ไทยติดด้วย 1 ใน 90 แห่ง Innovation Lab ระดับโลก ในเอเชียมีแค่ 6 ประเทศ ใช้นวัตกรรมรับการเปลี่ยนแปลง

  • 106
  •  
  •  
  •  
  •  

^158B38DFA5DC27649967BD30275EEFC6762A13C2D744836EBE^pimgpsh_fullsize_distr

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  ได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการนวัตกรรมของภาครัฐที่สำคัญของโลกหรือ The World Most Important Innovation Lab ซึ่งจัดทำโดย Apolitical Group องค์กรอิสระสากลในการพัฒนาเครือข่ายและบริการภาครัฐให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม

Apolitical Group รายงานว่า NIA เป็นหนึ่งในศูนย์รวมความรู้และการให้คำปรึกษาและเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการนวัตกรรมสำหรับประเทศไทยที่สำคัญ ปีที่ผ่านมามีการดำเนินกิจกรรม และโครงการในหลายมิติ ทั้งการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านโครงการย่านนวัตกรรม การส่งเสริมสตาร์ทอัพอย่างเข้มข้น

การสำรวจห้องปฏิบัติการนวัตกรรมที่สำคัญของโลก จากปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 90 แห่ง ใน 6 ภูมิภาค ได้แก่ ทวีปยุโรป 34 แห่ง อเมริกาเหนือ 29 แห่ง อเมริกากลางและอเมริกาใต้ 15 แห่ง โอเชียเนีย 8 แห่ง เอเชีย 6 แห่ง ตะวันออกกลางและแอฟริกากลางอีก 4 แห่ง

^1A9C37C7147EC0B75DE788C4DFC21D435B97FCF20A3F1834C4^pimgpsh_fullsize_distr

ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมมีชื่อเรียกแตกต่างออกไป เช่น Mind Lab ในเดนมาร์ก หรือ Helsinki Design Lab ของฟินแลนด์ Gov Lab ของสหรัฐอเมริกา Innovation Lab ในแคนาดา และ InnovationXchange ของประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า NIA ได้รับการจัดอันดับห้องนวตกรรมที่สำคัญของโลก จากการรวบรวมของ Apolitical Group ที่เป็นองค์กรอิสระสากล ในการพัฒนาเครือข่ายและบริการภาครัฐ ให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยอาศัยกลไกห้องปฏิบัติการนวัตกรรม (Innovation Lab) เพื่อบริการภาครัฐ สาธารณะ และนโยบาย

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

Apolitical Group ระบุว่า NIA เป็นหนึ่งในศูนย์รวมความรู้ และการให้คำปรึกษาสำหรับประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องการความรู้ทางด้านนวัตกรรม เพื่อใช้ขับเคลื่อนประเทศไทยที่สำคัญ

เพราะปีที่ผ่านมา NIA มีการดำเนินหลายมิติ ได้แก่ การพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านโครงการย่านนวัตกรรม (Innovation District)  11 แห่ง ทั้งย่านนวัตกรรมโยธี คลองสาน รัตนโกสินทร์ กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี ปทุมวัน บางแสน ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา-บ้านฉาง

การพัฒนาย่านนวัตกรรม 2

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านโครงการ FOUNDER APPRENTICE ที่เป็นกิจกรรมจับคู่นิสิต นักศึกษา ผู้จบการศึกษาใหม่ กับกลุ่มผู้ประกอบการด้านธุรกิจนวัตกรรม 22 แห่ง ให้ทดลองทำงานจริง มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพอย่างเข้มข้น

การพัฒนาย่านนวัตกรรม 1

นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการพัฒนาบริการภาครัฐ โดยเปิดพื้นที่และโอกาสให้สตาร์ทอัพ ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ (Government Technology: GovTech) เข้ามาช่วยภาครัฐ ในการพัฒนาบริการสาธารณะให้ดีขึ้น ทำให้มีการเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐได้สะดวกขึ้น เกิดเป็นมิติใหม่ของการทำงาน รวมทั้งบริการประชาชน ใน 7 ด้าน คือ

ภาพประกอบ 1

1. พัฒนากำลังคนภาครัฐและสื่อสารนโยบายสาธารณะ 2. พัฒนาท่องเที่ยว ส่งเสริมวัฒนธรรมและพื้นที่เรียนรู้ 3. การบริการสาธารณูปโภค 4. อำนวยความสะดวกทางธุรกิจ 5. รัฐบาลดิจิทัล 6. ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ และ 7. พัฒนาตลาดในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้น การปลดล็อคจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดพื้นที่สำหรับสตาร์ทอัพได้สาธิตสินค้า และบริการของตัวเองแก่หน่วยงานราชการ (sandbox)

การจัดกิจกรรมสตาร์ทอัพไทยแลนด์ 2

โดยควบคู่ไปกับเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง นำไปสู่การจัดซื้อจัดจ้างสตาร์ทอัพของภาครัฐ ช่วยให้กระบวนการง่ายขึ้น จากตัวอย่างโครงการต่างที่ NIA ได้ริเริ่มและดำเนินการมานี้ NIA จึงเปรียบเสมือนเป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรมสำหรับในประเทศไทย ซึ่งในภูมิภาคเอเชียมีอยู่ 6 ประเทศ คือ ประเทศไทย ไต้หวัน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา และจอร์เจีย ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่ได้รับการยอมรับด้านนวัตกรรมระดับสากล

การจัดกิจกรรมสตาร์ทอัพไทยแลนด์ 1

“โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทั้งสังคมเมืองที่ขยาย การก้าวสู่ยุคสังคมสูงอายุ รวมทั้งการปฏิวัติด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคมสมัยปัจจุบัน ภาครัฐก็ปรับตัวให้ทันนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน แนวคิดการสร้าง ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม หรือ Government Innovation Lab จึงถูกนำมาใช้”

“ซึ่งก็เป็นแนวทางให้ผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง โดยใช้กระบวนการคิดออกแบบเชิงสร้างสรรค์ และอาศัยความร่วมมือกันทุกส่วนเพื่อให้เกิดการต่อยอด สร้างมูลค่า กลายเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม ในต่างประเทศเองก็ได้นำแนวคิดนี้ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างห้องปฏิบัติการนวัตกรรม ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป” ดร. พันธุ์อาจ กล่าว

กิจกรรมมหกรรมวิทย์ 2

InnovationLab


  • 106
  •  
  •  
  •  
  •