5 ขั้นตอนเตรียมตัวรับมือวิกฤติ Supply Chain หากสถานการณ์หนักสุดขั้วจนอาจต้อง Lockdown

  • 993
  •  
  •  
  •  
  •  

Plan Supply Chain

จากมาตรการหยุดอยู่บ้าน จนภาครัฐต้องรณรงค์ “อยู๋บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นไปตามที่ภาครัฐคาดหวังมากเท่าที่ควร เห็นได้จากปริมาณรถยนต์บนท้องถนนที่ยังมากพอสมควร ประกอบกับยังสามารถพบเห็นู็คนจำนวนมากได้ที่ร้านสะดวกซื้อ หลายจังหวัดจึงเริ่มใช้ยาแรงเล็กๆ อย่างการจำกัดเวลาการเปิดให้บริการของร้านค้าทุกประเภท เพื่อลดการออกจากบ้านและมารวมตัวกันที่ร้านค้าเพื่อซื้อสินค้า

แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง แต่จากการที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ชี้แจงถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งอาจจะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดมากกว่านี้และ อาจจะ รวมถึงมาตรการสุดท้ายคือการ Lockdown เช่นที่ จ.ภูเก็ต เริ่มใช้มาตรการนี้แล้ว

Supply Chain-01

หากเกิดสถานการณ์รุนแรงเช่นนั้นจริง ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือผูประกอบการธุรกิจเพราะระบบ Supply Chain จะหยุดชะงัก จนไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจจึงควรต้องเตรียมตัวรับมือ กับวิกฤติที่ อาจจะ เกิดขึ้นได้ในอนาคตหากสถานการณ์การผู้ติดเชื้อ COVID-19 ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ

 

1. เตรียมแผนไว้ล่วงหน้า (Plan for Disruption)

ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า เพื่อเตรียมแผนสำรองที่มีประสิทธิภาพหรือการวางแผนรับมือไว้หลายๆ กรณี เพื่อให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ ผู็ประกอบการต้องเข้าใจสถานการณ์ว่าหากเกิดวิกฤติขึ้นจริง เป็นการยากมากที่จะคาดการณ์ได้ว่า สถานการณ์นั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อใด การเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องการทำงานและการเงินจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

Plan

ซึ่งสถานการณ์ COVID-19 สามารถมองจีนเป็นบทเรียนได้ เพราะเมื่อจีนเกิดวิกฤติจนต้อง Lockdown หลายประเทศก็ได้รับผลกระทบทันทีจากการที่ประเทศจีนเป็น Supply Chain ใหญ่ของโลก การกระจายความสี่ยงไปยังประเทศอื่นกลายเป็นสิ่งที่หลายประเทศดำเนินการ แม้แต่จีนเองก็มองหาแหล่ง Supply Chain ใหม่ หากสถานการณ์ในยุโรปและอเมริกายังลุกลามไปเรื่อยๆ

 

2. รับมือความเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาไม่ได้

การเตรียมแผนสำรองเป็นสิ่งที่ดี แต่จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบอกเลยว่า มีความไม่แน่นอนสูงเช่นที่ผ่านมาจากสถานการณ์ทรงตัวกลายเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายอย่างคาดไม่ถึงเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น ผู้ประกอบจึงต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลัน การใช้ซัพพลายเออร์เพียงแห่งเดียวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อกระบวนการ Supply Chain อย่างมาก

Backup Plan

ผู้ประกอบการบางรายในต่างประเทศ ถึงระดับต้องเตรียมซัพพลายเออร์สำรอง 2-3 รายในกรณีที่ซัพพลายเออร์เกิดประสบปัญหา บางรายเตรียมโรงงานสำรองเพื่อใช้ในสถานการณ์ที่โรงงานหลักไม่สามารถดำเนินการได้ และบางรายถึงขั้นมองหาสินค้าทดแทน หากสินค้าหลักไม่สามารถผลิตเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบได้ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรเตรียมรับมือให้พร้อมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปแบบยากเกินคาดเดา

 

3. อัพเดตสถานการณ์และซ้อมแผนรับมือเสมอ

สิ่งที่ดีทีุ่ดในสถานการณ์นี้คือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและแม่นยำเพื่อใช้ในการประเมินสถานการณ์ (Marketing Oops! มีการตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนนำเสนอ) การได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องย่อมช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์ได้ใกล้เคียงสถานการณ์มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ

contingency plans

การซ้อมแผนรับมือก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรับข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์ เพราะหากเตรียมความพร้อมมาดี แต่ขาดการซ้อมแผนรับมือเมื่อถึงวิกฤติเหตุการณ์จริง แผนที่เตรียมมาทั้งหมดอาจไม่ได้ผลหากไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง อย่างไร ซึ่งการซ้อมแผนรับมือนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือแล้ว ยังช่วยให้แผนการรับมือทำได้อย่างรวดเร็ว

 

Implement tech

4. เทคโนโลยีช่วยให้สื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยีไม่ได้ช่วยแค่ให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แต่เทคโนโลยียังช่วยให้สามารถสื่อสารเชื่อมโยงกับทุกแผนกในองค์กร เพื่อให้การสื่อสารทำได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นการใช้เทคโนโลยีสื่อสารไปยังซัพพลายเออร์จะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่่างรวดเร็ว และช่วยให้สามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

 

Stay ahead

5. อยู่ในจุดก่อนที่ตลาดเกิดความต้องการ

นอกจากการคาดการณ์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการยังต้องอ่านเกมตลาดให้ออก โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การไปอยู่ในตำแหน่งก่อนที่จะเกิดความต้องการของตลาด จะช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสในการก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำตลาดในยุคที่การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึถึงเสมอคือการไปอยู่ในตำแหน่งนั้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย เพราะหากไปอยู่ในจุดก่อนเกิดความต้องการของตลาดที่เร็วเกินไป อาจกลายเป็นการสร้างภาระต้นทุน ซึ่งมีตัวอย่างหลายแบรนด์ที่ไปก่อนเวลาอันควรแล้วต้องพับเสื่อกลับบ้านก่อนใครเช่นกัน

 

Source: Entrepreneur


  • 993
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา