อีคอมเมิร์ซจีน JD.com ฟอร์มโดดเด่นในครึ่งปีแรก 2019

  • 52
  •  
  •  
  •  
  •  

JD.com ยังคงผงาด

เชื่อว่าเวลานี้คนไทยคงเริ่มรู้จักแอพลิเคชั่นชื่อดังอย่าง WeChat และ Alipay กันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในเวลานี้ทั้งสองถือว่าเป็นแอพกระเป๋าเงินออนไลน์ E-Wallet ที่คนจีนใช้งานกันมากที่สุด นอกจากนี้ สำหรับ WeChat แล้วยังมีการเชื่อมโยงการทำงานเข้ากับเว็บ JD.com ซึ่งถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซ B2C อันดับสองของจีน เป็นรองเพียง Tmall ในเครือ Alibaba ของแจ็คหม่าเท่านั้น

ในปัจจุบัน บริษัท Jingdong หรือที่เรียกกันว่า JD.com ผู้ให้บริการด้านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน และในปัจจุบันก็เข้ามาร่วมอยู่ในเครือของบริษัท Tencent บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและผู้ให้บริการ WeChat ที่คนจีนใช้งานมากที่สุด ก็ได้ออกมาประกาศถึงรายได้ของบริษัทในช่วงไตรมาสแรกของปี 2019 ที่ผ่านมาว่า แตะที่หลัก 1.21 แสนล้านหยวน (หรือประมาณ 1.18 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ได้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวที่ 44% จากที่เคยได้อยู่ที่ 1.24 ล้านหยวน นับว่าเป็นการเติบโตชนิดก้าวกระโดดอย่างมาก

สำหรับในส่วนของผลกำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ในไตรมาสแรกของปี 2019 อยู่ที่ 7.3 พันล้านหยวน ในขณะที่ปีก่อนได้อยู่ราว 1.5 พันล้านหยวน

ลูกค้าเพิ่มขึ้น

การโยง JD.com เข้ากับ WeChat นับว่ามีส่วนไม่น้อยต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการของเว็บ เพราะ WeChat เป็นแอพลิเคชั่นที่คนจีนมีการเข้าลงทะเบียนและใช้งานสูงสุดในเวลานี้ โดยมี User ที่ลงทะเบียนสูงถึง 1,000 ล้านคน ในประเทศจีน

ข้อมูลจาก Chinainternetwatch ชี้ว่า ลูกค้าประจำปีที่ลงทะเบียนใช้งานอยู่ของเว็บ เพิ่มขึ้นเป็น 310.5 ล้านคน หลังจากเดือน ธ.ค. 2018 ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนอยู่ที่ 305.3 ล้านคน

สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2019 จำนวนลูกค้าผู้ใช้งานยังเพิ่มขึ้นราว 15% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปีก่อน

เน้นบริการขนส่ง และ Logistics

เป็นนโยบายหลักของบริษัท ที่ให้ความสำคัญกับระบบ Logistics ในการขนส่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคให้ได้รวดเร็ว ทันใจ และไว้วางใจได้ และสามารถจะจัดส่งไปทั่วประเทศให้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนี่เป็นคำประกาศของนาย ริชาร์ด หลิว ประธานบริหารและ CEO ของบริษัท

การให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยี และการจัดขนส่ง เป็นโมเดลที่คล้ายกับ Amazon ยักษ์ใหญ่ด้านค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซของสหรัฐฮเมริกา ซึ่งทาง JD.com ก็ต้องการที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าในการจัดส่งให้ดีขึ้น และเป็นแบรนด์ที่เข้มแข็งในระยะยาวด้วย

ในปัจจุบัน ระบบ Logistics ของบริษัท ได้รับการประเมินว่าเป็นอันดับหนึ่งของจีน นอกจากนี้ในเดือน เม.ย. 2019 ที่ผ่านมา ยังมีความร่วมมือที่จะขยายแบรนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ตร่วมกับบริษัท Partner รวมแล้วอีกกว่า 1,000 สาขาทั่วประเทศจีน

Data’s Crowdsourcing

การนำระบบ Data’s Crowdsourcing เข้ามาช่วยสำหรับบริการของซุปเปอร์มาร์เก็ตในเครือ รวมถึงช่องทางออนไลน์ จะช่วยให้ทำการวิเคราะห์ตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายและซื้อสินค้า ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบ ช่วยให้ประเมินพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

กลยุทธ์การร่วมมือกับ Tencent

Tencent ถือว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับต้น ๆ ของจีนที่ขับเคี่ยวมากับ Alibaba

สำหรับ JD.com พวกเขาได้ทำการขยายความร่วมมือจากสัญญาเดิมที่เคยมี และได้ขยายความร่วมมือออกไปเป็นสามปี ในวันที่ 27 พ.ค. 2019 โดยจะเป็นการยกระดับความร่วมมือและการโยงเข้ากับบริการของ WeChat ที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การโฆษณา การเข้าถึงผู้บริโภค และบริการสำหรับสมาชิก ไปจนถึงโปรโมชั่นอื่น ๆ

ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนด้านการตลาดและเข้าถึงสินค้าผ่านระบบออนไลน์ถึงลูกค้าและผู้สนใจโดยตรง ผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ WeChat โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการลงทุนใน 3 ปีต่อจากนี้

JD Health

เป็นอีกหนึ่งตลาดใหญ่ที่ JD.com เข้ามาจับ สำหรับธุรกิจและบริการทางด้านสุขภาพ Healthcare โดยมี JD Health เป็นหัวหอกที่สำคัญ โดยมีการเพิ่มเงินลงทุนในบริษัทมากขึ้นราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐจากการระดมทุนของบริษัทและผู้ร่วมทุน และคาดว่าจะทำให้ JD Health ขึ้นมาเป็นหัวหอกสำหรับธุรกิจด้านนี้ได้ในอนาคตอันใกล้

จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยาน และช่วงเวลาทองของ JD.com ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ที่น่าจับตามองอย่างมาก

เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 52
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”