ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โควิด-19” เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ผู้คนบนโลกให้ความสำคัญและตระหนักในเรื่องสุขภาพและสุขอนามัยมากขึ้น ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้เรื่องของ Health จะเป็นเทรนด์โลกที่กำลังมาแรงอยู่แล้ว นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังประกาศให้ วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันแห่งการตระหนักในความสำคัญในประเด็นปัญหา เรื่อง Mental Health ซึ่งไม่ได้มองไปถึงแค่สุขภาพและความแข็งแรงทางกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงสุขภาพจิตและความแข็งแรงทางจิตใจด้วย ดังนั้น ลองมาสำรวจพฤติกรรมและการให้ความสำคัญของผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) และคนไทย กันว่ามีมุมมองความสนใจในเรื่องนี้อย่างไร นอกจากนี้ แบรนด์ และนักการตลาด และนักโฆษณา สามารถเก็บเกี่ยว Insight เหล่านี้ไปเป็นประโยช์ในการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง
โควิด ตัวเร่งสำคัญของประเด็น Mental Health
อย่างที่เกริ่นไว้ว่าโควิดทำให้ผู้คนสนใจปัญหาสุขภาพกายสุขภาพจิตมากขึ้น ทั้งนี้ จากผลสำรวจของ Statista ระบุว่า ในปี 2021 สถานการณ์โควิดส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพกับคนใน APAC โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อ Mental Health ของผู้คน ดังนี้
ประชากร APAC
- 25% บอกว่า ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพ เป็นสิ่งที่กังวลเป็นหลัก จากโควิด
- 20% บอกว่า กังวลเรื่องการพักผ่อน ไม่เพียงพอ จากปัญหาความเครียด
ประชากรไทย
- มากกว่า 1/3 ของคนไทย บอกว่า ในปีที่ผ่านมา ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากโควิด ทำให้เครียดและเกิดความกังวล
ผลการศึกษาโดย Social Media: Twitter, Spotify
ผลการศึกษาข้างต้น สอดรับกับการศึกษาของโซเชียลมีเดีย อย่าง Twitter ผ่านรายงานที่ชื่อว่า The Conversation: Twitter Trends Thailand ที่ได้เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ว่า ผลของ Covid-19 มีส่วนทำให้ ‘คำสนทนา’ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการตระหนักใน Mental Health เพิ่มขึ้นถึง 16% ในช่วงสามปีที่ผ่านมา (คลิกอ่านรายงานฉบับเต็ม https://bit.ly/3B1y7Oz)
#Spotify
ขณะที่ Spotify เปิดเผยผ่านรายงาน Culture NEXT Trends Report Thailand โดยระบุว่า
- ประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15-45 ปี มีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต
- และตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด มีผู้ใช้งาน Spotify จำนวนมากที่ค้นหา playlist เกี่ยวกับการช่วยให้จิตใจสงบ, นอนหลับง่าย, หรือฟังเพลงเศร้า โดยอัตราการเพิ่มขึ้นนั้นสูงถึง 60%
- 60% ของคน Gen Y และ Gen Z ใน APAC ใช้เสียงเพลงเป็นตัวช่วยในการบำบัดสุขภาพจิตและลดความเครียด (Spotify Culture NEXT Trends Report Thailand https://culturenextvol1-sea.spotifyforbrands.com/th)
คนที่มีแรงกดดันเดิม จะเครียดเพิ่มเติมในช่วงโควิด
ชีวิตก็ต้องสู้ให้ประสบความสำเร็จ ดันมาเจอโรคระบาดซ้ำอีก! ผลสำรวจของ GlobalWebIndex พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Gen Z และ Gen Y) ที่ได้เกิดภาวะความเครียดจนอาจนำไปสู่ Mental Health จากสถานการณ์โควิดนั้น 57% ของพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการประสบความสำเร็จในชีวิตอยู่เป็นทุนกดดันเดิมอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเรื่องของการเรียน หรือการทำงาน
ปัญหา Mental Health ไม่ใช่เรื่องที่ต้อง ‘ปิดบัง’ อีกตอ่ไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือ Mental Health ไม่ใช่เรื่องที่ต้องแอบซ่อนอีกต่อไป เราเริ่มเห็นเทรนด์ กระแสสังคมไทยที่เริ่มเปิดกว้างในประเด็นนี้ และ GenY คือกลุ่มที่กล้าพูดถึงปัญหา Mental Health ที่เกิดขึ้นกับตัวเองมากที่สุด
จากรายงานของ Twitter ที่ชื่อ The Conversation: Twitter Trends Thailand พบกว่า ภายใต้การเติบโตของคำสนทนาในเรื่อง Mental Health นั้น สิ่งที่เป็นแรงผลักดันอย่างหนึ่ง คือการที่ผู้คนเริ่มออกมารณรงค์การ Normalising Mental Health Conversation หรือการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถพูดถึง แสดงปัญหาที่มี และขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างได้อย่างเปิดเผย
ขณะที่การศึกษาของ GlobalWebIndex พบว่า “ในไทย” Gen Y คือ กลุ่มคนที่กล้าออกมาเปิดเผยปัญหา Mental Health ที่เกิดขึ้นกับตัวเองมากที่สุดที่ 36% รองลงมาคือ Gen X ที่ 31% และ Gen Z ที่ 30% (GlobalWebIndex, 2021)
Mental Health กับพฤติกรรมการใช้ Digital Media – การเสพคอนเทนต์
ผลของ Mental Health ต่อมุมมอง ทัศนคติ พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิตัลและการเสพคอนเทนต์ ยกตัวอย่างจากกลุ่ม Gen Y ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
(หมายเหตุ: เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่ม Gen Y ที่มีภาวะความเครียด กับกลุ่ม Gen Y ทั่วๆ ไป)
จากผลสำรวจของ GlobalWebIndex พบว่า กลุ่ม Gen Y ที่กล่าวว่าตัวเองตัวเองมีความเครียด ความกังวล และมีโอกาสประสบกับปัญหา Mental Health นั้น มีแนวโน้มจะทำ Social detox หรือวางแผนการใช้งาน social media ให้น้อยลงกว่า “Gen Y ทั่วไป” ถึง 30%
นอกจากการเล่นโซเชียลฯ ที่น้อยลงแล้ว ผลสำรวจเดียวกันนี้ยังกล่าวว่า Gen Y กลุ่มที่มีความเครียด มีแนวโน้มจะเล่นอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเล่นโซเชียลมีเดียหรือพื้นทีอื่นๆ ด้วยการไม่แสดงตัวตน (anonymous) เล่นแบบเงียบๆ มากกว่า Gen Y ทั่วไปถึง 38%
เน้นเสพอะไรที่สั้นๆ แต่ช่วยฮีลใจในวันที่เครียด Gen Y ที่มองว่าตัวเองกำลังประสบปัญหาความเครียด กังวล และมีแนวโน้มนำไปสู่ Mental Health มีแนวโน้มจะใช้มือถือเพื่อเสพวิดิโอสั้นๆ มากกว่า Gen Y ทั่วไปถึง 37% และ มีแนวโน้มจะเสพกลุ่มคอนเทนต์ประเภท Meme, Comedy, หรือวิดิโอตลกๆ ที่อยู่ในกระแสมากกว่า Gen Y ทั่วไปถึง 32%
เพลงหรือเสียงก็ช่วยได้ดี Gen Y ที่มองว่าตัวเองกำลังประสบปัญหาความเครียด กังวล และมีแนวโน้มนำไปสู่ Mental Health มีแนวโน้มจะใช้ Music-Streaming Service มากกว่า Gen Y ทั่วไปถึง 40% นอกจากนี้ 77% เห็นด้วยว่า การฟังเพลงช่วยให้พวกเขาผ่อนคลายและนอนหลับง่ายขึ้น มากไปกว่านั้น พวกเขามีแนวโน้มจะเห็นด้วยว่าการฟังเพลงช่วยพาเขาหลบหนีจากโลกความจริงที่วุ่นวายมากกว่า Gen Y ปกติทั่วไปถึง 17%
ปัญหา Mental Health เป็นบทสนทนาที่ถูกพูดมากขึ้นบน Twitter
นอกจากนี้ จากรายงานของ Twitter ที่ชื่อ The Conversation: Twitter Trends Thailand การเพิ่มขึ้นของประเด็นปัญหา Mental Health ภาวะความเครียด ความกังวล สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของเทรนด์ที่ชื่อว่า Imaginative Escapism หรือการเสพคอนเทนต์หรือการสนทนาที่เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรืออาจไม่ได้เกิดขึ้นจริง เป็นโลกเสมือนที่สร้างความสุขอันเกิดจากจินตนาการ ได้แก่ คอนเทนต์ประเภทการ์ตูน หรือซีรี่ย์ หรือแม้กระทั่งเทรนด์ที่ชื่อว่า Everyday Spiritualism ว่าด้วยเรื่องของการมองหาคำพูดดีๆ คำทำนายดีๆ หรือแม้กระทั่งสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเพื่อชะโลมจิตใจ เช่น เทรนด์การดูดวงออนไลน์ ให้กำลังใจกันผ่านข้อความสั้นๆบนโลกออนไลน์
“ใส่ใจ – สนใจให้มากกว่าเดิม” 2 สิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดต้องท่องขึ้นใจ
Mental Health ไม่ใช่โอกาสทางการตลาด และไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่เป็น pain ของผู้บริโภคที่ทวีความสำคัญในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y หรือวัยทำงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของนักการตลาด ดังนั้น ความสนใจและใส่ใจต่อผู้บริโภคยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง จากผลสำรวจของ GlobalWebIndex พบว่า Gen Y ที่กำลังประสบปัญหาความเครียดจนอาจนำไปสู่ภาวะ Mental Health ต่างๆ นั้น มีแนวโน้มที่จะคาดหวังให้แบรนด์ทุ่มความสำคัญ และศึกษา รับฟังให้มากขึ้นกับสิ่งที่พวกเขาสนใจจริงๆในชิ้นงานการตลาดหรือโฆษณาต่างๆ มากกว่า Gen Y ทั่วไปถึง 23%
มากไปกว่านั้น พวกเขายังมีแนวโน้มคาดหวังให้ แบรนด์ทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองมีส่วนร่วม มีความสำคัญในกิจกรรมทางการตลาด แคมเปญต่างๆ มากกว่า Gen Y ทั่วไปถึง 27%
ในขณะที่ คำแนะนำจาก MediaDonuts ในฐานะพารท์เนอร์ทางการตลาดและโฆษณา มีให้กับแบรดน์และนักการตลาด ที่จะทำแคมเปญหรือวางแผนการตลาดในช่วงนี้ว่า
1.ต้องเชื่อและเข้าใจในประเด็นปัญหา Mental Health อย่างแท้จริงและเริ่มจาก Purpose ของแบรนด์ก่อนจะลงมือทำ เนื่องจาก Mental Health ไม่ใช่กระแสทางการตลาด แต่เป็นความกังวลและภาวะทางสุขภาพที่ผู้บริโภคกำลังประสบ และนักการตลาดควรต้องรู้เพื่อให้เข้าใจผู้บริโภคในมิติที่ครอบคลุมขึ้น จากผลสำรวจของ GlobalWebIndex พบว่า 59% ของ Gen Y ที่อยู่ในกลุ่มที่มีแนวโน้มจะประสบกับภาวะ Mental Health มองหา แบรนด์ที่ Authentic ดังนั้น แบรนด์ต้องเชื่อในปัญหา Mental Health จริงๆ ก่อนจะลงมือทำอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หาก purpose หรือ essence ของแบรนด์เข้ากับประเด็นนี้ของผู้บริโภค และแบรนด์หาจุดที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นแคมเปญที่ดีที่มีส่วนช่วยผู้บริโภคได้ ก็นับได้ว่าเป็นเรื่องน่าทำ
- ปรับปรุงคุณภาพของข้อความและคอนเทนต์บนพื้นฐานของ Communicate with Compassion โควิด-19 ส่งผลต่อความเครียดและกังวล และความคาดหวังของผู้บริโภคต่อการสื่อสารของแบรนด์ โดย 73% ของผู้บริโภคใน APAC รวมทั้งในไทย เห็นด้วยว่าแบรนด์จะต้องสื่อสารโดยเน้นความเข้าใจในปัญหาที่ผู้บริโภคกำลังเจอโดยไม่วนอยู่แต่กับปัญหา แต่เสนอทางออกที่สร้างสรรค์ ผ่านข้อความและคอนเทนต์เชิงบวกทีช่วยฮีลใจผู้บริโภค
- เลือกใช้ช่องทางที่เอื้อต่อการส่งผ่านคอนเทนต์ที่สั้นแต่ช่วยฮีลใจ คอนเทนต์เชิงบวก สอดรับกับสิ่งที่ผู้บริโภคมองหา ยกตัวอย่าง เช่น เราจะพบเห็นเทรนด์ของการทวีตข้อความสั้นๆ แต่เป็นเชิงบวก เชิงการให้กำลังใจกันบน Twitter หรือการใช้ TikTok เล่าเรื่องที่เน้นความสุข ความสนุก หรือการใช้ Spotify เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคผ่อนคลายผ่านเสียง
- ให้ความสำคัญกับ Mental Health ของผู้บริโภค อย่าลืม ให้ความสำคัญกับ Mental Health ของทีมงานในองค์กรด้วย Mental Health เป็นที่พูดถึงอย่างมากในมุมของผู้บริโภค และสิ่งที่นักการตลาดต้องรับมือ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่องค์กรต้องไม่ลืมให้ความสำคัญของสุขภาพจิตของทีมและคนในองค์กร เพราะพวกเขาคือ ด่านหน้าที่รับมือและสร้างคุณค่าร่วมกับลูกค้าของแบรนด์
เอมี่ ปัญชรี สิทธิเสนี Managing Partner, MediaDonuts Thailand. กล่าวว่า ตอนนี้หลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงานมากขึ้น จากที่แต่ก่อนบริษัทมักมองว่าเป็นสิ่งที่ “ควรมี” แต่ตอนนี้กลายเป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” สิ่งที่พนักงานมองหาตอนนี้ไม่ใช่นโยบาย แต่คือการลงมือทำจริงให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงาน (Psychological safety) เมื่อพวกเขาสบายใจที่จะเป็นตัวของตัวเองแล้ว เขาจะกล้าคิดโดยไม่กลัวผิด กล้าคิดอย่างสร้างสรรค์ และกล้าเรียนรู้จากความผิดพลาด ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาดีตามลำดับ