เทคโนโลยี “Blockchain” เป็นที่รู้จักมาสักพักใหญ่ แต่น้อยคนที่จะเข้าใจระบบของเทคโนโลยีดังกล่าว ทั่วโลกหันมาใช้เทคโนโลยี Blockchain กันมากขึ้น เนื่องจากมีความปลอดภัยสูงลดปัญหาด้านทุจริต ที่สำคัญยังลดระยะเวลาการดำเนินการอีกด้วย โดย Blockchain ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการซื้อขาย Bitcoin แต่เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูงและตรวจสอบได้ ทำให้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับงานหลายประเภท
สำหรับในประเทศไทย Blockchain ถูกนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในงานด้านเอกสารระหว่างเอกชนและราชการเป็นหลัก โดยเฉพาะงานด้านการส่งออกนำเข้าเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการเดินเอกสาร หรือแบงค์ชาติที่มีการใช้ Blockchain ในระบบการชำระเงินของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ภายในประเทศ ภายใต้โครงการ “อินทนนท์” รวมถึงการใช้งานในระบบขายพันธบัตรออมทรัพย์ที่ผ่านมาอีกด้วย
ล่าสุด Blockchain พัฒนาเข้าสู่ “โลกศิลปะ” ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการซื้องานศิลปะสามารถตรวจสอบได้ว่า งานชิ้นนั้นเป็นของศิลปินคนดังกล่าวจริง ไม่ใช่ของปลอมที่ทำลอกเลียนแบบขึ้นมา รวมไปถึงสามารถตรวจสอบได้ว่าศิลปะชิ้นดังกล่าวเป็นของแท้หรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบร่องรอยที่มาที่ไปของศิลปะชิ้นนั้นได้
ในแง่ของศิลปิน เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้ศิลปินสามารถขายผลงานของตัวเองได้ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางซึ่งที่ผ่านมาคนกลางจะกดราคาทำให้ศิลปินได้เงินไม่เท่ากับรายได้จริงที่คนกลางได้รับ รวมไปถึงในอดีตเมื่อศิลปินขายศิลปะไปแล้วลิขสิทธิ์จะตกอยู่กับคนกลาง เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยให้ศิลปินยังคงมีลิขสิทธิ์ของตัวเองในงานศิลปะชิ้นนั้นๆ เนื่องจากที่ผ่านมาศิลปินหลายท่านมีชื่อเสียงช่วงอายุมาก แต่ไม่สามารถเก็บค่าลิขสิทธิ์ของผลงานตัวเองได้
ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยี Blockchain ยังช่วยให้ศิลปินทราบถึงความต้องการลักษณะงานศิลปะของตลาดอีกด้วย ช่วยให้ศิลปินมีแนวทางในการสร้างผลงานศิลปะที่ตอบความต้องการของตลาดได้ ทั้งหมดนี้งานศิลปะจะถูกขายซื้อขายด้วยเงินดิจิทัลสกุล Ethereum
เมื่อย้อนกลับมาที่ประเทศไทยจะพบว่า ขั้นตอนการทำงานของภาคเอกชนหลายอย่างสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้งานร่วมได้ อาทิ สายงานการผลิต สายงานด้านขนส่ง
Source: NBC News