เปิดตัวโครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” พร้อมจับมือพันธมิตรร่วมพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

  • 13.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

น้ำคือชีวิตคำพูดนี้ไม่ได้กล่าวเกินความเป็นจริง เพราะโดยหลักวิทยาศาสตร์มนุษย์ขาดอาหารได้นานกว่าขาดน้ำ หากมีเพียงน้ำมนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น “น้ำ” ยังเป็นสิ่งสำคัญกับทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ทั้งพืชและสัตว์และพยายามหาแหล่งที่อยู่ที่มีแหล่งน้ำเป็นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม “ลุ่มน้ำ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำนั้น ยังไม่ได้รับความสนใจและการดูแลที่ดีพอ

ลุ่มน้ำ” เป็นแหล่งที่รองรับน้ำฝนทั้งหมด ทว่า กลับไม่ได้รับการดูแลอย่างดีเท่าที่ควร

กลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์กระทิงแดง (เรดบูล), เรดดี้, โสมพลัส, สปอนเซอร์, แมนซั่ม, เพียวริคุและซันสแนค จึงได้เปิดตัวโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน

โดย นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เห็นว่า น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต อีกทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่างมีความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นทุกปี รวมถึงปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประเทศของเรา

กลุ่มธุรกิจ TCP หนึ่งในองค์กรที่ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลักในการดำเนินธุรกิจ จึงกำหนดให้การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอยู่ในกรอบการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย จึงมุ่งเน้นด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกมิติอย่างยั่งยืน ทั้งน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน (น้ำบาดาล) โดยตั้งเป้าภายใน 5 ปี (พ.ศ. 2562 – 2566) จะสามารถชุมชนมีน้ำใช้เพิ่มขึ้นกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ยังได้ร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน.ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำปราจีน ก่อนขยายไปสู่ลุ่มน้ำอื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนทำงานร่วมกับองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสนับสนุนการศึกษาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินและส่งผลให้น้ำผิวดินมีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย

ห้วยหนองคลองบึง แหล่งน้ำบนพื้นดิน

โดยกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำแถบพื้นที่จังหวัดแพร่และปราจีนบุรีจนประสบผลสำเร็จ โครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” จึงเป็นโครงการต่อยอดเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการตลอดทั้งลุ่มน้ำ จึงได้ขยายความร่วมมือไปในพื้นที่ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำปราจีน เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง สร้างสมดุลน้ำให้แก่ชุมชนในทั้งสองลุ่มน้ำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี โดยในอนาคตยังมีแผนขยายการพัฒนาออกไปจนครบทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชี้ว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ มีหน้าที่สนับสนุนและถ่ายทอดความสำเร็จเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปสู่ชุมชนเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านหลักการทำงานที่เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

โดยปัจจุบันสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. เห็นว่า ประเทศไทยมีปริมาณฝนตกตลอดทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 754,730 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่กักเก็บน้ำฝนได้เพียงราว 43,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นเพียง 5.7% ของน้ำฝน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้เพียงแค่ 17% ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมีมากกว่า 100,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านมากกว่า 36,000 หมู่บ้าน ที่อยู่นอกพี้นที่เขตชลประทานและยังไม่ได้จัดการน้ำชุมชน

น้ำบาดาล อีกแหล่งน้ำสำคัญที่ต้องดูแล

นอกจากน้ำบนดินจะเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญแล้ว น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลยังเป็นแหล่งน้ำที่หลายชุมชนพึ่งพาเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่นอกเขตชลประทาน เพราะการใช้น้ำบาดาลจำนวนมากโดยไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ส่งผลให้หลายพื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินลดต่ำลงมาก กระทบทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพของน้ำใต้ดิน ไปจนถึงต้นทุนในการสูบน้ำที่สูงขึ้น

กลุ่มธุรกิจ TCP เห็นความสำคัญของน้ำบาดาล แม้จะไม่มีการนำมาใช้ในธุรกิจ โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย จึงได้ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการศึกษาวิจัย รวมทั้งประเมินศักยภาพของพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการนำน้ำคืนสู่ชั้นใต้ดิน พร้อมกับให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องน้ำบาดาล

จากผลการวิจัยพบว่า การใช้น้ำใต้ดินมากเกินไปจะส่งผลกระทบ 2 ด้าน ทั้งเรื่องปัญหาระดับปริมาณน้ำบาดาลที่ลดลง และชุมชนต้องลงทุนสูงขึ้นกว่าเดิม 2-3 เท่าในการเจาะบ่อให้ลึกกว่าเดิม โดยโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ได้ศึกษาหาแนวทางในการเติมน้ำใต้ดิน ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ลดปัญหาภัยแล้ง และคืนความสมดุลให้กับแหล่งน้ำใต้ดิน พร้อมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์น้ำใต้ดินให้แก่ชุมชนอีกด้วย

ตามแผนการดำเนินงาน 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2562-2666 คาดว่าจะสามารถช่วยให้ชุมชนในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำปราจีนกว่า 16,000 ครอบครัวใน 6 จังหวัด ได้เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกลุ่มธุรกิจ TCP ได้สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินการไว้ราว 100 ล้านบาท

นอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นกับคนทั่วไป กลุ่มธุรกิจ TCP ยังได้วางแผนจัดกิจกรรมอาสาสมัครผ่านโครงการ “TCP Spirit” ซึ่งเน้นการทำกิจกรรมร่วมกับอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ โดยโครงการนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว ปีนี้จะจัดกิจกรรมทั้งหมด 2 ครั้ง ภายใต้แนวคิด “พยาบาลลุ่มน้ำ” เพื่อพาอาสาสมัครรุ่นใหม่เกือบ 200 คน ไปเปิดประสบการณ์ เข้าใจปัญหาลุ่มน้ำ และสร้างความตระหนักรู้ รวมทั้งร่วมลงมือทำงานแก้ปัญหา โดยเริ่มครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ที่จังหวัดน่าน และปิดท้ายโครงการในเดือนตุลาคม

ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมของกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ที่ www.tcp.com และ https://www.facebook.com/TCPGroupThailand


  • 13.2K
  •  
  •  
  •  
  •