ล้างภาพธุรกิจเพื่อรากหญ้า สู่องค์กรวัฒนธรรมโดดเด่น! “เงินติดล้อ” โชว์มุมมองใหม่ ความสำเร็จเริ่มจากบุคลากร

  • 8.9K
  •  
  •  
  •  
  •  

NTL

เป็นหนึ่งบริษัทที่เราได้ยินชื่อผ่านสื่อโฆษณาอยู่บ่อยครั้ง แต่กลับรู้จักกันเพียงผิวเผิน ว่า “เงินติดล้อ” ดำเนินธุรกิจไฟแนนซ์ ปล่อยสินเชื่อทะเบียนรถให้กลุ่มรากหญ้า ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่คุณยังไม่เคยรู้ ตั้งแต่…

มีพนักงานถึง 4,500 คน กับ 770 สาขาทั่วไทย

ให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าไปแล้ว กว่า 1.4 ล้าน บัญชี หรือมากกว่า 1 ล้านคน

เติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมกับขยายสาขาเพิ่มอีกมากกว่า 220 แห่งในปีนี้

เพิ่งคว้ารางวัล “Digital Culture Transformation” ในสาขา The Best Employee Engagement Initiative, Application or Programme จากเวที The Asian Banker โดยเป็นบริษัทแรกในกลุ่มไฟแนนซ์ของไทย ที่ได้รางวัลดังกล่าว

ต้องยอมรับว่าครั้งแรกที่ได้ยิน ก็ทำให้เรารู้สึกประหลาดใจและเกิดความรู้สึกตื่นเต้นขึ้นเล็กน้อย ว่าองค์กรที่เราได้เห็นโฆษณาและถูกตอกย้ำชื่อจากสื่อต่างๆ นั้น น่าจะ “มีของ” ชวนให้อยากรู้จัก ไม่ใช้ภาพในจินตนาการ ว่าเป็นบริษัทปล่อยเงินกู้ที่ทำกำไรมหาศาลจากการเรียกเก็บดอกเบี้ยกับคนจน ประหนึ่งพวกปล่อยเงินกู้นอกระบบ

NTL_2

ไม่อยากใช้คำว่า “ขอร้อง” ให้คุณอ่านบทความนี้ แต่เราก็ปรารถนาว่าคุณจะอ่านบทความนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อทำความรู้จักกับเรื่องราวหลากหลายมุมของเงินติดล้อ ที่มีทั้งแนวคิดสไตล์องค์กรชั้นนำ พร้อมกับความอบอุ่น และทันยุคทันสมัย แตกต่างจากมุขตลกและความสนุกสนานที่ได้เห็นผ่านชิ้นงานโฆษณาแบบแมสๆ เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค จากคำบอกเล่าของ 2 ผู้บริหาร บริษัท เงินติดล้อ จำกัด คุณเบอร์นาร์ด โช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ และ คุณเปิ้ล อาฑิตยา พูนวัตถุ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่จะพาเราไปรู้จักกับเงินติดล้อในแง่มุมต่างๆ

“คนภายนอกอาจมองว่าเงินติดล้อทำธุรกิจที่เน้นแต่การเอากำไรจากการปล่อยกู้ให้คนรายได้น้อย นี่คือสิ่งแรกที่เราอยากทำความเข้าใจ ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น” คุณเบอร์นาร์ด โช เริ่มต้นประเด็นแรก ด้วยภารกิจหลักในการสื่อสารกับผู้คนภายนอก และเล่าถึงเงินติดล้อต่อไปว่า…

NTL_3

ทำธุรกิจกับกลุ่มรากหญ้า ผ่านสโลแกน “ชีวิตหมุนต่อได้”

ตามที่ทุกคนรู้ว่าเราทำธุรกิจด้านสินเชื่อทะเบียนรถและโบรกเกอร์ประกันวินาศภัย ลูกค้าหลักของเงินติดล้อคือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ (ธนาคาร) ไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคาร เมื่อมีปัญหาการเงินจึงทำให้คนจำนวนมากต้องพึ่งแหล่งเงินกู้นอกระบบ โดยข้อมูลเมื่อปี 2559 ระบุว่าประเทศไทยมีกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมาลงทะเบียนคนจนในโครงการของภาครัฐมากกว่า 14 ล้านคน มีถึง 1.3 ล้านคน เป็นหนี้นอกระบบ

แม้เงินติดล้อจะดำเนินธุรกิจซึ่งแน่นอนทุกธุรกิจต้องการทำกำไร แต่เรามีมุมมองว่า ต้องสามารถช่วยเหลือลูกค้า เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเงินและสร้างโอกาสทำให้ชีวิตพวกเขาเดินต่อไปได้ จนกลายเป็นแนวคิดของสโลแกน “เงินติดล้อ ชีวิตหมุนต่อได้” ถ้าลูกค้ามีปัญหาการเงิน ก็อยากให้คิดถึงเงินติดล้อไม่ใช่มองหาเงินกู้นอกระบบ

“แน่นอนว่า บริษัทยินดีช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหาการเงิน แต่เราจะยินดีมากกว่าถ้าลูกค้าไม่กลับมาหาเราอีก เพราะเรามีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ลูกค้าพ้นจากปัญหาทางการเงิน และมีชีวิตที่หมุนต่อไปได้

NTL_4

โชว์พลังองค์กรใหญ่… แต่ขยับเร็ว! ปลูกฝัง Culture สร้างความยั่งยืน

นอกจากการทำความเข้าใจกับคนภายนอกองค์กร อีกความท้าทายที่สำคัญ คือ การบริหารบุคลากรในออฟฟิศและประจำสาขาทั่วประเทศกว่า 4,500 คน ก็ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่องค์กรมอง เรื่องนี้ ทั้งคุณเบอร์นาร์ด และคุณเปิ้ล ช่วยกันขยายความว่า “โจทย์ใหญ่ในการบริหารบุคลากร คือ การทำให้ทั้ง 4,500 คน มองเห็นและเข้าใจปัญหาของลูกค้าไปในทิศทางเดียวกัน ทุกคนต้องเห็นเป็นภาพเดียวกันจึงจะสามารถเดินไปพร้อมกันได้”

“ข้อดีขององค์กรขนาดเล็ก คือ การขยับตัวสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว แต่เราเป็นบริษัทใหญ่ ต้องยอมรับว่าเรื่องการสื่อสารอาจเป็นปัญหาและสร้างความท้าทาย แต่ความเชื่อของเราคือ องค์กรที่ดีจะต้องไม่มีแค่คำสั่งจากผู้บริหารลงไปให้พนักงาน เพราะคนที่รู้จักและใกล้ชิดกับลูกค้าคือพนักงาน เราจึงเปิดโอกาสและรับฟังความเห็นจากพนักงานสะท้อนถึงผู้บริหารอยู่เสมอ เรียกว่า Culture ของเราแตกต่างจากองค์กรใหญ่ในระดับเดียวกัน จากความเชื่อที่ว่า Core Values เป็นเรื่องที่ทุกคนในองค์กรต้องทำได้จริงไม่ใช่แค่ท่องจำ เพื่อให้บริการของเงินติดล้อตรงใจลูกค้ามากที่สุด และองค์กรก็สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน”

ตั้ง 7 DNA “คนพันธุ์เงินติดล้อ” ทุกคนในองค์กรต้องมี

NTL_5

คุณเปิ้ล อธิบายว่า การคัดเลือกคนเข้ามาร่วมงานจะเน้นที่มุมมองการพัฒนาและเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง ทั้งยังนำหลักค่านิยม 7 ประการของเงินติดล้อไปใช้ประกอบการพิจารณาด้วย จากในอดีตที่ยึดหลัก 4 ประการ รู้ลึก ริเริ่ม จริงใจ ใกล้ชิด

“เดิมเรามีหลักค่านิยม 4 ข้อ ซึ่งเป็นคำสั้นๆ ทุกคนในองค์กรท่องจำได้ขึ้นใจ แต่ทุกคนไม่ได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงาน ทำให้เราคิดและเปลี่ยนมาใช้ค่านิยม 7 ประการ เป็นการเปลี่ยนในแง่ความเข้าใจว่าเราควรสื่อสารกับพนักงานอย่างไรจึงจะเกิดประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการเติบโตให้ทั้งองค์กรและการตอบโจทย์ลูกค้า ผู้บริหารของเราไม่ได้นั่งอยู่ในห้องทำงานแล้ววางแผนออกแบบโปรดักส์ แต่จะต้องไปตรวจเยี่ยมสาขาต่างๆ เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น โปรดักส์ที่คิดออกมานั้นดีหรือยัง ตอบโจทย์ลูกค้าได้จริงหรือไม่ ผู้บริหารต้องออกไปรับฟังพนักงานที่อยู่ใกล้ชิดกับลูกค้าซึ่งเป็นคนที่เข้าใจความต้องการลูกค้ามากกว่า นี่คือจุดเด่นที่ทำให้เราเติบโตและแตกต่างจากสถาบันการเงินอื่น”

ที่มาของไอเดียเปลี่ยน Core Values เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2560 ที่บริษัทได้รู้จักกับ Zappos องค์กรต้นแบบด้านวัฒนธรรมและความสำเร็จองค์กร จึงทำให้เกิดแนวคิดปรับค่านิยมหลักให้พนักงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น จนกลายเป็นต้นกำเนิด Core Values ใหม่ 7 ประการ ที่ไม่ใช่แค่คำสั้นๆ เหมือนเช่นเดิม

NTL_6

สำหรับ Core Values 7 ประการของเงินติดล้อ ได้แก่…

1. สร้างสรรค์ แบ่งปันโอกาส สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน: เราเชื่อว่า การใช้ชีวิตที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นคือเป้าหมายสูงสุด เราจึงอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยให้สังคมไทยเข้มแข็งยิ่งขึ้นและเดินหน้าอย่างยั่งยืน สิ่งหนึ่งที่สะท้อนค่านิยมนี้ คือ การที่เรามอบความรู้ด้านการเงิน เช่น เรื่องดอกเบี้ย การออมเงิน การใช้พร้อมเพย์ หรือโมบายแบ้งก์กิ้ง เป็นต้น ให้กับชาวบ้านในชุมชนต่างๆ โดยมีพนักงานของเราเป็นอาสาสมัคร ไปถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้แก่ชาวบ้าน เดือนละ 2 ชุมชน (ปัจจุบันมีพนักงานที่เป็นอาสาสมัครเกือบ 400 คน)

2. รู้สำนึกและมีจิตวิญญาณความเป็นเจ้าของ: หมายถึงการปลูกฝังแนวคิดให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การใช้ทรัพยากรของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด เสมือนว่าเป็นบริษัทของตัวเอง เพราะพนักงาน 4,500 คน จะสามารถดูแลบริษัทได้อย่างทั่วถึง มากกว่าที่ผู้บริหารจะดูแลได้ทั้งหมด

3. ร่วมมือร่วมใจ ตรงไปตรงมา เพื่อความสำเร็จของทีม: เราคิดอยู่เสมอว่า ความสำเร็จของบริษัท ยิ่งใหญ่กว่าความสำเร็จของคนใดคนหนึ่ง หรือแผนกใดแผนกหนึ่ง ทำให้เราพร้อมใจกันสร้างบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้ใจกันและกัน แต่เราจะไม่ให้ความเกรงใจมาเป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

4. ทำทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ และเป็นกันเอง: โครงสร้างองค์กรที่ดีควรเป็นช่องทางส่งเสริมความใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน รวมถึงสร้างความเป็นกันเองภายในองค์กร ทำให้เรากล้าที่จะเสนอความคิดเห็นต่างๆได้อย่างเต็มที่และกล้าพูดเมื่อเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

5. กระหายการเรียนรู้และไม่หยุดพัฒนาตนเอง: แม้ภาพลักษณ์ของเงินติดล้อจะเป็น Micro Finance แต่เรามีวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนให้ทุกคนเพิ่มพูนความรู้ ซึ่งถูกปลูกฝังให้เกิดขึ้นทุกแผนก ทุกระดับงาน ทั้งการส่งพนักงานไปอบรมในหลักสูตรและหน่วยงานชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่เสมอ อาทิ สหรัฐอเมริกา, อิตาลี, จีน, ฮ่องกง และการสนับสนุนให้ทุกคนรักการอ่านจนกลายเป็นกฎหนึ่งขององค์กร จากความเชื่อที่ว่า “หลักสูตรเทรนด์นิ่งดีๆ มีหลายหลักสูตร แต่ไม่มากเท่าความรู้จากหนังสือ”

6. กล้าทดลองสิ่งใหม่ พร้อมก้าวไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง: องค์กรเราไม่เพียงยอมรับและปรับตัวไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม แต่เป็นเราต่างหากที่จะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่อุตสาหกรรมนี้ เราจึงผลักดันให้ทุกคนกล้าและทำสิ่งใหม่ๆ โดยที่ผลลัพธ์สุดท้าย อาจไม่สำเร็จอย่างที่คาดหวังไว้ก็ได้ แต่จะต้องมีบทเรียน จากการทดลองนั้นเสมอ

NTL_7

7. ทำงานให้เต็มที่ ปาร์ตี้ให้สุด: อาจเป็นแนวคิดแปลกและหาไม่ได้จากองค์กรอื่น แต่ที่เงินติดล้อมองว่าการปาร์ตี้ทำให้เกิดประโยชน์เพราะทำให้พนักงานได้รู้จักกันมากขึ้น และหลายครั้งก็ทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆ และในการทำงานเราก็พร้อมลุยด้วยสมองและสองมือ เพื่อให้องค์กรวิ่งไปสู่เส้นชัยแห่งการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนเช่นกัน

NTL_8 NTL_9

 “การขยายสาขา 220 แห่งในปีนี้ หมายถึงเราจะมีพนักงานใหม่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 600-700 คน ทำให้สิ้นปีนี้จะมีเงินติดล้อมากกว่า 800 สาขาทั่วประเทศ โดย 80% อยู่ในต่างจังหวัด ทั้งหมดจึงเป็นการตอบคำถามว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับค่านิยมหลักองค์กร”

ให้อิสระความสำคัญ กับบรรยากาศการทำงานอย่างเต็มที่

คุณเบอร์นาร์ด เล่าอย่างอารมณ์ดีว่า ออฟฟิศเดิมของเงินติดล้อเป็นอาคาร ธรรมดา ไม่มีการตกแต่งสวยงามหรือมีพื้นที่หย่อนใจเหมือนออฟฟิศใหม่ ที่อาคารอารีย์ ฮิลล์ (ชั้น 9-16) ซึ่งวางคอนเซปต์การเชื่อมโยงถึงกันและการ Transformation องค์กร การออกแบบและแบ่งสัดส่วนออฟฟิศถือเป็นการสะท้อนให้เห็นการเปิดกว้างและรับฟังความคิดของพนักงาน เน้นการสร้าง Open Area เพื่อให้พนักงานมีความสุข ผ่อนคลาย ทั้งจากการใช้พื้นที่และการตกแต่งพื้นที่ได้อย่างอิสระ

NTL_10 NTL_11

“หลายๆ เรื่องที่เราเปิดกว้างให้พนักงาน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนว่าเราให้ความสำคัญกับไอเดียดีๆ ไม่ว่าความคิดเห็นนั้นจะถูกหรือผิด แต่เราอยากสื่อถึงการให้โอกาสและการได้ระดมความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาองค์กร สิ่งนี้ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน บุคลากรของเรามีความกล้าและสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ ได้อย่างชัดเจน เราเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีคือเครื่องมือที่ดี แต่ถ้าขาดบุคลากรที่ดี หรือไร้ค่านิยมที่เหมาะสม องค์กรอาจไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งสะท้อนความสำเร็จของเงินติดล้อว่าทำไมเราจึงเติบโตเร็ว บริการของเราไม่ได้ถูกผลิตออกจากโรงงาน แต่เกิดจากความเข้าใจและคุณภาพของบุคลากร ที่สามารถพิสูจน์และสร้างความโดดเด่นให้กับบริษัทอย่างเป็นรูปธรรม”

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม คลิก  www.ngerntidlor.com


  • 8.9K
  •  
  •  
  •  
  •