เผย #ธุรกิจที่จะเป็นม้ามืด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทิศทางอนาคตของ #เศรษฐกิจดิจิทัลไทย กับ Ben King ผู้นำ Google ประเทศไทย

  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  

การเติบโตของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตไทย หรือ ไทยเรียกว่า เศรษฐกิจดิจิทัล นั้นได้รับอานิสงส์จากจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น

ben-king-google-digital-economy-l
อัพเดทผู้นำองค์กร ส่องทิศทางอนาคตของ #เศรษฐกิจดิจิทัลไทย กับ เบน คิง แห่ง Google

 

เบน คิง ผู้อำนวยการ กูเกิลประเทศไทย กล่าวถึงรายงานตัวเลขจาก e-Conomy Southeast Asia 2018 โดยทาง Google จัดทำร่วมกับ Temasek ว่า ยอดขายที่เกิดบนแพล็ตฟอร์มอินเทอร์เน็ต (GMV) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และในปี 2025 คาดการณ์กันว่า ยอดขายดังกล่าวจะสูงขึ้นมาอยู่ที่ 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงขึ้นกว่า 40 พันล้านดอลลาร์ที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

google-digital-economy

 

จุดเปลี่ยนผ่านที่นำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลแบบเข้มข้น

ในช่วงปี 2015-2018 เรียกได้ว่าเป็นช่วงจุดเปลี่ยนผ่านที่นำไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจดิจิทัลแบบเข้มข้น เพราะมีสัญญาณจากเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น เช่น การช่วงชิงฐานผู้ใช้หรือฐานลูกค้ากันดุเดือด โดยเฉพาะธุรกิจประเภทเดียวกันหรือคล้ายกัน และยิ่งอยู่ในยุคที่ผู้ประกอบการมองกันว่าเป็น “คู่แข่ง” มากกว่า “คู่ค้า” ตลอดจน การเกิดผู้เล่นระดับชาติในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ หลายธุรกิจก็เกิดเลียนแบบโมเดลของต่างประเทศมาใช้ มาต่อยอดและมาพัฒนาให้เข้ากับตลาดของตัวเอง และอุปสรรคในการระดมทุน โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มักพิจารณาขนาดของตลาดมาก่อน จึงทำให้โอกาสทุนส่วนใหญ่ไปอยู่กับธุรกิจที่มีสเกลที่ใหญ่และแมสกว่า รวมไปถึง ความท้าทายในอีโคซิสเต็ม เป็นต้น

แน่นอนว่า เมื่อพูดถึงเรื่องของจุดเปลี่ยนผ่านที่มากับความท้าทายและอุปสรรคแล้ว ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นตามมาด้วย โดยภาพรวมในปี 2018 เป็นต้นมา และในอนาคต ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้เห็นธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับมูลค่าระยะยาว หรือฐานลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สูง เช่น ธุรกิจที่มีแพล็ตฟอร์มของตัวเองและเชื่อมต่อทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ โมบายล์แอพพลิเคชัน ออนไลน์-2-ออฟไลน์ ฯลฯ และที่แน่ ๆ คือ จะได้เห็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นเพิ่มขึ้นในประเทศอื่น ๆ    โดยปัจจุบัน มียูนิคอร์นเกิดขึ้นแล้วในสิงคโปร์และอินโดนีเซียที่มีโครงสร้างทางนโยบายและสภาพแวดล้อมในการลงทุนที่เอื้อกว่า แต่ในอนาคตข้างหน้า เราจะเห็นยูนิคอร์นเกิดมากขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยิ่งไปกว่านั้น การระดมทุนก็จะเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะสตาร์ทอัพด้านเทค ฯลฯ อันจะทำให้เกิดแอพพลิเคชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับไลฟ์สไตล์ที่เป็นดิจิทัลของผู้บริโภคไทยมากขึ้น

ben-king-google-digital-economy-l
อัพเดทผู้นำองค์กร ส่องทิศทางอนาคตของ #เศรษฐกิจดิจิทัลไทย กับ เบน คิง แห่ง Google

ภาพรวมเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตบนมือถือของคนไทยเฉลี่ย 6.4 ชั่วโมงต่อวัน ทำเอานักลงทุนต่างชาติถึงกับทึ่งไปตาม ๆ กัน ในขณะที่การใช้โมบายล์อินเทอร์เน็ตในประเทศอื่น ๆ ก็มีอัตราที่สูงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์และสิงคโปร์ โดย Google & Temasek คาดการณ์ว่า มูลค่าการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงถึง 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 ทั้งนี้ได้รับอานิสงส์จากต้นทุนของโมบายล์อินเทอร์เน็ตที่ถูกลงและหาซื้อได้ง่าย อันเป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และธุรกิจรถร่วมโดยสาร

ทั้งนี้ ผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือของตัวเองเข้ากับเว็บไซต์ต่าง ๆ เพราะสะดวกสบาย แต่หากเทียบกับผู้ใช้ในตะวันตกแล้ว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เชื่อมต่อเว็บไซต์ผ่านเดสก์ทอปตัวเองทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ดังนั้น การใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเพื่อสืบค้นหาและเข้าสู่เว็บไซต์ของผู้ใช้จำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตอีกทางอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ดาต้าผ่านโมบายล์อินเทอร์เน็ตราคาไม่แพง เพราะราคาของดาต้าต่อกิกกะไบท์ลดลงมาถึง 80% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม ผู้ใช้จึงสามารถใช้โมบายล์อินเทอร์เน็ตกันแบบไม่กลัวว่ายอดบนใบแจ้งหนี้จะเป็นเท่าไร และทำให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ธุรกิจรถร่วมโดยสารและธุรกิจอื่น ๆ เติบโตอย่างมาก

 

ปัจจัยเกื้อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล

เป็นที่รู้กันดีว่า รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนทุกช่องทาง เพื่อผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงภาคเอกชนก็มีคอร์ปอเร็ตต่าง ๆ ให้ทุนสนับสนุนในรูปของการลงทุนร่วม (Corporate Venture Capital)

Google & Temasek เปิดเผยรายงานตัวเลขขนาดของธุรกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 4 ภาคธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจรถร่วมโดยสาร (รวมรถแท็กซี่ รถยนต์ส่วนบุคคลและมอเตอร์ไซค์ด้วย) ออนไลน์มีเดีย ท่องเที่ยวออนไลน์ และอี-คอมเมิร์ซ โดยระบุว่า ในปี 2015-2018 ธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์เติบโตจาก 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2015 มาอยู่ที่ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และคาดการณ์ว่า ในปี 2025 ธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์จะโตขึ้นมาอยู่ที่ 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั่นเอง

ecommerce thailand

ride hailing

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่จะเป็นม้ามืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2025 คงหนี้ไม่พ้นธุรกิจออนไลน์มีเดียและอี-คอมเมิร์ซ

โดยธุรกิจออนไลน์มีเดียในปี 2015 มีมูลค่าอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตมาอยู่ที่ 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และคาดว่าจะโตขึ้นถึง 31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีระหว่าง 2015-1018 อยู่ที่ 44%

ส่วนธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในปี 2015 มีมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตมาอยู่ที่ 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และคาดว่าจะเติบโตถึง 102 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยจากปี 2015-2025 จะสูงถึงอีก 34% จาก 62% ในปี 2015-2018

 

อีคอมเมิร์ซโตแบบก้าวกระโดดและจะเป็นดาวรุ่งในอนาคต

ออนไลน์ชอปปิ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โตแบบก้าวกระโดด โดยในปี 2018 มีมูลค่าสูงถึง 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ได้รับอานิสงส์จากผู้เล่นอี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค ได้แก่ Shoppee, Tokopedia และ Lazada ทั้งนี้ มีผู้ซื้อสินค้าจากทั้งสามแพล็ตฟอร์มราว 120 ล้านคนในปีที่ผ่านมา และสัดส่วนของตลาดจากทั้ง 3 แพล็ตฟอร์มอยู่ที่ 70% ของธุรกิจออนไลน์ทั้งหมดในภูมิภาค

รายงานใน Google & Temasek ยังระบุอีกว่า มูลค่าอี-คอมเมิร์ซจะเกิน 100 พันล้านดออลาร์สหรัฐภายในปี 2025 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์เชื่อถือและไว้ใจในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และยอดเติบโตจะเห็นได้ชัดเจนในอินโดนีเซีย ที่สามารถสร้างรายได้และกำไรเฉลี่ย 1 ดอลลาร์สหรัฐจากการลงทุน 2 ดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาค

ในส่วนของธุรกิจที่กำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงไปทั่วภูมิภาคในขณะนี้ คือ ธุรกิจรถร่วมโดยสาร ที่มีมูลค่าการเติบโตอยู่ที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015  และเติบโตขึ้นมาแตะ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และจะเติบโตถึง 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 ทั้งนี้ หากคิดเป็นสัดส่วนการเติบโตระหว่างปี 2015-2025 จะอยู่ที่ 26% ซึ่งสูงขึ้นจากเดิม 39% ในปี 2018 และผู้เล่นหลักที่กำลังสร้างความสนใจให้กับสื่อทั่วโลกได้แก่ Grab และ Go-Jek ที่เป็นยูนิคอร์นในภูมิภาคไปเรียบร้อยแล้ว

 

ben-king-google-digital-economy-l
อัพเดทผู้นำองค์กร ส่องทิศทางอนาคตของ #เศรษฐกิจดิจิทัลไทย กับ เบน คิง แห่ง Google

 

เม็ดเงินจะสะพัดขึ้น จากกิจกรรมระดมทุมในภูมิภาค

Google & Temasek เคยกังวลและมองเห็นความท้าทายที่ต้องจับตา โดยเฉพาะในเรื่องของ การระดมทุน ที่มีความเป็นไปได้สูงที่ทุนอาจจะไม่มีเพียงพอให้สตาร์ทอัพในภูมิภาค โดยเฉพาะสตาร์ทอัพด้านเทคที่มีศักยภาพสูง แต่ต้องใช้ทุนมหาศาลในการขับเคลื่อน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการระดมทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับสูงขึ้นถึง 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขครึ่งหนึ่งของเม็ดเงินที่ต้องระดมทุนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลภายใจปี 2025 ที่ทาง Google & Temasek เคยคาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ ในครึ่งปีแรกของ 2018 มูลค่ากระดมทุนของสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับมูลค่าของการระดมทุนในปี 2017 ทั้งปี และทุนส่วนใหญ่เทลงไปยังสตาร์ทอัพยูนิคอร์น 9 แห่งในภูมิภาค สตาร์ทอัพเหล่านี้มีมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยูนิคอร์นบางแห่งก็เพิ่มทุนได้อีกในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เช่น Grab ที่ระดมทุนได้ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Go-Jek ก็ระดมทุนเพิ่มได้อีก 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ส่วน Lazada ก็ระดมทุนได้อีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก Alibaba ในเดือนมีนาคม 2018

ดังนั้น ในปีนี้และปีหน้า ๆ เราจะได้เห็นกิจกรรมการระดมทุนเพื่อนำมาลงในธุรกิจสตาร์ทอัพที่ดุขึ้น มากขึ้น ถี่ขึ้น และมั่งคั่งขึ้น ส่วนการระดมทุนและการลงทุนในภาคธุรกิจอื่น ๆ ก็ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเม็ดเงินจากการระดมทุนก็ไปที่ภาคธุรกิจอื่น ๆ เช่น สตาร์ทอัพ FinTech สุขภาพและการแพทย์ และการศึกษา ซึ่งพากันเติบโตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเช่นกัน แม้ว่ายังไม่ได้นำมาเสนอผ่านรายงานของ Google & Temasek ก็ตาม เฉพาะ สตาร์ทอัพ FinTech อย่างเดียว ในปีที่ผ่านมาก็มีมูลค่าการระดมทุนสูงถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรกของ 2018 ซึ่งสูงขึ้นกว่ายอดระดมทุนในปีก่อนหน้าหลายเท่าตัว

**บทความนี้เป็นประโยชน์หรืออยู่ในความสนใจของคุณหรือไม่? ร่วมตอบคำถาม พร้อมลุ้นรับ exclusive gifts จาก Google

อ่านเพิ่มเติมบทความเอ็กซ์คลูซีฟ Think with Google X Marketing Oops!


  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ