[ข่าวประชาสัมพันธ์]
ล่าสุดในงาน Adman Awards 2019 จัดโดยสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยประกาศรางวัล แอดแมน อวอร์ส รางวัลสำหรับคนทำโฆษณาชั้นนำของไทยที่จัดขึ้นมากว่า 15 ปี การประกาศรางวัลของปีนี้ CJ WORX และบริษัทในเครือคว้ารางวัล Adman Awards ประจำปี 2019 ได้แก่ 2 Gold , 10 Silver , 9 Bronze และ เข้า 5 Finalist รวมถึงติดเป็น Top 5 Of Award By Companies ในงานนี้ด้วย
ซึ่งผลงานที่โดดเด่นบนเวที Adman ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ณ เวลานี้ คือผลงานชิ้นโบว์แดงจาก CJ WORX กับแคมเปญ “ไม่ไปไหนไป NETFLIX” ที่สร้างความชื่นชอบให้ใครหลายๆ คน รวมถึงโดนใจคณะกรรมการ
จุดเริ่มต้นความปัง
หลังจากที่เริ่มแคมเปญ จุดแรกที่เราจะเห็น คือป้ายบิลบอร์ด “ไม่ไปไหนไป NETFLIX” ที่ปรากฏอยู่บนท้องถนน ซึ่งข้อความบนป้าย ได้บอกระยะทางของจุดกลับรถ เพื่อสื่อความหมายว่าความสุขของการนอนดู NETFLIX ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการออกไปเที่ยวเลย และให้ผู้บริโภคเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายหรือจะกลับรถแล้วไปนอนดู NETFLIX แบบฟินๆ จุดนี้ได้เข้าไปโดน Insight ในใจใครหลายๆ คน จนการแชร์บนช่องทางต่างๆ ในเวลาต่อมา
หลังจากที่แคมเปญเริ่มด้วยออฟไลน์ ก็ถูกส่งต่อมายังช่องทางออนไลน์ ด้วยคลิปวิดีโอที่ได้คุณเอ็ด 7 วิ หนึ่งในสมาชิกของเสือร้องไห้ มาสื่อสารถึงการเดินทางไปเที่ยวช่วงปีใหม่ ว่าต้องเจอ ต้องผ่านอุปสรรคอะไรมากมายกว่าจะเจอความสุขที่ทุกคนรอคอย จุดนี้ก็ยิ่งเป็นการขยี้อีกว่า การอยู่บ้านนอนดู NETFLIX ก็เป็นอีกทางเลือกที่ไม่แย่นะ ในวันหยุดยาว
ต่อจากนั้นไม่นาน แคมเปญ “ไม่ไปไหนไป NETFLIX” ก็ได้ไปปรากฏบนแฟนเพจ จส.100 เป็นการขยายความอย่างต่อเนื่องไปสู่กลุ่มผู้บริโภคอีกครั้ง ซึ่งก็ได้สร้างความฮือฮาให้กับแฟนคลับจส.100 ไม่น้อย
ยิ่งไปกว่านั้นข้อความที่ NETFLIX อยากจะสื่อ ในเรื่องความชิว ความฟิน เมื่อได้นอนดู NETFLIX ก็ได้ถูกแพร่ไปยังเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ บนช่องทาง Instagram
ทั้งหมดถูกตอกย้ำด้วย Key Message ที่คมในเวลาที่ต่อเนื่องกัน จนทำให้แคมเปญนี้กระตุ้นการรับรู้ของผู้บริโภคและได้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคไปโดยปริยาย แถมยังถูกแบรนด์และดาราหยิบไปพูดต่อจนกลายเป็น Meme ทำให้ #ไม่ไปไหนไป NETFLIX เกิด Free Media จำนวนมหาศาล ดังนั้นการเปิดตัวของ NETFLIX จึงกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนจดจำคาแรกเตอร์หรือตัวตนของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
แคมเปญที่ดีเริ่มมาจากเชื้อที่ดี
คุณระเบิด ธนสรณ์ เจนการกิจ Executive Creative Director บริษัท CJ WORX ได้เปรียบเปรยความสำเร็จนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า แคมเปญที่ดีจริงๆ แล้วเริ่มต้นมาจากเชื้อที่ดี และฟืนที่ดี
- เชื้อที่ดี ในที่นี้ก็คือ Insight ของแคมเปญ “ไม่ไปไหนไป NETFLIX” ที่ว่าคนส่วนใหญ่อาจอยากออกไปท่องเที่ยวเฮฮาตามประสาวันหยุดช่วงเทศกาล แต่ก็ต้องยอมรับว่า เทรนด์ของโลกเปลี่ยนไป เพราะการเคาท์ดาวน์อาจไม่ใช่กิจกรรมเดียวที่ผู้คนยุคนี้เลือกทำในคืนข้ามปี ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากพักผ่อนนอนเอนกายอยู่บ้าน ดูหนัง ใช้ชีวิตชิลๆ ในช่วงวันหยุดของปี จึงกลายเป็นที่มาของแคมเปญนี้ ซึ่งยังไม่มีใครหยิบยก Insight นี้ขึ้นมาพูด
- ฟืนที่ดี คือ Media ช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่หยิบมาใช้ เช่น แฟนเพจของ NETFLIX เอง, แฟนเพจ จส.100, อินฟลูเอนเซอร์บน Instagram หรือแม้แต่ Free Media ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่ถูกนำมา Spin ต่อ จนแคมเปญถูกขยายวงกว้างไปอย่างต่อเนื่องจากช่องทางออฟไลน์ไปยังออนไลน์
ดังนั้นทั้ง 2 องค์ประกอบ เมื่อประกอบกันแล้วก็จะเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เป็นอันขาด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จของ แคมเปญ #ไม่ไปไหนไป NETFLIX เกิดขึ้นมาจากการเตรียมตัวที่ดี การทำการบ้านอย่างหนัก และการกล้าที่จะปล่อยแคมเปญในช่วงที่ไม่มีใครกล้าเสี่ยง หรือที่เรียกว่า การช่วงชิงช่วงเวลาสำคัญ (Hijack)
ส่วนอีกแคมเปญที่กวาดรางวัลไปไม่น้อยเช่นกันคือ แคมเปญ ช้อนปรุงลด หรือที่เห็นกันมากมายว่า ช้อนมีรู
โดย CJ WORX ดิจิทัลเอเจนซี เจ้าของแคมเปญ “ช้อนปรุงลด” ที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายลดการบริโภคเค็ม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ในการสื่อสารกับคนไทยในการลดการบริโภคโซเดียมลง เพราะพบว่ามีข้อมูลว่าคนไทยบริโภคโซเดียมมากกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกระบุไว้มากถึงเกือบ 2 เท่า เราจึงต้องใช้พลังครีเอทีฟขับเคลื่อนสังคม จนตกผลึกเป็น ช้อนมีรู ช้อนปรุงลด (โซเดียม)
โดยช้อนปรุงลดสำหรับตักเกลือได้แค่ 1/3 ช้อนชา ส่วนช้อนมีรูสำหรับตักน้ำปลา 2/3 ช้อนชา เหลือแต่เพียงปริมาณที่คงอยู่บนช้อนคือ 600 มิลลิกรัมต่อมื้อ หรือประมาณ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตามที่องค์การอนามัยโลกระบุ
ไม่เพียงแต่คลิปโฆษณาที่ถูกบอกเล่าผ่านแคมเปญในออนไลน์ รวมทั้งสื่อมวลชน องค์กรหน่วยงานต่างๆ เห็นภาพช้อน ต่างให้ความสนใจ และสร้าง Conversation ในโลกออนไลน์กันอย่างล้นหลาม
มีความเห็นหลากหลายคอมเมนต์ตามสื่อในออนไลน์ ทั้งอยากได้ช้อนเพื่อนำมาใช้กับตัวเอง หรือมีทั้งคิดว่าไม่ได้ผล เพราะสุดท้ายก็ตักหลายครั้งอยู่ดี และหลายคนคอมเมนต์ว่า เพิ่งทราบว่าปริมาณที่เหมาะต่อมื้อคือ หน้าตาประมาณนี้ของช้อนชา หรือแม้แต่ฝั่งคนรักสุขภาพ ก็ยังช่วยกันคอมเมนต์สร้างความเข้าใจให้กับคนที่เข้าใจผิดที่แม้ช้อนจะมีรู แต่ก็ยืนยันจะปรุงหลายครั้งอยู่ดี ให้เกิดความตระหนักในการบริโภคโซเดียมเกินปริมาณ
ทั้งหมดคือเป้าหมายของการสร้างแคมเปญ ช้อนปรุงลด หรือช้อนมีรู ซึ่งอาจไม่ได้เป็นอุปกรณ์สำหรับการลดการบริโภคโซเดียมเพียงวิธีการเดียวเท่านั้น แต่สุดท้าย ทำให้เกิดกระแส Conversation ให้คนจำได้ว่า ภาพจำของปริมาณน้ำปลาและเกลือในช้อนปรุง ควรเติมได้แค่ไหนต่อมื้อ รวมถึงการตระหนักใน Message ที่เราสื่อสารออกไป นี่เองคืออิมแพคของการสร้างสรรค์แคมเปญที่เรา CJ WORX ถือว่า เป็นสิ่งล้ำค่าในการสร้างสรรค์งานชิ้นหนึ่ง
นอกจากนี้ ทางสสส.ได้นำอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปต่อยอดในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์ เจ้าหน้าที่ต่างๆ โดยเฉพาะด้านโภชนาการ รวมถึงผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการทานโซเดียมสูง ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด โรคไต ฯลฯ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับต้นๆ
นอกจากนี้ทางแคมเปญได้รับการเชิญจาก FACEBOOK ประเทศไทย ในการร่วมสนับสนุนโครงการดีๆเพื่อสังคมที่โปรโมทผ่านช่องทางเฟซบุ๊กด้วยเช่นเดียวกับโครงการของพี่ตูน ที่หาเงินบริจาค เพื่ออุปกรณ์ทางการแพทย์
ล่าสุดทางเฟซบุ๊กได้แสดงความสนใจ พร้อมกับโครงการเพื่อสังคมอื่นๆ อาทิ โครงการของพี่ตูน โดยช่วยสนับสนุนในการตัดเป็นคลิปและเชิญชวนผู้ใช้เฟซบุ๊กในหลากหลายรูปแบบ
ทั้งการนำไปทำคลิปสั้น 15 วินาที ให้เกิดภาพจำว่าปริมาณเกลือที่ควรบริโภคต่อมื้อว่า ไม่เกิน 1/3 ช้อนชา หรือน้ำปลา 2/3 ช้อนชา นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการทำภาพเป็นโพลล์ให้โหวตทั้งในเฟซบุ๊กและอินสตราแกรม ว่า คนไทยจำได้ไหมว่า ควรบริโภคเกลือในปริมาณเท่าไหร่ของช้อนชา ทั้งหมดเพื่อกระตุ้นเตือนภาพจำของคนไทย แม้ไม่มีช้อน แต่ทุกคนจะได้ถูกตอกย้ำการบริโภคโซเดียม เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดจะได้เห็นในเร็วๆนี้
อีกหนึ่งในโครงการดีๆ ที่ CJ WORX ดึงศักยภาพพลังของความครีเอทีฟที่ถนัด ในฐานะดิจิทัลเอเจนซี อันดับ 6 ของเอเชีย กับแคมเปญดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมาร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทยและสังคมไทยดีขึ้น