“ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันอาจจะไม่ค่อยดีกับสุขภาพ แต่เลิกชอบไม่ได้นะ?”
คำนี้อาจจะใช้ได้กับขนมขบเคี้ยวที่เป็นของโปรดใครหลาย ๆ คน แน่นอนว่าขนมส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นมิตรต่อสุขภาพมากนัก ยิ่งบริโภคในจำนวนที่มากจนเกินไปอาจส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้ แต่ถึงรู้แบบนี้มันก็อดใจไม่ได้จริง ๆ ขอแค่ได้ลิ้มลองความอร่อยแล้วค่อยไปรู้สึกผิดทีหลังแทน
เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปบวกกับเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง ผู้คนเริ่มมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากยิ่งขึ้น นั่นทำให้ตลาดอาหารสุขภาพเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ หลายแบรนด์ที่กำลังดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอาหารก็พยายามที่จะนำสินค้าของตัวเองเข้าสู่ตลาด เช่นเดียวกับขนมที่เริ่มมี ขนมเพื่อสุขภาพ มาเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังตกอยู่ในเทรนด์นี้ โดยมูลค่าตลาดขนมปี 2564 จะอยู่ที่ 45,338 บาท (ที่มามูลค่าตลาดขนม : http://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=362)
กูลิโกะ (Glico) เป็นแบรนด์ขนมที่เครมตัวเองว่าเป็นขนมเพื่อสุขภาพ
“จะไม่มีการขายขนมของกูลิโกะที่ไม่ดีต่อสุขภาพต่อผู้คน”
คุณเอทสึโระ เอซากิ CEO กูลิโกะคนปัจจุบัน ให้นโยบายไว้
หากย้อนกลับไปเมื่อ 101 ปีก่อน สินค้าตัวแรกของกูลิโกะทำมาจากสาร Glycogen (คือสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต) พบได้ในน้ำซุปหอยนางรม ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยลูกชายของ ริอิจิ เอซากิ ผู้ก่อตั้งกูลิโกะ จากโรคไข้รากสาดใหญ่ หรือ Typhus หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาทำมาเป็นลูกอม “Glico Caramel” และตั้งใจที่จะพัฒนาสมรรถภาพทางกายของผู้คนด้วยการผลิตอาหาร กับวิสัยทัศน์ที่ว่า GREAT TASTE and GOOD HEALTH นั่นทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักในชื่อของขนมเสริมสุขภาพ
ทว่า ภาพลักษณ์ของกูลิโกะได้ถูกเปลี่ยนไปหลังจากที่ได้มีการลอนช์สินค้าขนมออกมาหลากหลายรูปแบบ ทำให้ถูกมองว่าเป็นผู้ที่ขายขนมทั่วไป บวกกับภาพจำของคำว่า ‘ขนม’ ที่หลาย ๆ คนก็คงคิดว่าขนมไม่ได้มีประโยชน์และไม่ได้เป็นมิตรต่อสุขภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
เมื่อวันที่ คุณเอทสึโระ เอซากิ CEO กูลิโกะคนปัจจุบัน ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง (24 มีนาคม 2022) เขามีความตั้งใจที่จะนำพากูลิโกะ กลับไปสู่เป้าหมายดั้งเดิม คือทำให้ผู้คนจดจำภาพเดิมของสิ่งที่กูลิโกะเป็น นั่นคือการเป็นขมมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ล่าสุด เขาตัดสินใจจ้างวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อย่าง คุณจุนอิจิ ฮาเซกาวะ ที่เคยมีประสบการณ์ร่วมงานกับ TOYOTA และ ENEOS Holdings (บริษัทน้ำมันของญี่ปุ่น) เพื่อที่จะหาความลงตัวระหว่างรสชาติและสารอาหารผ่านการเก็บวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Machine Learning ภายใน Lab ของกูลิโกะ เช่น การสร้างเตาอบอัตโนมัติเพื่อให้ได้ biscuits ที่มีสารอาหารครบถ้วน และสร้างแบคทีเรียมากกว่า 10,000 ชนิด ช่วยให้สุขภาพลำไส้ดียิ่งขึ้น รวมถึงนำ AI มาช่วยวิเคราะห์และร่นนะยะเวลาในการ Research and Development ว่าจะทำอย่างไรให้ขนมที่มีอยู่กลายเป็นขนมที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น
เรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี หลังจากที่มีการเปลี่ยน CEO มาเป็นคนปัจจุบัน โดยมีความตั้งใจที่จะไม่ขายขนมกูลิโกะที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพของคน ควบคู่กับวิสัยทัศน์ใหม่ Healthier days, Wellbeing for life เพื่อสานต่อความตั้งใจเดิมของคุณริอิจิ เอซากิ ผู้ก่อตั้งกูลิโกะ ไม่เพียงแต่ให้สุขภาพที่ดีแต่ยังต้องอร่อยอีกด้วย
ดังนั้น ทุก ๆ Product Line ของกูลิโกะได้มีการนำวิสัยทัศน์มาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็น ขนมของหวานและอาหารแปรรูป ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม วัตถุดิบสำหรับปรุงอาหาร ธุรกิจในต่างประเทศทั่วโลก และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีความสุขกับการรับประทานได้อย่างไม่รู้สึกผิดและมีสุขภาพที่ดี
สรุปได้ว่ากูลิโกะเองพยายามที่จะสืบสานความตั้งใจเดิมของแบรนด์เพื่อรักษาคำมั่นสัญญาที่จะทำให้ขนมในแบรนด์เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภคด้วยการพัฒนาสินค้า และเทรนด์ของสุขภาพก็มาช่วยทำให้การตลาดของกูลิโกะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
Source:
https://www.scmp.com/lifestyle/food-drink/article/3194433/japanese-food-giant-using-ai-make-snacks-nutritious-and
https://www.glico.com/assets/files/CSRREPORT2022.pdf