หลังจาก Elon Musk เข้าครอบครอง Twitter และประกาศยกเลิกแนวทางการยืนยันตัวตนเพื่อออก Blue Checkmark แบบเดิมในสัปดาห์นี้เป็นต้นไป และออกนโยบายใหม่ที่ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้ Checkmark แบบต่างๆหลังชื่อบัญชี จากนั้นเกิดคำถามตามมามากมายว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องจ่ายเงินให้กับ Twitter โดยเฉพาะบรรดาแบรนด์ต่างๆที่อาจต้องพิจารณาว่าจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้างกับการได้เครื่องหมายถูกเหล่านั้น
ต้องบอกว่าคำตอบไม่ได้มีคำตอบเดียว เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา เช่นเรื่องของราคาที่อาจไม่คุ้มค่าสำหรับบางธุรกิจ และนับจนถึงเวลานี้ก็ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะรู้ได้ว่าผลกระทบจากนโยบายใหม่เหล่านี้ของ Twitter นั้นจะมีอะไรบ้าง และการยืนยันตัวตนเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรกับการเข้าถึงและเอ็นเกจเมนต์กับทวีตสำหรับบัญชีในรูปแบบต่างๆ
อย่างไรก็ตามบทความนี้จะพูดถึงข้อพิจารณาต่างๆที่อาจเป็นประโยชน์ที่สำหรับการตัดสินใจที่จะเลือกใช้การยืนยันตัวตนแบบใหม่โดยเฉพาะแบรนด์ที่อาจยังไม่ได้ตัดสินใจหรือยังลังเลอยู่
Twitter มีการยืนยันตัวตนแบบไหนบ้าง
ก่อนที่จะไปพิจารณาเงื่อนไขต่างๆย้อนไปพูดถึงระบบการยืนยันตัวตนแบบใหม่ของ Twitter กันก่อน โดยในปัจจุบัน Twitter มี 3 ทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานในการใช้ยืนยันตัวตนเพื่อให้ได้ Checkmark สีต่างๆ
1.Twitter Blue – เครื่องหมายถูกสีฟ้า (Blue Checkmark) มีราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนหรือเริ่มต้นที่ 2,900 บาทต่อปี (คิดเป้น 241 บาทต่อเดือน) หรือถ้าจ่ายรายเดือนก็จะคิดในราคา 275 บาทต่อเดือน วิธีสมัครก็คือคลิกไปสมัครที่ Twitter Blue ผ่านแอป Twitter หรือหากเป็นน้าเว็บ ก็ให้คลิกตรงแถบเครื่องมือด้านซ้ายซึ่งวิธีนี้ผู้ใช้งานทั่วไปก็สามารถสมัครได้เช่นกัน
2.Verification for Organization – เครื่องหมายถูกสีทอง (Gold Checkmark) เป็นโปรแกรมยืนยันตัวตนที่มีกลุ่มเป้าหมายไปที่แบรนด์ใหญ่ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือจากการยืนยันตัวตน โดยนอกจากจะได้เครื่องหมายถูกสีทองหลังชื่อบัญชีแล้ว จะยังมีภาพ Profile เป็น “สี่เหลี่ยม” และยังมีไอคอน โลโก้ของแบรนด์อยู่ข้างๆกันได้ด้วย ซึ่งวิธีการสมัครก็จะมีกระบวนการที่แตกต่างออกไปและสมัครได้เฉพาะองค์กรหรือแบรนด์เท่านั้น
นอกจากนี้ยังสามารถเลือกยืนยันบัญชีทวิตเตอร์ของพนักงานจำนวนหนึ่งให้ได้ Blue Checkmark ได้ด้วย อย่างไรก็ตามสิทธิประโยชน์เหล่านี้ก็มีต้นทุนอยู่โดยเวลานี้ มีราคาอยู่ที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยก็ราว 34,100 บาทต่อเดือน บวกอีก 50 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,710 บาทต่อการยืนยันตัวตนให้พนักงาน 1 คน
3.Verification for Government – เครื่องหมายถูกสีเทา (Grey Checkmark) เป็นการยืนยันตัวตนสำหรับหน่วยงานของรัฐในประเทศต่างๆซึ่งคงจะไม่ได้นำมาพูดถึงในบทความนี้
ประโยชน์จากการยืนยันตัวตนแต่ละแบบ
มาดูกันที่ผลประโยชน์ที่จะได้หลังจากที่จ่ายตังซื้อ Checkmark จากทวิตเตอร์กันบ้าง
1. Twitter Blue – สามารถ edit tweet ได้แล้ว สามารถอัพโหลตคลิปวิดีโอได้ยาวขึ้นและมีความละเอียดได้มากถึง 1080p พิมพ์ข้อความ tweet ได้ยาวขึ้นถึง 4,000 ตัวอักษร และที่สำคัญระบบที่กำลังจะให้บริการก็คือการ reply tweet จะถูกโชว์ที่ด้านบนก่อนซึ่งอาจช่วยให้บัญชีถูกเห็นได้มากขึ้นนั่นเอง
2. Verification for Organization – สำหรับรูปแบบนี้จะทำให้เข้าถึง dashboard แบบใหม่ที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการบัญชีของแบรนด์ มี Tap ใหม่ที่จะมีรายชื่อบัญชีย่อยของธุรกิจ และจะได้รับการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากทีม Twitter และจะได้เข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ๆของ Twitter ก่อนใคร พร้อมๆกับฟีเจอร์ต่างๆของ Twitter Blue ที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
แล้วถ้าไม่จ่ายเงินยืนยันตัวตนให้กับ Twitter แล้วจะเป็นยังไง? จากข่าวล่าสุดอย่างที่อาจทราบกัน Twitter จะยกเลิก Blue Checkmark แบบเก่าลงแล้วนับตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ดังนั้น หากผู้ใช้งานหรือแบรนด์ของคุณที่เคยมี Blue Checkmark แบบเก่าก็จะไม่มีเครื่องหมายถูกสีฟ้าอีกต่อไป เว้นแต่ว่าจะยอมจ่ายเงินให้ Twitter อย่างน้อย 275 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้าในหน้าฟีด For You ของผู้ใช้งานทั่วโลกจะมองเห็นเฉพาะบัญชีที่จ่ายเงินให้ Twitter และมีเครื่องหมาย Checkmark เท่านั้น อย่างไรก็ตามผลกระทบจากรูปแบบใหม่นั้นยังไม่ชัดเจนโดยเฉพาะฟีด For You ที่ Twitter ก็เพิ่งเพิ่มเข้ามาใหม่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาสำหรับผู้ใช้งานก็อาจจะถูกให้ความสำคัญรองลงไปจาก main feed ขณะที่ผลกระทบอัลกอรึทึมต่างๆที่อาจเปลี่ยนไปหลังจากนั้นก็ต้องจับตาดูกันต่อไป
เรื่องนี้อาจไม่ส่งผลกระทบอะไรมากมายนัก อย่างไรก็ตามเรื่องของ Reach ที่ direct จาก Twitter ไปสู่เว็บไซต์นั้นข้อมูลระบุว่ามีอัตราที่ลดลง โดยเฉพาะข้อมูลจาก Digiday ที่เปิดเผยออกมาเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาพบว่า การ direct traffic ไปยังเว็บไซต์ข่าวต่างๆซึ่งต่ำอยู่แล้วนั้น ต่ำลงไปอีกในปี 2022 ที่ผ่านมา และอาจจะต่ำลงไปอีกหากไม่ได้ถูกลดการมองเห็นเมื่อไม่ได้สมัครเข้าโครงการใดๆของ Twitter
อย่างไรก็ตามนั่นเป็นเรื่องของเว็บไซต์สื่อหรือข่าวต่างๆ แต่หากคุณเป็นแบรนด์ที่สร้างเอ็นเกจเมนต์โดยตรงจาก Tweet อยู่แล้วนั่นก็อาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำให้คนเห็นแบรนด์ของคุณได้มากขึ้นผ่าน Twitter ที่ลงทะเบียน Twitter Blue แล้วนั่นเอง
คู่แข่งที่ลดลง
อีกเรื่องที่ต้องพิจารณาก็คือนั่นอาจเป็นการลดคู่แข่งลงไปได้ เนื่องจากผู้ใช้งาน Twitter ในเวลานี้มีเพียงไม่ถึง 2% เท่านั้น (ราว 450,000 บัญชี) ที่ยอมจ่ายเงินแลกกับ Twitter Blue ซึ่งนั่นก็จะทำให้ Twitter ต้องพยายามหาคอนเทนต์ส่งเข้าสู่ฟีด For You ให้มากขึ้นและก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้การจ่ายเงิน Twitter Blue เพื่อให้แบรนด์ของคุณถูกเห็นมากขึ้นนั่นเอง
แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกก็คือ มีรายงานด้วยว่า Twitter มีแผนที่จะมอบ Gold Checkmark ให้กับ ผู้ลงโฆษณาสูงสุด Top 500 รวมไปถึงบัญชีที่มีผู้ติดตามสูงสุด 10,000 บัญชีแรกด้วย ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงก็จะทำให้มีจำนวนคู่แข่งเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วยหลังจากนี้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาดูว่าการจ่ายเงินแลกกับ Checkmark นั้นจะคุ้มค่ากับสิ่งเหล่านี้ไหม อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันจากทวิตเตอร์ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงเลยทีเดียว
คุ้มค่ากับการลงทุนไหม?
คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์ของคุณทำธุรกิจอะไรและต้องพึ่งพากับ Twitter มากน้อยแค่ไหน และการเข้าถึงจากผู้ใช้ทวิตเตอร์มาถึงแบรนด์ของคุณมีความหมายแค่ไหน
ในเวลานี้หลายๆแบรนด์ใหญ่ก็อาจยังไม่เลือกที่จะลงทุนมายมายไปกับการได้ checkmark โดยเฉพาะแบบ Gold ที่มราคาสูง และถึงแม้จะมีบริษัท Top 10,000 ได้รับ Checkmark ฟรีแบบที่เป็นข่าวมันก็จะยังไม่มีผลเท่าไหร่เนื่องจากก็จะมีองค์กรหรือบริษัทจำนวนมากใน main feed ยังคงต้องพึ่งพาปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในฟีดอยู่ดี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องจับตาสถานการณ์ต่อไป
หาก Twitter ยืนยันที่จะผลักให้บรรดาบริษัทหรือแบรนด์ต่างๆจ่ายเงินตามแพคเกจ Verification for Organization เพื่อ Gold Checkmark ก็คาดว่าจะมีบริษัทหรือแบรนด์จำนวนมากเช่นกันที่เลือกที่จะไม่เข้าร่วมรับ Checkmark ดังกล่าวด้วยเหตุผลด้านราคาซึ่งก็แน่นอนว่า Twitter อาจจะมีการทดสอบและปรับเปลี่ยนรูปแบบต่อไปในอนาคตได้
อีกเรื่องที่ต้องพิจารณาก็คือความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ที่อาจเกิดขึ้นแม้คุณจะจ่ายเงินเพื่อให้มี Checkmark ปรากฏขึ้นบนบัญชีของคุณแล้ว ก็เป็นไปได้ด้วยเช่นกันว่าแบรนด์คุณอาจจะถูกมองในแง่ลบว่าพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้ความสนใจจาก Twitter มากเกินไปก็เป็นได้
แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องรอดูกันต่อไปว่าแนวทางของ Twitter ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เรื่องของ “ตวามน่าเชื่อถือ” ที่ในเวลานี้สามารถซื้อได้แล้วจะทำให้โลกธุรกิจใน Twitter เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เรากำลังจะได้เห็ฯกันแล้วในสัปดาห์ข้างหน้านี้หลังจาก Twitter จะเลิกใช้ Blue Checkmark แบบเดิมลงแล้วจริงๆนั่นเอง
ที่มา Social Media Today