แนะนำเคล็ดลับเล่า “Storytelling” อย่างไรให้ดูน่าสนใจในยุคดิจิทัลที่มีแต่คู่แข่ง!

  • 32
  •  
  •  
  •  
  •  

ในวงการธุรกิจ นักคอนเทนต์ หรือนักการตลาด หลายคนคงได้รู้จักคำว่า Storytelling กันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันได้ถูกนำเข้ามาใช้สำหรับกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่ง ที่เน้นเล่าเรื่องบนโลกออนไลน์หรือยุคดิจิทัลให้ผู้บริโภคเข้าใจแบรนด์มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าแบรนด์เล่าเรื่องไม่เป็น ก็อาจจะทำให้คนที่ได้รับข้อมูลเกิดความไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดได้ นั่นเป็นสิ่งที่นักการตลาดหรือแบรนด์ ควรรู้จักวิธีการเล่าเรื่องอย่างไรให้ถูกต้อง

Storytelling คืออะไร?

การตลาดแบบ Storytelling คือใช้วิธีการเล่าเรื่องราว เพื่อสื่อสารถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ ในการดึงดูดความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการทำให้ผู้ดูรู้สึกบางอย่าง ซึ่งวิธีการเล่าเรื่องจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจแบรนด์มากยิ่งขึ้น และในปัจจุบัน Storytelling คือ เทคนิคที่นิยมใช้ในวงการขายของออนไลน์ในการผลักดันธุรกิจให้เติบโต ก่อนจะสอดแทรกกลยุทธ์การตลาดเฉพาะตัวของตนเอง

Storytelling มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร

คงต้องยอมรับว่า Storytelling มีบทบาทสำคัญของผู้บริหารในยุคใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแบรนด์ หรือ นักธรุกิจต่างใช้ Storytelling ในการสื่อสารมากขึ้น เพื่อเป็นการเชื่อมต่อหรือให้ผู้บริโภคเข้าใจแบรนด์ได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากสมองคนเรานั้นได้ถูกออกแบบมาให้เกิดความรู้สึกประทับใจ จดจำ และผูกพันกับเรื่องเล่าในลักษณะของ Storytelling มากกว่าการนำเสนอในลักษณะของ Presentation ทั่วไปนั่นเอง

องค์ประกอบของ Storytelling ช่วยผลักดันแบรนด์

จริง ๆ แล้ว Storytelling ก็เปลี่ยนเสมือนการเล่าเรื่องหรือบทความที่ต้องมีส่วนนำ เนื้อความ และบทสรุป แต่อาจจะเน้นเป็นวิดีโอแบ่งปันประสบการณ์ ให้ความรู้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญของการเล่าเรื่อง ได้แก่

  • ตัวละคร : ควรจะเลือกคนที่เป็นที่น่าจดจำมีจุดอ่อนและจุดแข็งที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้ ในกรณีของ Storytelling เพื่อ Digital Marketing ตัวละครในเรื่องมักจะเป็นเจ้าของกิจการเอง หรือเป็นคนธรรมดาที่เป็นต้นกำเนิดของแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ
  • พล็อต : คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องราว พล็อตที่ดีควรมีจุดเริ่มต้น กลางเรื่อง และตอนจบที่ชัดเจน พล็อตควรมีความซับซ้อนและน่าติดตามเพื่อให้ผู้ชมอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
  • ฉาก : คือสถานที่และเวลาที่เรื่องราวเกิดขึ้น ฉากที่ดีควรช่วยสร้างบรรยากาศของเรื่องราว ซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว
  • ธีม : คือแก่นแท้ของเรื่องราว ธีมควรเป็นข้อความที่ลึกซึ้ง น่าคิด ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้
  • ภาษา : ภาษาที่ใช้ในการเล่าเรื่องต้องชัดเจน กระชับ โดยผู้เล่าเรื่องควรใช้ภาษาที่ดึงดูดอารมณ์จนสามารถทำให้เกิดจินตนาการถึงเรื่องราวได้
  • ข้อมูลสนับสนุน : จะทำให้เรื่องราวของแบรนด์น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และดึงดูดผู้ชมให้คิดอย่างมีเหตุผล โดยสามารถช่วยโน้มน้าวใจได้

4 ประเภท Storytelling ที่ไม่ควรมองข้าม 

Story telling ถูกนำมาใช้เพื่อตลาดออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันแบ่งประเภทของ Storytelling ตามลักษณะการใช้งานทางธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของผู้เล่าเรื่อง โดยแบ่งตามความนิยม ได้แก่

  • Brand storytelling : เป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์และจุดยืนของแบรนด์ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วัฒนธรรมองค์กร นวัตกรรม หรือความมุ่งมั่นของแบรนด์ต่อสังคม
  • Product storytelling : เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ เช่น คุณสมบัติ ประโยชน์ การใช้งาน และประสบการณ์การใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  • Customer storytelling : เป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลูกค้าของแบรนด์ เช่น ประสบการณ์การใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการ ความประทับใจต่อแบรนด์ 
  • Employee storytelling : เป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพนักงานของแบรนด์ เช่น ประสบการณ์การทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และคุณค่าของแบรนด์ที่พนักงานยึดถือ
  • Partner storytelling : เป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพันธมิตรของแบรนด์ เช่น ความร่วมมือระหว่างแบรนด์กับพันธมิตร ผลลัพธ์ของความร่วมมือ และประโยชน์ที่แบรนด์และพันธมิตรได้รับร่วมกัน

รูปแบบการเล่าเรื่องที่ดีที่สุดจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแบรนด์ แบรนด์ควรเลือกรูปแบบการเล่าเรื่องที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและเรื่องราวที่ต้องการสื่อสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าได้ดี

เคล็ดไม่ลับในการสร้าง Storytelling สำหรับธุรกิจ

เจ้าของธุรกิจต่างก็รู้ว่า Storytelling คือ เทคนิคที่จะช่วยสร้าง Brand Awareness ได้ดีแค่ไหน ถึงเวลาเดินหน้าสร้าง Storytelling ในแบบเป็น กับ 4 ข้อนี้ได้ง่าย ๆ ไม่ยาก 

  1. ชัดเจนกับกลุ่มเป้าหมาย : รวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลขอกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่ ความสนใจ และพฤติกรรม เพื่อที่จะกำหนดทิศทางว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องราวประมาณไหน
  2. สร้าง Storytelling ให้เด่นชัด : อย่างการเล่าเรื่องประวัติผู้ก่อตั้ง ให้แบรนด์มีความน่าสนใจหรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ฟัง เพื่อจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจแบรนด์มากขึ้น
  3. วางโครงเรื่อง เนื้อหา และกำหนดช่องทางการสื่อสาร : เมื่อวางเป้าหมายได้ชัดเจน ก็จะทำเรื่องราวได้ไม่ยาก กำหนดโครงเรื่องให้ชัดเจน แต่อย่าลืมมองว่าจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางไหน
  4. ติดตาม วัดผล เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพต่อไป : ทั้งหมดที่ทำมาแบรนด์จะต้องติดตามวัดผล เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยขณะไหน และนำมาพัฒนาต่อในการเพิ่มยอดขาย

จะว่าไปแล้วบทบาทของ Storytelling กับการตลาดในยุคปัจจุบันมีความสำคัญไม่น้อย เพราะพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคย การที่จะทำ Storytelling ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องวางแผน วิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี ถึงจะสร้าง Storytelling ที่ต้องการได้ รวมไปถึงแบรนด์ก็ต้องมีเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้บริโภคได้ติดตามอีกด้วย 

 


  • 32
  •  
  •  
  •  
  •