ต้องยอมรับว่าความโดดเด่นภายใต้ชื่อ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” คือ ความสร้างสรรค์ ที่มักถูกพูดถึงผ่านผลงาน ไอเดีย และหลักสูตรการศึกษา ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับภาคธุรกิจต่าง ๆ ไม่ใช่แค่ Ecosystem ที่ถูกจำกัดในภาคการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการสอนทั้งทักษะและความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับรับกับการศึกษาและสถานการณ์ปัจจุบันได้
“ค่านิยม – กรอบสังคม” กำแพงใหญ่ที่ปิดกั้น Passion กลายเป็น Pain Point
ตั้งแต่เด็ก จนโต กระทั่งเข้าสู่สายอาชีพได้ทำงานจริง เชื่อว่าแต่ละคนต้องเคยมีความฝัน ความชื่นชอบ มี Passion ที่เคยวาดหวังไว้ แต่สุดท้ายก็อาจเลือนหายไปตามกาลเวลา หรือหลายต่อหลายครั้ง…กลับกลายเป็นอุปสรรคในการตัดสินใจเลือกเส้นทางศึกษาต่อของเด็ก ๆ เพียงเพราะไม่มั่นใจและต้องเจอคำถามจากสังคมรวมถึงผู้คนรอบข้าง
เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หยิบมาสื่อสารกับเยาวชนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจว่าการเลือกสอบเข้าตามค่านิยมของคนรุ่นใหม่ มากกว่าเลือกเรียนรู้สิ่งที่เป็น Passion ของตนเองนั้น ท้ายที่สุดแล้ว…ต้องจบออกมาเพื่อทำงานที่ตนเองไม่ได้รัก ไม่ได้ชอบ อาจต้องเสียเวลาเรียนรู้หรือกลับมาเริ่มต้นใหม่กับสิ่งที่ต้องการมากกว่า ในขณะที่การเลือกเรียนในสิ่งที่รักหรือถนัดจะทำให้เราได้ทำงานอย่างมีความสุข มีศักยภาพในการคิดและนำเสนอผลงานอย่างมุ่งมั่น นำไปสู่ความเต็มใจที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของโลกยุคใหม่ที่ทุกคนต้องพร้อมสำหรับการ Unlearn และ Relearn อยู่ตลอดเวลา
ผนึก “Creative Idea & Creative Story” ปั้นความสำเร็จในแบบตนเอง
ประเด็นดังกล่าวถูกส่งต่อเป็นแคมเปญสร้างสรรค์สะกิดอารมณ์ “ออกแบบความสำเร็จ ด้วย passion ของตัวคุณเอง” จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพสถาบันการศึกษาที่สนับสนุน ให้ทุกคนเรียนรู้เพื่อต่อยอด passion ของตนเองไปสู่ความสำเร็จในอนาคต
#DEK64 คุณเผลอทำอะไรหล่นหายไปรึเปล่า? เรากำลังรอให้คุณมารับ passion…
โพสต์โดย Bangkok University เมื่อ วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2020
แคมเปญนี้ถูกสื่อสารผ่านวิดีโอโฆษณา ความยาวเกือบ 5 นาที ที่เต็มไปด้วยความ “Creative” ทั้งมุม “Creative Idea” สะท้อนถึงความเจ็บปวด การตัดสินใจเรียนต่อของเด็กไทย ซึ่งจำเป็นต้องทิ้งความฝัน มองข้าม Passion ของตัวเอง เรื่องราวจึงเป็นการเล่าถึง Passion ที่หายไป ผ่านแผนกติดตามของหาย หรือ Lost & Found ที่เต็มไปด้วยกอง Passion ซึ่งผู้คนพากันทิ้งขว้างเอาไว้เป็นจำนวนมาก บางคนหลงลืม บางคนทิ้งขว้างไป
ขณะเดียวกัน ก็ยังมีประเด็น “Creative Story” ที่แคมเปญสื่อสารออกมา เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ ไม่หลงลืม Passion ของตนเอง แม้จะถูกคนรอบข้างหรือครอบครัวตั้งคำถามต่อสิ่งที่เลือก จนเกิดความลังเลหรือถูกกดดัน ซึ่ง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ต้องการสนับสนุนให้พวกเขามั่นใจและกล้าเลือกในสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริง เพื่อเดินตามความฝัน ออกแบบชีวิตของตนเอง ทำให้เด็ก ๆ กลายเป็นคนกล้าคิด เปลี่ยนเด็กให้เป็นผู้ออกแบบความฝันของตัวเอง และมาต่อยอดการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ต่อยอด Passion สู่ความสำเร็จ ด้วยแนวคิดการเรียนรู้แบบ ม.กรุงเทพ
เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และรู้จักตัวเอง ผ่านการเรียนแบบลงมือทำ (project-based learning) ได้ลองผิดลองถูก และสามารถเรียนข้ามศาสตร์ได้หลากหลาย เพื่อได้ค้นพบความชอบ จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง และสร้าง “แผนที่ชีวิต” ในแบบเฉพาะตัว และส่งเสริมทักษะจำเป็นรอบด้านเพื่อการทำงานอย่างมืออาชีพ ที่สำคัญคือทันยุค และมีสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดและผลงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับความร่วมมือจากตัวจริงในแวดวงธุรกิจที่มาทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและต่อยอดความรู้ ภายใต้แนวทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มุ่งเน้น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความพร้อมใช้เทคโนโลยี (Technology) และความคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
ถ่ายทอด “5 DNAs of Success” วิธีพัฒนาทักษะและความคิด
สิ่งที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เข้าไปช่วยต่อยอด Passion ของเด็ก ๆ ถูกส่งต่อผ่านวิธีการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและวิธีคิดแห่งความสำเร็จ โดยเรียกว่าเป็น “5 DNAs of Success” ซึ่งอาจารย์ทุกคนจะทำหน้าที่เสมือนโค้ช เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้คิด วิเคราะห์ ไม่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ มากกว่าแค่การท่องจำ ถือเป็น 5 ความฉลาดรูปแบบใหม่เพื่อความสำเร็จในปัจจุบัน ได้แก่…
Passionate : มุ่งมั่นตั้งใจเรียนรู้และสู้ในสิ่งที่รัก
Street Smart : ฉลาดมีไหวพริบทันโลก
Creative : สร้างสรรค์ มีมุมมองใหม่ ๆ
Curious : ฉลาดตั้งคำถาม
Collaborative : ฉลาดหาความร่วมมือ
ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่สิ่งที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพทำเพื่อสื่อถึงแคมเปญ “ออกแบบความสำเร็จ ด้วย Passion ของตัวคุณเอง” แต่เป็นการตอกย้ำถึงภาพลักษณ์และแนวคิดที่มุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยฯ ที่จะช่วยผลักดันเด็กยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จในแบบของตัวเอง