้นเกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ที่เป็นช่วงที่อินเทอร์เนตนั้นกำลังเริ่มต้นการใช้งานระดับ Mass ครั้งแรกขึ้นมา ระบบการซื้อของออนไลน์มีการพัฒนาจนสามารถจ่ายเงินได้ในออนไลน์ในปี 1994 แต่ E-commerce นั้นเข้าสู่การใช้งานที่ง่ายมากขึ้นเมื่อ E-bay และ Amazon เกิดขึ้นมา
ในทุกวันนี้การแข่งขันในการขายของออนไลน์นั้นมีสูงขึ้นอย่างมาก แบรนด์หลายๆ แบรนด์ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลในการทำการขายของออนไลน์ และเพื่อที่จะชนะใจลูกค้าเอาไว้ให้ได้ สิ่งหนึ่งที่แบรนด์ต่างประเทศทุ่มเทกันอย่างมากในการลงทุนการขายสินค้าออนไลน์นั้นคือ การเข้าใจเรื่องพฤติกรรม แรงขับดันในการซื้อสินค้า และอารมณ์ กับจิตวิทยาในการซื้อสินค้านี้ ว่าเป็นตัวแปรอย่างไรกับการออกแบบการขายสินค้าออนไลน์ขึ้นมา ทั้งนี้การที่จะเอาชนะใจและจิตวิทยากลุ่มเป้าหมาย จนทำให้กรอกบัตรเครดิตได้นั้นคือหัวใจสำคัญของการทำ E-commerce เลยทีเดียว เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น แบรนด์นั้นต้องเข้าใจความคิดของผู้ซื้อเป็นอย่างมากว่าคิดอย่างไร ซึ่งผู้บริโภคจะมีความคิดและจิตวิทยาในการเลือกสินค้าดังนี้
1. ไม่ชอบตัวเลือกที่เยอะ : ในยุคที่มีตัวเลือกหลากหลาย ผู้บริโภคนั้นเลือกอะไรที่เรียบง่ายมากที่สุด การที่ระบบที่สับสน ตัวเลือกเยอะ ทำให้ไม่เกิดการตัดสินใจ ดังนั้นการนำเสนอการขายบนเว็บไซต์ที่ตัว ข้อความชัดเจน ไม่ต้องคิดเยอะ เห็นชัดเจน และน่าสนใจ หรือสื่อสารไม่เยิ่นเย้อ ก็ช่วยทำให้เกิดการซื้อได้อย่างง่ายดายได้ทันที
2. พลังในการต้องการอย่างเร่งด่วน : ในยุคที่ทุกคนอยากได้ความพึงพอใจในการตอบสนอง เพราะมีตัวเลือกแบรนด์ที่มาขายของให้อย่างมาก ผู้ซื้อมองหาการได้รับรางวัลจากการซื้อทันที นั้นคืออยากได้สินค้าทันที ดังนั้นการที่ช่วยให้ผู้บริโภคได้สินค้าอย่างทันทีจะเป็นการช่วยให้ผู้ซื้อพึงพอใจได้อย่างทันที หรือถ้าสินค้าส่งช้า ก็ต้องลดความรู้สึกในการรอลง ด้วยการนำเสนอว่าสินค้ากำลังพัฒนา สร้าง ส่ง อย่างไร เพื่อให้รู้ว่าความคืบหน้าอยู่ที่ไหน
3. สร้างความมั่นใจ : เมื่อการซื้อของออนไลน์ คือการที่ไม่ได้เห็นสินค้าจริง ไม่ได้ลองจับ หรือไม่ได้ทดลองใช้ก่อนหน้า ดังนั้นความกังวลในการซื้อของออนไลน์นั้นมีเพิ่มอย่างมาก ดังนั้นการสร้างความมั่นใจว่า สินค้าที่กำลังจะซื้อนั้นดี หรือเชื่อใจ เชื่อถือได้มีส่วนสำคัญโดยการใช้รีวิว เรตติ้ง หรือ Testimonials เข้ามาช่วยให้เกิดการกระตุ้นการซื้อได้
4. ไม่อยากพลาด : สิ่งหนึ่งที่มนุษย์เป็นกันในเชิงจิตวิทยาคือ มนุษย์ไม่อยากพลาดในเรื่องต่างๆ เพราะกลัวเสียโอกาส ดังนั้นการที่แบรนด์อยากสร้างความเร่งด่วนให้กลุ่มเป้าหมายซื้อ การนำเสนอว่า สินค้ามีจำนวนเท่าไหร่ พลาดแล้วพลาดเลย หรือมีคนที่กำลังจะซื้อสินค้านี้เท่าไหร่ ทำให้คนเริ่มกังวลว่าจะพลาดโอกาส และทำการตัดสินใจในการซื้อได้ง่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก
5. ต้องการความเชื่อถือ : นอกจากความมั่นใจที่กลุ่มเป้าหมายและผู้ซื้อสินค้าออนไลน์อยากได้อย่างมากแล้ว ความน่าเชื่อถือของสินค้าก็เป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดการซื้อได้อย่างมาก โดยเฉพาะสินค้าบางประเภท ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญ องค์กรหรือผู้บริหารออกมารับประกันการใช้งาน ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือในการที่จะจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น
6. ชอบของฟรี : ในหัวของผู้บริโภค การได้ของฟรี นั้นเหมือนการเอาชนะแบรนด์อย่างหนึ่ง และเป็นการได้รางวัลอย่างหนึ่ง ด้วยการที่บอกว่าซื้อสินค้าและได้สินค้าฟรีเป็นอะไร ย่อมทำให้เกิดการกระตุ้นการซื้อได้อย่างมากทันที และทำให้มีความรู้สึกกลับมาซื้อซ้ำได้ง่ายอีกด้วย ลองนึกถึงแบรนด์เครื่องสำอางค์ ที่ซื้อสินค้าแล้วมักได้แถมตัวทดลองฟรีมากมาย จนต้องกลับมาซื้อซ้ำหรือซื้อเพิ่ม
7. ส่งฟรี : ความชอบของฟรี นั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่การได้รับสินค้าฟรีเท่านั้น แต่ยังเกิดกับการไม่ต้องเสียค่าส่ง หรือ ส่งฟรีนั้นเอง เมื่อให้เลือกระหว่างสินค้าลดราคาแล้วเสียค่าส่ง กับ สินค้าราคาปกติ และไม่ต้องเสียค่าส่ง ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่เลือกสินค้าราคาปกติและไม่ต้องเสียค่าส่งมากกว่า หรือยอมซื้อเพิ่มเพื่อให้ได้การส่งฟรีอีกด้วย