ร้านค้า รับชำระด้วยคริปโทเคอเรนซี่ได้หรือไม่ และควรเริ่มอย่างไร?

  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

ในปี 2020 เปรียบเสมือนปีที่เต็มไปด้วยข่าวคราวความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการพัฒนาของวงการดิจิทัลที่โดดเด่นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเองหลังจากที่มีกระแสข่าวที่ทางธนาคารกลางแห่งประเทศไทยเริ่มโครงการอินทนนท์ เพื่อพัฒนาโปรเจค “บาทดิจิทัล” หรือที่รู้จักกันในชื่อ CDBC (Central Bank Digital currency) เพื่อยกระดับการเงินแบบมหภาคของประเทศไทย ด้วยแนวคิดที่จะพัฒนาระบบการทำธุรกรรมแบบอัติโนมัติที่ตัวกลางมีหน้าที่เพียงเป็นเจ้าของระบบ เพื่อลดความยุ่งยากและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระบบการโอน-รับเงินระหว่างธนาคารในแบบเก่าๆ

ล่าสุด ทางธนาคารแห่งชาติของประเทศไทยเองได้มีการขยับก้าวใหญ่อีก้าวที่สำคัญ นั่นคือการประกาศ “พัฒนระบบการทำธุรกรรมเงินบาทดิจิท้ลสู่ภาคเอกชน” แม้ในเบื้องต้นจะเป็นการพัฒนาระบบการซื้อขายของธุรกิจระดับมหาชน SCG แต่หากการทดสอบนั้นสำเร็จและผ่านไปด้วยดี  นั่นเป็นสัญญาณที่ดีที่จะมีการพัฒนาระบบ “บาทดิจิทัล” ที่จะถูกใช้ในภาคประชาชนตามมา

แม้ในตอนนี้ระบบบาทดิจิทัลนี้จะยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา  ถ้าหากว่าเจ้าของกิจการท่านใดอยากจะเริ่มรับชำระเงินด้วย “สกุลเงินดิจิทัล” สามารถทำได้หรือไม่?

คำตอบก็คือ “ได้แน่นอน”

เพิ่มช่องทางชำระเงิน = เพิ่มโอกาสในการค้าขาย

นอกจากการชำระสินค้าด้วยวิธีเดิมๆ แบบที่เราคุ้นเคย ทั้งการชำระด้วยเงินสด, โอนผ่านธนาคาร หรือพวกบัตรเครดิดต่างๆ  ในยุคนี้เวลาเราไปซื้อของการเจอร้านที่แปะ QR code บัญชีธนาคารไว้เพื่อการชำระเงินที่สะดวกและรวดเร็วกลายเป็นเรื่องธรรมดา  แม้แต่แผงตลาดสดก็เริ่มมีการปรับตัวในส่วนี้เช่นกัน ยิ่งด้วยกระแส New Normal ที่การใช้ชีวิตของผู้คนเต็มไปด้วยการระวังตัว การเว้นระยะห่างอีกหนึ่งทางคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสเงินสดที่ผ่านมือใครหลายๆ คนมา ตรงส่วนนี้เองก็เหมือนตัวเร่งให้คนปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นกว่าเดิม

ณ ปัจจุบันเองการรับชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกมาแรง ในไทยเองก็มีร้านค้าเพิ่มการรับชำระรูปแบบนี้เข้ามา เป็นการเพิ่มความหลากหลายของช่องทางชำระเงินและดึงดูดความสนใจของผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้เป็นอย่างดี

อยากเริ่มต้นทำยังไง?

โดยทั่วไปแล้วสำหรับร้านค้าต่างๆ ที่อยากรับชำระเงินหรือบริการด้วยสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้สามารถเริ่มต้นระบบได้ด้วยตนเอง ยิ่งในประเทศไทยมีตลาดค้าขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตจากทางภาครัฐอย่างถูกต้องมากมาย การรับเหรียญสกุลดิจิทัลนั้นสามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทและถอนออกมาได้ง่ายๆ เพียงการกดขายใน Exchange

ที่น่าสนใจคือในปัจจุบันได้มีเว็บไซต์สำหรับให้บริการในการเป็นตัวกลาง “เปรียบเทียบและแปลงค่าเงิน” โดยผูกปลายทางที่รับชำระเงินไว้กับคริปโทวอลเล็ตของร้านค้าอีกที ซึ่งตัวกลางในส่วนนี้เองก็มีผู้ให้บริการค่อนข้างหลากหลาย และจำนวนเหรียญที่รับก็แตกต่างกันไป โดยทางเราได้รวบรวมเว็บไซต์ตัวกลางในการชำระเงินที่มี “คู่เงินบาท” ไว้ดังนี้*

1.https://bitcoin.org/en/

2.https://www.omise.co/

3.https://bitpay.com/

*โปรดศึกษาเงื่อนไขในการใช้บริการให้เข้าใจอย่างถี่ถ้วนก่อนเริ่มการใช้งาน

อธิบายรูปแบบการทำงานพื้นฐานของระบบ

ถ้าหากท่านผู้อ่านเป็นเจ้าของกิจการหรือร้านค้าที่อยากเพิ่มการรับชำระเงินตรงนี้  แต่ไม่อยากใช้ตัวกลางในการรับชำระเงิน  ท่านสามารถใช้ Wallet Address ของกระเป๋าในการรับชำระได้เลย แต่ข้อจำกัดตรงนี้คือ “ควรใช้กับพวก Stable coin (เหรียญมูลค่าคงที่) เท่านั้น”  เช่น  สกุลเงินหลักที่ใช้คือเงินดอลล่าร์ ทางร้านก็สามารถรับชำระเงินด้วยเหรียญ USDT แทนการรับชำระเงินแบบปกติได้เลย  หรือถ้าต้องการรับชำระด้วยสกุลเงินดิจิทัลที่ค่อนข้างหลากหลาย ในแอพพลิเคชั่นตามที่แนะนำไปด้านบนนั้นนอกจากเหรียญ BTC และ USDT แล้ว  ยังมีเหรียญสกุลหลักอื่นๆ ให้เลือกสรรอีกมากมาย (แต่ทางเราแนะนำว่าควรเลือกรับชำระเป็นสกุลเหรียญที่คนนิยมเทรดจะปลอดภัยที่สุด)

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหากทางร้านค้าต้องการเลือกสกุลเงินดิจิทัลอาทิ BTC , ETH , XZC , XLM เพื่อความสะดวกรวดเร็วการเลือกใช้บริการ Payment Gate way ของผู้ให้บริการในตลาดถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะทางผู้ประกอบการณ์จะสามารถเลือกสกุลเหรียญที่ต้องการรับ รวมถึงคู่แพร์มูลค่าเหรียญได้โดยตรง

เนื่องจากโดยปกติแล้ว สกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้มีความผันผวนของราคาสูงมาก  ดังนั้นผู้ให้บริการ Payment Gateway จึงมีบทบาทเข้ามาอำนวยความสะดวก โดยทำการคอยแสดงมูลค่าของจำนวนเหรียญที่ต้องจ่ายโดยเทียบมูลค่าจริงๆ ของสินค้าที่ลูกค้าซื้อ  เช่น

  • น้ำ 1 แก้ว ราคา 10 บาท
  • ลูกค้าต้องการจ่ายด้วยเหรียญ X
  • เหรียญ X จำนวน 1 เหรียญมีมูลค่าเทียบเท่าเงิน 5 บาท
  • ลูกค้าต้องจ่ายค่าซื้อน้ำ 1 แก้วเป็นเหรียญ X จำนวน 2 เหรียญ (และอาจมีค่าบริการเพิ่มเติมในการทำธุรกรรมของเหรียญในระบบอีกเล็กน้อย)
  • ทั้งหมดนี้ระบบจะทำการคำนวนราคาที่จ่ายเทียบกับราคาเหรียญ ณ เวลานั้นจริงๆ
  • ระบบทำการโอนเหรียญที่ได้รับเข้าสู่วอลเล็ตของร้านค้าที่ทำการผูกไว้
  • ร้านค้านำเหรียญเหล่านั้นสามารถแลกออกมาเป็นบาทได้โดยการขายตามกระดานเทรดในไทยเพื่อแลกกลับเป็นเงินบาท

จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วการเปิดบริการรับชำระด้วยเงินสกุลพิเศษเหล่านี้สามารถทำได้ง่ายและสะดวกสบาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขวิธีการใช้บริการ Payment gateway แต่ละรายอย่างถี่ถ้วนก่อนการใช้งาน

 

 

เขียนโดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
Expertise:
  Blockchain & FinTech
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่


  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •  
Jirayut Srupsrisopa
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำงานในแวดวงอุตสาหกรรม เทคโนโลยี Cryptocurrency และ Blockchain ก่อนหน้านี้เคยทำงานในฐานะนายธนาคารด้านการลงทุนที่ปรึกษาทางการเงินและนายธนาคารกลาง มีประสบการณ์การเป็นวิทยากรหนึ่งในทีมชั้นนำระดับประเทศ จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร ตอนนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ bitkub.com - การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย