พูดถึงตลาดเครื่องสำอางและสินค้าบิวตี้ในไทย คาดว่าจะโตได้อีกปีละ 7.7% ยิ่งวิถีชีวิตคนไทยที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ ก็จะมีลูกค้าคนไทยซื้อสินค้าเสริมสวยอีกเยอะ วันนี้จะพาดูสถิติ ส่องพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของคนไทย พร้อมแนวทางสำหรับคนที่กำลังทำแบรนด์สินค้าบิวตี้กัน
ทำไมคนไทยถึงนิยมซื้อสินค้าบิวตี้ในร้านค้าออนไลน์?
ถ้าไปดูสถิติที่ Ecommerce IQ ไปสำรวจเมื่อปี 2018 พบว่า 1 ใน 4 ของ 1,874 คนที่ตอบสำรวจบอกว่าซื้อเพราะ “ลดราคา” มากสุด เหตุผลรองลงมาไม่แพ้กันคือ “มีบริการส่งฟรี” (24%) และมีสินค้าให้เลือกเยอะ (19.1%)
จริงๆไม่ใช้แค่คนไทยที่ซีเรียสเรื่องราคา แต่ทั้งอาเซียนเลยด้วย ซึ่งก็ฟังดูสมเหตุสมผลเพราะแบงค์ชาติเคยออกมาบอกว่าเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยตกอยู่ 13,789 บาท 35% ของคนที่ตอบสำรวจมีเงินเดือนไม่ถึง 18,000 บาท เลยต้องหาจังหวะที่สินค้าลดราคา โดยเฉพาะของที่ไม่ได้ใช้ทุกวัน
แล้วสินค้าบิวตี้ชนิดใดที่ซื้อในร้านออนไลน์?
ผู้หญิง (36.1%) กับเพศที่สาม (28.9%) จะนิยมซื้อเครื่องสำอางมากกว่าผู้ชาย (14.6%) ก็ฟังดูสมเหตุสมผล (ซึ่งน่าสนใจว่าก็ยังมีผู้ชายที่ซื้อเครื่องสำอาง) ซึ่งในไทยเครื่องสำอางเป็นที่นิยมก็เพราะว่ามีข้อมูลเต็มไปหมดในอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจากพวกนักรีวิว บล็อกเกอร์และคนเคยใช้สินค้ามาก่อน
ส่วนพวกสินค้าดูแลผิว ผู้หญิง 34.3% ที่ซื้อ ส่วนผู้ชาย (33.7%) ก็ซื้อพอๆกับเพศที่สาม (33.3%)
เหตุผลยอดฮิตทำไมไม่ซื้อสินค้าบิวตี้ออนไลน์?
อันดับแรก ชัดเจนมากคือ “จับต้องหรือทดลองใช้สินค้าไม่ได้” (35.8%) และเหตุผลรองลงมาก็คือ “กลัวโดนหลอก” (22.6%) และ “ชอบซื้อของในร้านมากกว่า” (20.1%)
อีกเหตุผลสำคัญที่บอกไปแล้วคือเรื่องของเงินในกระเป๋าสตางค์ โดยเฉพาะคนไทยมากกว่าครึ่งที่จะซื้อสินค้าบิวตี้ที่ราคาไม่เกิน 1,500 บาท ใครที่กำลังจะตั้งราคาสินค้าของตัวเองก็อย่าลืมว่าคนไทยซีเรียสเรื่องราคาด้วย
แล้วปกติเว็บออนไลน์ไหน? คนไทยซื้อเครื่องสำอาง และสินค้าบิวตี้
ที่สำรวจมา Lazada (29.9%) กับ Shopee (27.3%) จะมาแรงสุดๆ ในขณะที่ไม่ค่อยมีคนไทยไปซื้อของตรงๆจากเว็บไซต์ของตัวแบรนด์มากเท่าไหร่ (14.5%) เหตุผลคือ Lazada กับ Shopee มีส่วนลดราคา จะซื้อของก็สะดวก และคุ้นเคยกับสองเว็บนี้อยู่แล้ว
คนไทยไม่ได้ยึดติดกับแบรนด์เครื่องสำอางมากอย่างที่คิด
แต่ชอบลองสินค้าจากหลายๆแบรนด์มากกว่า เพราะสุดท้ายคนไทยก็ยังชอบความหลากหลายของตัวของอยู่ดี 57.1% ของคนที่ตอบสำรวจก็ยืนยันเหตุผลนี้ด้วย นั่นหมายความว่าถึงแบรนด์จะไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็ยังมีลุ้นได้ส่วนแบ่งจากในตลาดสินค้าบิวตี้อยู่
โชเชียลมีเดียกับเว็บไซด์ของแบรนด์ยังมีผลต่อคนไทยอยู่
เพราะถึงแม้ว่าคนไทยไม่ได้ซื้อของจากเว็บไซต์ของแบรนด์มากเท่า Lazada และ Shopee แต่เว็บไซต์แบรนด์และสื่อโชเชียลมีเดียก็ยังจำเป็น เพราะเรื่องราวของเทรนด์ล่ามาแรงของสินค้าและความสวยงาม คนไทยก็ยังตามจากเว็บไซต์แบรนด์และสื่อโชเชียลมีเดียอยู่ ฉะนั้น หันมาขยันๆอัพเดดคอนเทนด์ที่เกี่ยวกับเทรนด์ก็ยังไม่สาย ช่วยดึงดูดลูกค้าอีกทางด้วย
แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องยอมรับว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการใช้งานของสินค้าเป็นหลัก (28.5%) ราคา (13.6%) และรีวิวที่พูดถึงสินค้าไปในทางบวก (11.1%) เพราะสุดท้ายลูกค้าก็ต้องให้ัวร์ก่อนซื้อว่าซื้อของและใช้แล้วเห็นผลดี อย่างใน Lazada ก็ควรกระตุ้นให้คนที่เคยใช้ของกลับไปรีวิวให้ความเห็นใน ReviewIQ ด้วย ถ้าอยากให้ลูกค้าติดแบรนด์ของเรา ก็ต้องทำสินค้าที่มีคุณภาพที่ใช่ในเวลาที่ใช่
สรุปแล้วแบรนด์สินค้าบิวตี้ควรทำอย่างไรดี?
1. มีสินค้าลดราคาให้เลือกเยอะๆ มีบริการส่งของฟรี หรือถ้าไม่คิดจะลดก็อย่าตั้งราคาเกิน 1,500 บาท ดูรายได้ของลูกค้าด้วย
2. อย่าได้มองข้ามสินค้าที่มีคนซื้อน้อย เช่นถึงแม้ว่าผู้ชายซื้อเครื่องสำอางน้อยกว่าผู้หญิง แต่การตั้งคำถามว่าทำไมผู้ชายถึงยังซื้ออยู่ ก็ช่วยทำให้เราต่อยอดทางธุรกิจ ผลิตสินค้าหรือโปรโมชั่นสำหรับสินค้าประเภทนั้นสำหรับกลุ่มเฉพาะ ก็ทำให้เราเก็บรายได้ที่คนอื่นมองข้าม
3. แบรนด์ที่มีเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของตัวเอง ควรอัพเดทเทรนด์ความสวยความงามและสินค้าที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ ถึงสุดท้ายคนส่วนใหญ่จะไปซื้อของที่ Lazada และ Shopee กันหมด เพื่อให้ลูกค้าคุ้นเคย สร้างความสัมพันธ์และไว้ใจแบรนด์ก่อนซื้อของ
4. ในเว็บไซต์ขายของหรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ควรเขียนบรรยายสินค้าให้เข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือ ที่สำคัญต้องมีรีวิว นอกจากเพื่อให้ลูกค้าเชื่อใจ ไม่กลัวโดนหลอกแล้วยังสามารถทดแทนความรู้สึกที่ต้องการทดลองใช้สินค้าได้ระดับหนึ่งด้วย
แหล่งอ้างอิง