คลิกที่วิดีโอ เพื่อชมย้อนหลัง
ในคราวที่แล้ว ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งกับพฤติกรรมผู้บริโภคและธุรกิจ ซึ่งเกิดขึ้นหลังเกิดสถานการณ์โรคระบาด แต่สถานการณ์ต่างย่อมมีวันสิ้นสุด ธุรกิจและแบรนด์ควรทำอย่างไร เมื่อสถานการณ์คลี่คลายหรือกลับสู่ภาวะปกติ
โดยยังคงอยู่กับกิจกรรม Today at Apple จาก 6 ซีรีส์ในคอนเซปต์ Creative for Business ภายใต้ความร่วมมือของ Apple และ Marketing Oops! จึงมีหัวข้ออย่าง แปลงร่างธุรกิจรับ New Normal กับ คุณณธิดา รัฐธนาวุฒิ ผู้ก่อตั้ง MarketingOops.com ที่ครั้งนี้จะก้าวข้ามผ่านเวลาไปสู่อนาคตที่ธุรกิจต้องก้าวไปถึง อะไรคือความท้าทาย อะไรคือสิ่งที่ธุรกิจต้องรับมือ
ก้าวต่อไปที่วิกฤตเป็นแรงผลักดัน
สิ่งที่จะได้เห็นต่อไปแน่นอนหลังจากนี้คือการซื้อขาย e-Commerce ที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อสินค้าครั้งแรกบน e-Commerce นอกจากนี้เว็บไซต์ของแบรนด์ยังจะได้รับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสที่จะสามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า e-Marketplace ในปัจจุบัน และเมื่อการช้อปปิ้งออนไลน์เติบโตมากขึ้น ระบบการชำระแบบ e-Payment ก็จะมีอัตราเติบโตเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันจะเริ่มเห็นได้ว่าร้านค้าหลายแห่งเริ่มรับชำระแบบ e-Payment และเหลือน้อยมากที่ร้านยังชำระเฉพาะเงินสดเท่านั้น
นอกจากนี้กระแส Community จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนตลาด e-Commerce เห็นได้ชัดเจนในกรณีของหม้อทอดไร้น้ำมัน หรือแม้แต่การรวมกลุ่ม Community เพื่อจัดโต๊ะทำงาน อีกสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอน คือรูปแบบการทำงาน Hybrid โดยเป็นรูปแบบงานทำงานที่ผสมผสานทั้งการทำงานในออฟฟิศและการทำงานที่บ้าน หลายออฟฟิศที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีขนาดเล็กลง พนักงานไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวันหรืออาจจะเป็นรูปแบบ Mobile Office
บางออฟฟิศอาจกลายเป็น Home Office ที่มีไว้สำหรับประชุม รวมไปถึงการจัดงานในรูปแบบ Event Hybrid ที่อาจจะไม่จำเป็นต้องออกมาจากบ้านก็สามารถเข้าร่วม Event ได้ นอกจากนี้ AI และระบบ Automation ก็เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต งานไหนที่ต้องทำซ้ำๆ เป็นประจำก็จะมีการใช้ AI เข้ามาแทน ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการเว้นระยะห่าง รวมไปถึงความแม่นยำในการทำงานและการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่ระบบ Automation ก็จะเข้ามาช่วยให้เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นยกตัวอย่างเช่น ระบบร้านค้าไร้พนักงาน (Unmanned Shop) ที่ประเทศจีนเริ่มมีการพัฒนารวมไปถึงที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ที่ประทับใจมากคือ โรบอทเภสัชฯ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการมาตรวจสอบอาการเพื่อหาว่าเหมาะสมกับยาตัวใดแล้วจะมีใบรายการออกมา จากนั้นแค่ไปหยิบรายการตามที่ใบกำหนด และล่าสุดกับระบบการเช็คอินโรงแรมที่ประเทศสิงคโปร์แบบไร้พนักงาน และสุดท้ายกับอนาคตการใช้เหรียญ Token ในการใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีหลายธุรกิจที่ต้องใช้เหรียญ Token ในการซื้อบริการอย่าง ตู้หยอดเหรียญซักผ้า เป็นต้น
10 ศัพท์ใหม่ที่นักการตลาดต้องเรียนรู้
นอกจากเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นมา ในอนาคตก็จะมีคำศัพท์ทางการตลาดใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างน้อย 10 คำ เริ่มจาก Metaverse หรือก็คือโลกเสมือนที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งในอนาคตจะมีการผสานกับเทคโนโลยี 5G ร่วมกับเทคโนโลยี AR และ VR ผ่านแว่นตา ช่วยให้เพื่อนอีก 5 คนที่อยู่ห่างไกลมาร่วมเล่นฟิตเนสได้ภายในโลกเสมือน Shecession เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงหลังต้องแบกรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากผลกระทบโรคระบาด
Flexperience เป็นการสร้างประสบการณ์ชั่วคราวหากรูปแบบปกติไม่สามารถทำได้ เหมือนที่การบินไทยเปิดให้บริการทานอาหารบนเครื่องบิน ที่แม้จะบินไม่ได้แต่ก็ให้ประสบการณ์การทานอาหารบนเครื่องบินได้ หรือที่มีบริการขับรถดขเาไปชมภาพยนตร์ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของ Flexperience อีกหนึ่งคำที่น่าสนใจอย่าง Climatarian หรือการทานอาหารที่ต้องเลือกวัตถุดิบที่ไม่มีการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์หรือทำลายสอ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
Gametainment หลายคนน่าจะรู้จักและคุ้นกันบ้าง คือการเล่นเกมออนไลน์บน YouTube หรือบน Social Media ขณะที่ Calmtainment จะคล้ายๆ กันแตกต่างกันที่ Calmtainment จะเน้นไปที่การทำสมาธิเพื่อผ่อนคลายความเครียดตลอดทังวัน หรือบางคนที่นอนไม่หลับก็จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น
Rewilding เป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศน์โดยจะเน้นตั้งแต่การเริ่มจากชิ้นแรก เป็นแนวคิดการฟื้นฟูโลกที่ไม่ใช่การเสริมภายหลัง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาวะโลกร้อน Digital Nutrition เป็นการใช้งานดิจิทัลแบบพอดีมีการเลือกเสพสื่อ หรือเลือกแชตข้อความลงบน Social Media ซึ่งมีผลต่อจิตใจ แตกต่างจากการ Detox Social หรือ Unpluggedที่เป็นลักษณะการหยุดใช้งานอย่างสิ้นเชิง
Workcation การทำงานที่ผสมผสานการพักผ่อนไปด้วยในตัว และถือเป็นรูปแบบการทำงานในฝันของใครหลายๆ คน ซึ่งธุรกิจโรงแรมสามารถนำรูปแบบไปเสริมการให้บริการได้ด้วย และสุดท้าย Micropreneurs เป็นแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบมาแล้วไม่ต้องการทำงานบริษัท แต่มองรูปแบบการทำธุรกิจ Startup
สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมตัวในยุคต่อไป
หลังจากนี้สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมตัว คือการใช้กลยุทธ์แบบ D2C (Direct to Consumer) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เรียกว่าหมดยุคของคนกลาง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางของสินค้ากว่าจะถึงมือผู้บริโภค ยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคได้ เห็นได้จากโรงงานผลิตในประเทศจีน เริ่มทำโฆษณาผ่านช่องทาง Social Media เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อได้โดยตรงกับผู้ผลิตในราคาที่ถูกลง
Be Agility and Diversify จะคล้ายๆกับของ GQ คิดและทำอย่างรวดเร็ว ดูสิ่งที่มีอยู่ในมือว่าจะกระจายไปในรูปแบบใดได้บ้าง หรือคล้ายๆ กับกรณีศึกษาของ Bar B Q Plaza ขณะที่ Differentiate และ Collaboration ซึ่งที่ผ่านมาหลายกรณีศึกษามีการร่วมมือกันกับพันธมิตรต่างๆ มากมายที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ขณะที่การคิดต่างต้องมองหาโอกาสแล้วสร้างโอกาสนั้นให้เกิดความแตกต่างเหมือนกรณีศึกษาของ มูเตเวิร์ล และ KAPONG
และเรื่องของ Customer Life Digitally เพราะทุกคนใช้ชีวิตบนโลกอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติ และทุกคนก็พร้อมที่จะใช้อินเตอร์เน็ตในทุกๆ เรื่อง จนทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ถ้าธุรกิจทำได้ออกมาไม่ดีผู้บริโภคก็จะรู้ได้ทันที ซึ่งแบรนด์ต้องคิดเสมอว่า ลูกค้าใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัล
Data เก็บง่ายๆ แค่ต้องสังเกตให้เป็น
มีหลายคนสงสัยเหมือนกัน Data มีความสำคัญกับธุรกิจ แต่ธุรกิจจะหาได้จากที่ไหน ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่ายๆ สั้นๆ ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัว ห้องเก็บขยะของคอนโดฯ เป็นแหล่งรวม Data ที่สำคัญ เพราะจะทำให้ทราบพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯ ซึ่ง Data ในห้องเก็บขยะจะชี้ให้เห็นว่าคนในคอนโดทานอะไรบ่อยที่สุด เครื่องดื่มแบรนด์ใดได้รับความนิยมจากคนในคอนโดมากที่สุด
นอกจากนี้ยังทำให้รู้ว่าห้องเก็บขยะจะสะอาดที่สุดในช่วงตอนเย็น เนื่องจากแม่บ้านจะต้องทำความสะอาดก่อนกลับบ้านทุกวัน หรือแม้แต่ทราบได้ว่า ทุกอาทิตย์จะมีคนในคอนโดสั่งพิซซ่ามาทาน ซึ่งหากธุรกิจได้ Data เหล่านี้ อาจช่วยให้ธุรกิจเหล่านั้นสามารถ Collaboration กับทางคอนโดในการจัดโปรโมชั่นให้กับลูกค้าในคอนโดที่ได้ หรือการจัดโปรโมชั่นเครื่องดื่มที่ลูกค้าในคอนโดนิยมมากที่สุด
Consumer Centric หัวใจสำคัญของธุรกิจ
อย่างนึงที่สำคัญมากๆ เลยคือการรับฟังเสียงลูกค้าในรูปแบบ Consumer Centric เพื่อให้ทราบว่าลูกค้าต้องการอะไรแล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาคิดต่างแล้วเสริฟไปให้ลูกค้าผ่านกระบวนการ Data นอกจากนี้ยังมีทริคเล็กๆ สำหรับแบรนด์ คนอายุน้อยมักมองแบรนด์ที่คุณภาพ ซึ่งแบรนด์ไหนที่มีคุณภาพสามารถตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบาย กลุ่มคนเหล่านี้พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
ขณะที่คนอายุมากมักจะมองแบรนด์ที่ราคา เพราะฉะนั้นถ้าคนกลุ่มนี้เจอสินค้าอะไรที่ถูกกว่าแล้วสามารถนำมาใช้ทดแทนได้เหมือนเดิม ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ยินดีที่จะเปลี่ยน เป็นเทคนิคที่แบรนด์สามารถนำไปปรับใช้ได้ และเพราะธุรกิจช้อปปิ้งออนไลน์เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมามีข้อมูลศึกษานำมาฝากกัน อย่างแรกสิ่งที่คนกลัวมากที่สุดในการซื้อขายออนไลน์คือ สินค้าไม่ตรงปก
นี่คือเสียงของผู้บริโภคที่ควรฟัง เพราะการได้สินค้าไม่ตรงปกทำให้ผู้บริโภครู้สึกเซ็ง อีกอย่างคือกลัวของที่ส่งมาเสียหาย ซึ่งลูกค้าที่สั่งสินค้ามาอยากใช้ได้ทันที แต่ต้องเสียเวลาติดต่อทำเรื่องขอเปลี่ยน ถ้าไม่แพงก็ต้องทำใจเพราะขี้เกียจเดินเรื่องต่อ แต่ถ้าสอนค้านั้นแพงก็ต้องเซ็งเสียเวลาอีกรอบ การส่งช้าก็เป็นอีกเรื่องที่น่ารำคาญ ขณะที่เรื่แงราคาปละโปรโมชั่นก็ยังคงเป็นเรื่องสำคัญของแบรนด์
#appleXmarketingoops
#todayatapple
#creativeforbusiness
#exclusiveevent