ขณะที่ประเทศต่างๆกำลังรับมือกับ COVID-19 ประเทศจีนเป็นประเทศแรกๆที่กำลังฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆทั้งในด้านสาธารณสุขและภาคธุรกิจ ฉะนั้นภาคธุรกิจในบ้านเราไม่ช้าก็เร็วก็กำลังจะเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวเช่นกัน การที่เราเรียนรู้วิธีรับมือกับวิกฤติจากภาคธุรกิจของจีนจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
และนี่คือ 7 บทเรียนการปรับตัวของภาคธุรกิจในจีนในช่วง COVID-19 ที่ธุรกิจในบ้านเราสามารถเอาไปปรับใช้ได้
1. มองไปข้างหน้า และทบทวนการดำเนินกิจการอยู่ตลอดเวลา
เพราะเมื่อวิกฤติที่เกิดขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การที่ธุรกิจทำตามแผนโดยไม่คอยทบทวนอยู่เสมออาจสร้างความเสียหายต่อตัวกิจการเอง ที่ประเทศจีน ในช่วงที่ไวรัส COVID-19 ระบาดใหม่ๆ ผู้ผลิตบะหมีกึ่งสำเร็จรูปและอาหารรายหนึ่งได้ทบทวนสิ่งที่กิจการทำอยู่ทุกๆวัน เช่นคอยคาดการณ์สต็อกสินค้าและวัตถุดิบไว้ล่วงหน้าว่าจะหมดเมื่อไหร่? เน้นการขายหน้าร้านใหญ่ๆให้น้อยลง เน้นขายหน้าร้านเล็กๆ และขายออนไลน์มากขึ้น รวมถึงปรับเปลี่ยนแผนการเปิดช่องทางการขายของได้ตลอดเวลา ทำให้ Supply Chain ส่งวัตถุดิบและสินค้ายืดหยุ่นมากขึ้นตามไปด้วย
2. พนักงานระดับล่างมีโอกาสตัดสินใจและแสดงภาะวผู้นำมากขึ้น
Huazhu (กิจการโรแรมหนึ่งของจีน) ที่มีโรงแรมกว่า 6,000 แห่งใน 400 เมือง แต่ละแห่งก็มีมีเจ้าหน้าที่คอยรับมือวิกฤติและทบทวนขั้นตอนสิ่งที่ต้องทำที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงได้แนะแนวทางล่วงหน้าเอาไว้ เจ้าหน้าที่แต่ละคนมีแอปฯมือถือของโรงแรม ให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าถึงข้อมูลที่ไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ ส่วนมาตรการดูแลสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ก็สามารถวิธีแก้ไขปัญหาใหม่ๆให้เหมาะกับพื้นที่นั้นๆได้โดยมีข้อมูลจากส่วนกลางแนะแนวเท่านั้น
3. สื่อสารให้ชัดเจนและให้ความปลอดภัยกับพนักงาน
เมื่อเกิดวิกฤติ สิ่งที่เรียกว่าคู่มือก็อาจจะไม่ชัดเจนว่าต้องจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างไร? เกิดความสับสนในการแก้ปัญหาและให้คำแนะนำกับพนักงานว่าต้องทำอย่างไรต่อไป พนักงานจึงต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน และสื่อสารกันไปในทางเดียว บริษัทที่จีนบางที่จึงรีบทำแนวทางในการสนับสนุนพนักงาน อย่างบริษัทที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ของใช้ในห้องครัวที่จีน ก็จะมีคู่มือบอกพนักงานว่าเวลากินข้าวในโรงอาหาร ควรนั่งตรงไหน รวมถึงแผนฉุกเฉินสำหรับสถานการณ์ที่ไม่ปรกติ การมีบริการตรวจสุขภาพให้พนักงงานและครอบครัวในช่วงไวรัสระบาดใหม่ๆ เป็นต้น
4. สามารถส่งพนักงานไปทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น
ในกรณีของร้านอาหารที่จีนที่มีรายได้ตกลงเรื่อยๆในช่วงไวรัสระบาด ร้านอาหาร โรงแรม และธุรกิจในเครือบันเทิงของจีนได้แชร์พนักงานกัน ให้พนักงานได้ทำงานที่ไหนก็ได้ตามที่พนักงานสะดวก ร้านอาหารไหนที่ต้องการพนักงานทำงานในช่วงเร่งด่วน ร้านนั้นก็สามารถยืมใช้พนักงานจากส่วนกลางที่มีการแชร์ระหว่างร้านอาหารต่างๆได้เลย
5. เปลี่ยนช่องทางการขายของและทำยอดขาย
Lin Qingxuan (บริษัทเครื่องสำอางค์ของจีน) จำเป็นต้องปิดร้านไป 40% ของสาขาทั้งหมดที่มีเพราะวิกฤติไวรัสระบาด บริษัทแก้ไขปัญหาด้วยการรวม Beauty Advisors ผู้เชี่ยวชาญด้านความสวยความงามของแต่ละสาขา มาเป็น Online Influencer ใช้เครื่องมือดิจิทัลให้เป็นประโยชน์อย่าง WeChat ไว้สื่อสารกับฐานแฟนเพื่อดันยอดขาย ผลคือยอดขายในเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นต้นเมืองของโรคระบาด บริษัทนี้สามารถดันยอดขายไป 200% มากกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเสียอีก
6. ใช้ Social Media เชื่อมต่อพนักงานและพาร์ทเนอร์ธุรกิจ
บริษัทชุดชั้นในที่ใหญ่ที่สุดของจียนอย่าง Cosmo Lady มีแผนดันยอดขายผ่าน WeChat โดยลิสต์ชื่อของพนักงานทั้งหมดไม่เว้นประธานและซีอีโอของบริษัท และจัดลำดับพนักงานที่สามารถขายสินค้าให้กับเพื่อนที่ตัวเองรู้จักได้มากที่สุด ตัวพนักงานเองยังสามารถชวนเพื่อนๆในบริษัทเข้าร่วมโปรแกรมเพื่มยอดขายให้บริษัทได้
7. เตรียมแผนฟื้นฟูกิจการที่มาเร็วกว่าที่คาดไว้
หลังจากที่ไวรัสระบาดได้เดือนครึ่ง จีนก็เข้าสู่ช่วงฟท้นตัวอย่างรวดเร็ว การจราจรติดขัดมากขึ้น กลายเป็นสัญญานว่าผู้คนเริ่มเดินทางและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น การใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้น เป็นสัญญานว่ามีการผลิตเพิ่มมากขึ้น ความมั่นใจในการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์มีมากขึ้นเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง How Chinese Companies Have Responded to Coronavirus โดย Martin Reeves, Lars Faeste, Cinthia Chen, Philipp Carlsson-Szlezak and Kevin Whitaker จาก Harvard Business Review มีนาคม 2020