รู้จักมาตรวัดปริมาณข้อมูลในยุค Data Driven และในอนาคต พร้อมการเปรียบเทียบที่ช่วยให้เห็นปริมาณข้อมูล

  • 73
  •  
  •  
  •  
  •  

 

Data Volume

ในโลกที่ใช้ Data เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจผ่านพฤติกรรมผู้บริโภค หัวใจสำคัญในการจัดเก็บ Data คือพื้นที่หน่วยความจำ ยิ่ง Data มีปริมาณมหาศาลมากเพียงใด พื้นที่หน่วยความจำยิ่งต้องมีมากขึ้นตามไปด้วย ลองคิดกันง่ายๆ ในหนึ่งวันเราหยิบมือถือสไลด์ ส่องใบหน้าหรือสแกนลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อคหน้าจอกันกี่ครั้งต่อวัน หรือในหนึ่งวันเราเปิด LINE Facebook Twitter Instagram YouTube กันกี่ครั้ง นี่ยังไม่นับรวมการเข้าไปสไลด์ดูสินค้าใน e-Commerce ทั้งช่วงเวลาที่ว่างและไม่ว่างด้วยนะ

ปัจจุบันเราพูดถึงหน่วยความจำในระดับ “เทราไบต์ – Teกrabytes” (ขณะที่ในมือถือยังอยู่ที่ระดับกิ๊กกะไบต์ – Gigabytes) แต่นับวันปริมาณข้อมูลก็จะยิ่งเพิ่มทวีคูณมากขึ้น ตามความต้องการใช้ Data ที่เพิ่มขึ้น หน่วยความจำจึงต้องมีการเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งมีการเตรียมหน่วยวัดในจำนวนที่มากกว่าเทอราไบต์เอาไว้แล้ว รวมไปถึงหน่วยวัดที่มีขนาดเล็ก

Data Disk

สำหรับหน่วยวัดปริมาณข้อมูลที่เล็กที่สุดเรียกกันว่า “บิต – Bit” ย่อมาจาก Binary Digit หรือก็คือเลขฐานสองที่มีเพียงแค่ 0 กับ 1 ที่เรามักจะเรียกกันว่า “ภาษาคอมพิวเตอร์” ซึ่งสามารถนำมาคำนวนสมการในทางคณิตศาสตร์แล้วแปลงค่าให้กลายเป็นภาษาและตัวเลขที่ทุกคนใช้ในปัจจุบัน ซึ่งปริมาณ Data จะเพิ่มขึ้นในอัตรา 1 เท่าตัว เช่น 2 Bits, 4 Bits, 8 Bits เป็นต้น

เมื่อปริมาณข้อมูลแตะที่ระดับ 8 Bit หน่วยวัดปริมาณข้อมูลจะเปลี่ยนเป็น “ไบต์ – Byte” เทียบเท่ากับ 1 ตัวอักษรหรือ 1 ตัวเลข โดยการเพิ่มขึ้นของข้อมูลจะยังคงเป็นรูปแบบ 1 เท่าตัว เช่น 8 Bytes, 16 Bytes, 32 Bytes, 64 Bytes เป็นต้น เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 1,024 Bytes หน่วยวัดข้อมูลจะเปลี่ยนไปเป็น “กิโลไบต์ – Kilobytes” ใช้ตัวย่อว่า KB เทียบได้กับ 1 พันตัวอักษร

Data Storage

หลังจากนี้เป็นต้นไป ค่าปริมาณข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 1,024 เท่า เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 1,024KB หน่วยวัดข้อมูลจะเปลี่ยนไปเป็น “เมกกะไบต์ – Megabytes” ใช้ตัวย่อว่า MB คิดให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีจำนวน 1 ล้านไบต์ ขณะที่ปริมาณข้อมูลขนาด 1,024MB จะเปลี่ยนเป็น “กิ๊กกะไบต์ – Gigabytes” ใช้ตัวย่อว่า GB หรือเข้าใจง่ายๆ ว่ามีจำนวน 1 พันล้านไบต์ เทียบได้กับไฟล์เพลง MP3 ขนาด 4MB จำนวน 250 เพลง

 

เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 1,024GB หน่วยวัดข้อมูลจะเปลี่ยนไปเป็น “เทราไบต์ – Terabytes” ใช้ตัวย่อว่า TB คิดให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีจำนวน 1 ล้านล้านไบต์ เทียบได้กับไฟล์ภาพยนตร์ความละเอียด 4K ขนาดประมาณ 50GB จำนวน 20 เรื่อง และเมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 1,024TB หน่วยวัดข้อมูลจะเปลี่ยนไปเป็น “พีตาไบต์ หรือ เพตาไบต์ – Petabytes” ใช้ตัวย่อว่า PB คิดให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีจำนวน 1 พันล้านล้านไบต์ เทียบได้กับไฟล์ภาพยนตร์ความละเอียด 4K ขนาดประมาณ 50GB จำนวน 20,000 เรื่อง

Data-Analytics

หน่วยวัดปริมาณข้อมูลหลังจากนี้ คือหน่วยวัดปริมาณความจุที่มีการเตรียมไว้รองรับในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างมหาศาล (Big Data) โดยเมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 1,024PB หน่วยวัดข้อมูลจะเปลี่ยนไปเป็น “เอ็กซาไบต์ – Exabytes” ใช้ตัวย่อว่า EB คิดให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีจำนวน 1 ล้านล้านล้านไบต์ เทียบได้กับไฟล์ภาพยนตร์ความละเอียด 4K ขนาดประมาณ 50GB จำนวน 20 ล้านเรื่อง

เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 1,024EB หน่วยวัดข้อมูลจะเปลี่ยนไปเป็น “เซ็ตตาไบต์ – Zettabytes” ใช้ตัวย่อว่า ZB คิดให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีจำนวน 1 พันล้านล้านล้านไบต์ เทียบได้กับไฟล์ภาพยนตร์ความละเอียด 4K ขนาดประมาณ 50GB จำนวน 2 หมื่นล้านเรื่อง และเมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 1,024ZB หน่วยวัดข้อมูลจะเปลี่ยนไปเป็น “ย็อตตาไบต์ – Yottabytes” ใช้ตัวย่อว่า YB คิดให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีจำนวน 1 ล้านล้านล้านล้านไบต์ เทียบได้กับไฟล์ภาพยนตร์ความละเอียด 4K ขนาดประมาณ 50GB จำนวน 20 ล้านล้านเรื่อง

Data People

ปัจจุบันในภาคธุรกิจมีการใช้ปริมาณข้อมูลสูงสุดเข้าใกล้ระดับ Exabytes แล้ว ขณะที่ฝั่งผู้บริโภคยังอยู๋ในระดับ Terabytes โดยการใช้ปริมาณข้อมูลในภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่ง Yottabytes ถือเป็นหน่วยวัดปริมาณข้อมูลสูงสุดที่มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า

 

ขอขอบคุณข้อมูลโดย ADA


  • 73
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา