พลิกโฉมประเทศ กับตลาดสินเชื่อดิจิทัล สู่เศรษฐกิจไทย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างรุนแรง นอกจากจะทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ประชาชนยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อัตราความยากจนในประเทศเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 2 และประชาชนที่ได้รับผลกระทบกว่า 36 ล้านคน ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่เป็นทางการได้

ประชากรที่กำลังอยู่ในภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย พนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานขับรถรับจ้าง ด้วยสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคง กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องหันไปพึ่งสินเชื่อนอกระบบ หลายคนหันไปกู้ยืมหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยรายปีที่สูง จึงส่งผลให้เกิดหนี้เสียเป็นจำนวนมาก พวกเขามีความจำเป็นต้องนำเงินมาชำระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งนำเงินมาซื้ออาหารเพื่อประทังชีวิตของคนในครอบครัว และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศ “สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์” (Micro Finance) จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญ สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจในอนาคต และในปัจจุบันมีผู้ให้บริการมากมายที่มองเห็นโอกาส และได้รับประโยชน์จากการให้บริการ ท่ามกลางการแข่งขันกันในตลาดสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่กำลังเติบโต 

ยุคตื่นทองของผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lender)

สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะในปัจจุบันผลิตภัณฑ์สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์มีค่อนข้างหลากหลาย ทั้งสินเชื่อเครดิตและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ  สำหรับประชาชนทั่วประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในภาคธนาคารได้ สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ถือเป็นทางออก เพราะเป็นการให้กู้ยืมเงินในวงเงินที่ไม่สูง ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วย “นาโนไฟแนนซ์” (Nano Finance)  หรือสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ “พิโกไฟแนนซ์” (Pico Finance) หรือสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (ผู้กู้มีทางเลือกในการยื่นหลักฐานที่มีเพื่อประกอบการอนุมัติสินเชื่อได้)

อย่างไรก็ตามแม้ตลาดสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์จะมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่ก็ยังมีมูลค่าตลาดเพียง 2 แสนล้านบาท เปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของประเทศในปัจจุบันซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 14.3 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เพราะสัดส่วนของการปล่อยสินเชื่อถึงร้อยละ 85 มาจากสถาบันทางการเงินในประเทศ ดังนั้นสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึง รวมทั้งหนี้นอกระบบ (มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท) จึงถือเป็นโอกาสทองของผู้ให้บริการสินเชื่อที่จะเข้าถึงผู้กลุ่มบริโภคเหล่านี้ โดยเฉพาะประชาชนที่ถูกมองข้ามโดยกลุ่มสถาบันทางการเงินในตลาดสินเชื่อแบบมีหลักประกัน

ผู้ให้บริการสินเชื่อควรต้องมีความเข้าใจและสามารถพิชิตความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ให้บริการสินเชื่อกับผู้บริโภค อาทิ ความชัดเจนในการขอและอนุมัติสินเชื่อ ความรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ว่า ในปัจจุบันประชาชนยังคงต้องไปธนาคารสาขาเพื่อทำเรื่องขอสินเชื่อ ฯลฯ การยกระดับการให้บริการสินเชื่อด้วยโซลูชันดิจิทัลของฟินเทคจึงเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันชั้นเยี่ยมของผู้ให้บริการ โดยจะสามารถตอบโจทย์ตลาดที่มีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตที่สูง รวมไปถึงการใช้โทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 130%

ผู้ให้บริการสินเชื่อจำนวนมากตระหนักถึงแนวโน้มตลาดที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และได้นำโซลูชันในการอนุมัติสินเชื่อผ่านสมาร์ทโฟนเพียงไม่กี่นาทีมาตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากที่ไม่มีประวัติข้อมูลเครดิต การยืนยันตัวบุคคลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (Know Your Customer – KYC) คือหนึ่งในโซลูชันการยืนยันตัวตนของลูกค้าในการอนุมัติสินเชื่อในเวลาเพียง 5 นาทีนอกจากนั้นผู้ให้บริการสินเชื่อยังให้บริการด้วยโซลูชัน ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later – BNPL) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่สูงขึ้นของผู้บริโภคในประเทศ โดยมีจุดเด่นในเรื่องของความสะดวกและการเพิ่มสภาพคล่องในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริการทางการเงินที่ต้องใช้เวลาและด้อยประสิทธิภาพ จะไม่สามารถไปต่อได้ในอนาคต และแน่นอนว่าโมเดลการให้บริการใหม่ๆ อย่างสินเชื่อดิจิทัลจะเข้ามาแทนที่บริการแบบเดิมๆ ในที่สุด

ความรวดเร็ว คล่องตัว และยืดหยุ่น – ประตูสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

การปรับเปลี่ยนตัวเองสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกระแสความต้องการของสินเชื่อผู้บริโภค (Consumer Credit) ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ผู้ให้บริการจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรในทุกมิติ หรือตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยกระบวนการเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความไม่ซับซ้อน และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และหาก 3 ปัจจัยเหล่านี้ประกอบกันอย่างลงตัว ก็จะสามารถขับเคลื่อนสู่การเดินทางของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างราบรื่น และจะสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าได้:

  1. เทคโนโลยี เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในกระบวนการปรับเปลี่ยนองค์กร โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและทางเลือกที่หลากหลายขึ้น ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่าง 2-3 ปีที่แล้วซึ่งยังไม่มีเทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเหล่านี้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อที่จะนำโซลูชันมาช่วยในการพัฒนาระบบต่างๆ ให้ดำเนินอย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้ทันกับตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  2. กระบวนการ ปัจจุบันระยะเวลาที่นำสินค้าและบริการเข้าสู่ตลาด (Time to Market) จะต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้น ยิ่งใช้เวลามากเพียงใด โอกาสในการสร้างผลกำไรก็จะลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดกระบวนการต่างๆ ลง (ระบบ Lean) และความคล่องตัวถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่แต่ละองค์กรควรนำมาปรับใช้
  3. คน องค์กรจะต้องมีบริการที่เข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็วและสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน นวัตกรรมการบริการทางการเงินที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นบนโลกดิจิทัล (Composability) จะนำไปสู่การสร้างรายได้จากฐานข้อมูลของลูกค้า เพื่อสร้างมูลค่าของลูกค้าตลอดช่วงชีวิต (Customer Lifetime Value – CLV) ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า และสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าได้ และนอกจากนั้นผู้ให้บริการยังสามารถร่วมมือกับผู้พัฒนา QR Code และระบบพร้อมเพย์ เพื่อสร้างรายได้จากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และจากพฤติกรรมความชื่นชอบของผู้บริโภคได้อีกด้วย

นาย Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทยกล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคของการให้บริการสินเชื่อในรูปแบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในอีกไม่ช้า ดังนั้นสถาบันทางการเงินจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบัน Mambu ได้รับความไว้วางใจโดยผู้ให้บริการทางการเงินหลายร้อยรายทั่วโลก ในการให้บริการบนแพลตฟอร์มที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถสร้างบริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่ปลอดภัยสู่ตลาดได้ในเพียงไม่กี่สัปดาห์ ส่งผลให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น สำหรับตลาดในปัจจุบัน การสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการถือเป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับการกำหนดทิศทางในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ดังนั้นยิ่งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินสู่ตลาดช้าเพียงใด โอกาสในการสูญเสียรายได้และผลกำไรก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น”

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการสินเชื่อเป็นจำนวนมากที่กำลังเผชิญปัญหาด้านความซับซ้อนของขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ จึงไม่สามารถคว้าโอกาสในสังเวียนการแข่งขันของตลาดสินเชื่อของประเทศไทยในปัจจุบันได้  ทำให้ผู้ให้บริการเหล่านี้เสียเปรียบด้านการแข่งขัน และอาจเสียลูกค้าไปในที่สุด เพื่อคว้าโอกาสในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลจะต้องปรับตัวและให้บริการที่คล่องตัว โดยใช้แพลตฟอร์มคลาวด์เพื่อให้ทันกับการพัฒนาสินค้าและบริการออกสู่ตลาด ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที “บริการเดียว ตอบโจทย์ได้ทุกคน” (One Size Fits All) ไม่อาจนำมาใช้ได้กับตลาดในปัจจุบันอีกต่อไป ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถออกแบบโซลูชันที่แตกต่าง นำไปใช้เมื่อใดและอย่างไรก็ได้ เพื่อปลดล็อคศักยภาพการให้บริการในยุคสินเชื่อดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

[ข่าวประชาสัมพันธ์]


  •  
  •  
  •  
  •  
  •